Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การออกแบบการวิจัย, By Patcharapong Yodnuan - Coggle Diagram
บทที่ 6 การออกแบบการวิจัย
ความหมายของการออกแบบการวิจัย
การออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำหนดแผนการและวิธีการดำเนินงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การกำหนดปัญหาวิจัย การวางกรอบตัวแปร การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสรุปผล เพื่อตอบปัญหาการวิจัยได้อย่างมีความตรงความเป็นปรนัยและความถูกต้องแม่นยำ
จุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย
1.เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาวิจัยที่ถูกต้องและเที่ยงตรงตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย
2.เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรในการวิจัย
องค์ประกอบของการออกแบบการวิจัย
1.การออกแบบการวัดตัวแปร
1.1. กำหนดวัตถุประสงค์
1.2. ระบุโครงสร้างและความหมายของตัวแปรที่ต้องการวัด
1.3. กำหนดมาตรวัดและสร้างเครื่องมือวัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวัดและตัวแปรที่ต้องการวัด
1.4. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในด้านความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น
1.5. กำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.6. กำหนดรูปแบบและวิธีการวัดค่าหรือควบคุมตัวแปรเกิน
2.การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
2.1. การกำหนดรูปแบบและวิธีการสุ่ม
2.2. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม
3.การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
3.1. การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยายที่เหมาะสม
3.2. การเลือกใช้สถิติเชิงสรุปอ้างอิงที่เหมาะสม
หลักการออกแบบการวิจัย
2.การออกแบบการวิจัยต้องทำให้ได้ผลการวิจัยที่มีความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก
1.การออกแบบการวิจัยต้องให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3.การออกแบบการวิจัย
3.1. พยายามทำให้ความแปรปรวนที่เป็นระบบหรือความแปรปรวนในการทดลองมีค่าสูงสุด
3.2. พยายามลดความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนให้น้อยที่สุด
3.3. พยายามควบคุมความแปรปรวนที่เกิดจากตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรเกิน
ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดี
1.ปราศจากความลำเอียง
2.ปราศจากความสับสน
3.สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกได้ทั้งหมด
4.มีการใช้สถิติที่ถูกต้องในการทดสอบสมมติฐาน
ขั้นตอนการออกแบบการวิจัย
1.การกำหนดรูปแบบการวิจัย
1.1. รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง
1.2. รูปแบบการวิจัยที่ไม่ใช่การทดลอง
2.การกำหนดขอบเขตการวิจัย
2.1. กรอบประชากรที่ศึกษา
2.2. ประเภทและจำนวนตัวแปรที่ศึกษา
2.3. เนื้อหาในการศึกษา
2.4. ช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษา
2.5. พื้นที่ภูมิศาสตร์ที่ต้องการศึกษา
3.การกำหนดแนวทางการวิจัย
3.1. การออกแบบการวัดตัวแปร
3.2. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง
3.3. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล
ประโยชน์ของการออกแบบการวิจัย
1.ช่วยให้นักวิจัยสามารถวางแผนดำเนินการวิจัย
2.ช่วยในการกำหนดขนาดและวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
3.ช่วยในการกำหนดหรือสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
4.ช่วยในการเลือกใช้วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล
5.ช่วยในการวางแผนทรัพยากรที่ใช้ในการทำวิจัย
6.ช่วยในการประเมินผลวิจัยว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด
By Patcharapong Yodnuan