Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ -…
บทที่ 6 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่ง ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด แผนการจัดการเรียนรู้มีสองระดับ ได้แก่
ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan)
ระดับบทเรียน (Lesson Plan)
ประโยชน์ของการทำแผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
เพื่อให้สามารถเตรียมวัสคุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อจำกัดที่พบ
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพครู)
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
หัวเรื่อง (Heading)
สาระสำคัญ (Concept)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
4.เนื้อหา(Content)
5.กิจกรรมการเรียนรู้( Activities)
6.สื่อการเรียนรู้(Material & Media)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษาหรือครูผู้สอนที่จะเลือกใช้รูปแบบที่คิดว่ามีความเหมาะสมและสะดวกต่อการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่นิยมใช้
โดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายหรือแบบเรียงหัวข้อ
แผนการจัดการเรียนรู้ชนิดนี้จะเป็นรายละเอียดขององค์ประกอบของแผนการจัดการรียนรู้ตามลำดับโดยใช้ความเรียง เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม แต่มีข้อจำกัดในกรณีที่รายละเอียดอยู่คนละหน้ากัน จึงยากต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ
2.แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
แผนการจัดการเรียนรู้ชนิดนี้ เป็นการนำรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มาเขียนลงในตารางภายในหน้าเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ แต่มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ในการเขียนและภาระในการตีตาราง
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างความรู้ด้วยคนเอง
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งด้านความรู้ (K) คุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกต่อสังคม
(A) และทักษะกระบวนการ (P)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้
รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่พัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวมาแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเขียนรายละเอียดภายในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เขียนขึ้น จึงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ในการนำไปใช้ดังที่จะเสนอต่อไปนี้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
ส่วนหัวเรื่อง เป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้ มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
2.ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.ระบุระดับชั้นที่สอน
4.ระบุหัวข้อเรื่อง
5.ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ คือ ข้อกวามที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือขัอสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้นเนื้อหากวามรู้ ด้านทักษะ หรือด้านเจตคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอสาระสำคัญ เป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับ สังกัป ความคิครวบยอค มโนทัศน์และมโนมติ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือความนิยมใช้ มีแนวในการเขียนดังต่อไปนี้
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมาย
ด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นช้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้นๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์ คือ ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้(Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitide) และด้านทักษะกระบวนการ(Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้มีวิธีการเขียนหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปนิยมเขียนลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือในลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
1. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้ พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition) พฤติกรรมของผู้เรียนที่ดาดหวังให้แสดงอ0ก (Terminal Behavior)และเกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
1.1 สถานการณ์ที่ครูตั้งขึ้น มักจะใช้คำว่า : หลังจากที่.. , เมื่อกำหนด..... , เมื่อนำ......... , เมื่อ......................ฯลฯ
1.2 พฤติกรรมของนักเรียนที่ครูคาดหวังให้แสดงออกมา
มักจะใช้คำว่า : อธิบาย, บรรยาย, บอก, เขียน, วาด, ขี้, คำนวณ,
ตอบ, ท่อง, เปรียบเทียบ, สร้าง, ทคลอง, วิเคราะห์
ยกตัวอย่าง, สาธิต ฯลฯ
คำที่ไม่ควรนำมาใช้ : รู้, เข้าใจ, ซาบซึ้ง, ตระหนัก, จินตนาการ ฯลฯ
1.3 เกณฑ์ของระดับความสามารถของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก
มักจะใช้คำว่า : ได้ถูกต้อง, ได้ทุกข้อ, ได้ 8 ข้อใน 10 ข้อ,
อย่างน้อย ร ชื่อ, ภายใน 10 นาที ฯลฯ
อย่างไรก็ดี ในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หากเกิดข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถเขียนได้ครบทั้ง 3 ส่วน ให้ยึคพฤติกรรมที่คาคหวังไว้เป็นหลักในการเขียน ดังตัวอย่าง
ผู้เรียนบอกความหมายของยาเสพติดได้
ผู้เรียนจำแนกประเภทของไม้ดอกและไม้ประดับได้
2. จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้รียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้รียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงค์บ่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดง
ให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนใน
รูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
เขียนให้ครอบคลุมทั้งค้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ
(A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภายาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
การเขียนเนื้อหา (Content
เนื้อหา
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโคยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ การระบุเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียน ดังต่อไปนี้
1.เขียนให้สอดกล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามากให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการรียนรู้ด้านต่งๆ จึงเป็นควมสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
กิจกรรมการเรีขนรู้จะต้องสะท้อนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดทุกข้อ โดยนอกจากจะต้องสร้างเสริมพฤติกรรมและทักษะที่มุ่งเน้นทุกด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว จะต้องสร้างมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดในสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่กำหนดอย่างชัดเจน ครบถ้วนและทันสมัย
2. ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กิจกรรมการเรียนรู้ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ
ที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการในที่นี้ หมายถึง
การมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือฝึกปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิด การพูด ในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ คือ ได้ความรู้ ความเข้าใจ และเจตติหลังจากทำกิจกรรม
การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง ดังแนวคิดที่ว่า "แทนที่จะให้ปลาเด็กกินทุกวัน เราควรฝึกวิธีหาปลาให้กับเขาเพื่อให้เขาสามารถหาปลากินเองได้ตลอดชีวิตจะดีกว่า"
กิจกรรมการเรียนรู้โคยทั่วไป คือ การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย ผ่านทางประสาทสัมผัสและช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น ได้สังเกต อ่านฟัง คิด ซักถาม ตอบคำถาม อภิปราย ทคลอง เขียนและลงมือปฏิบัติจริง ผลที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติทางความรู้ความคิด ทักษะความสามารถทางการปฏิบัติ ลักษณะด้านจิตพิสัยต่างๆ เช่น เจตคติ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม ความสนใจความพอใจ เป็นต้น
เป้าหมาของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ คือ การสอนที่ครูผู้สอนหลีกเลี่ยงการเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียน โดยตรง แต่จะจัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ต่างๆอย่างเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ธรรมชาติและวัยของผู้เรียน ลักษณะของเนื้อหาวิชา และสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
กระบวนการที่ครูสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย
1) กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา เช่น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดกระบวนการเรียนรู้ความคิดของ Bloom เป็นต้น
2) กระบวนการของศาสตร์ต่างๆ เช่น กระบวนการเรียนภายา กระบวนการเรียนคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิชาชีพ
เรียนคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิชาชีพกระบวนการทางศิลปะ คนตรี นาฎศิลปั พลศึกษา เป็นต้น
3) ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น ซึ่งจะพัฒนาคุณลักษณะผู้รียนในด้าฉการคิดการแก้ปัญหา การปฏิบัติและการมีเจตคติที่ดีต่อการคิดและการปฏิบัติ
3. เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
ผู้เรียนคือหัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะหากไม่มีผู้เรียนแล้วการจัดการเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น ครผู้สอนจึงจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของผู้เรียนที่ตนจะสอนก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อกัดเลือกกิจกรรมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องคำนึงว่าจะจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับธรรมชาติ วัย ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนเป็นส่วนรวมและขณะเดียวกันก็จะต้องสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนด้วย
4. เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
สภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึงทั้งในและนอกห้องเรียน ในโรงเรียน และในชุมชนครูผู้สอนต้องมีข้อมูลว่ามีวิทยากรท้องถิ่นหรือแหล่งวิทยาการใดบ้างที่จะใช้ได้ เพราะอาจมีกิจกรรมบางอย่างที่ครูผู้สอนต้องการนำมาใช้ แต่ทำไม่ได้เพราะขาดแหล่งวิทยาการที่สำคัญๆ
หรือครูผู้สอนมีเวลาและสถานที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมแต่ละเรื่องเพียงใด ครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของห้องเรียน โรงเรียนและชุมชนโดยพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด เช่น หัวข้อที่กำหนดในการทำรายงานการศึกษาคันคว้า โครงงาน หรือชิ้นงาน ก็ควรเป็นหัวข้อเกี่ยวกับท้องถิ่น
หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้กันพบความถนัค ความสามารถและความสนใจ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการ การประกอบอาชีพ การดำรงตนในสังคมและบุคลิกภาพส่วนตน
5.เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
1 more item...
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภายณ์ การสอบถาม การตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น ส่วนการประมินผลเป็นการกำหนดคำหรือตัดสินสิ่งที่วัด เช่น ผ่าน- ไม่ผ่าน,ดี- ปานกลาง - อ่อน หรือ กำหนค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้น มีแนวดังต่อไปนี้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุวิธีการวัคและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
ตัวอย่างการเขียนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียน
สังเกตความสนใจในการเรียน
สังเกตการออกเสียงคำควบกล้ำ
สอบถามวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือการเกษตร
สอบถามความหมายของคำศัพท์ภายาอังกฤษเกี่ยวกับอวัยวะ
ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องการบวก
ตรวจการเขียนบรรยายภาพ
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากรายละเอียดภายในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนแล้วยังควรคำนึงถึงระดับภายาที่ใช้เขียนให้อยู่ในระดับกึ่งทางการ ไม่ใช้ภาษาปากเข้ามาปะปนรวมทั้งควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบในแผนการจัดการเรียนรู้ ให้มีความเชื่อมโยงและสอดรับกัน
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ มีแนวการเขียนคังต่อไปนี้
1.เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและการปฏิบัติ
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้นได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอน และขั้นสรุปบทเรียน โคยเขียนเป็นข้อเรียงตามลำคับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้น หากขั้นใดมีกิจกรรมเดียวไม่ต้องใส่เลขลำดับหัวข้อ
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอนหรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ เป็นต้น
4.ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของของผู้สอนและผู้เรียนอย่างไรก็ตาม การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ คร.ทิศนา เขมมณี (อ้างถึงใน ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง, 2545) ได้เสนอแบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปตรวจสอบกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้ เช่น รูปภาพยุงลาย แผนภูมิเพลง
คุณธรรมสี่ประการ แถบบันทึกภาพและเสียงเรื่องชีวิตในบ้าน เป็นต้น
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้น
ต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่นกระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา เป็นต้น