Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลที่เลือกสรร The Roy Adaptaion Model - Coggle Diagram
ทฤษฎีการพยาบาลที่เลือกสรร
The Roy Adaptaion Model
The Roy Adaptation Model
ความสำคัญของการปรับตัว
พฤติกรรมการปรับตัวสำเร็จ (Adaptive response)
การมีชีวิตอยู่รอด การเจริญเติบโต สามารถสืบเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ได้
มีความเชี่ยวชาญ มีงานที่สร้างสรรค์
สร้างการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ตามต้องการ
แสดงออกอย่างมีศีลธรรม มีความเชื่อและความตระหนักรู้ในทางบวก
พฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Ineffectiveresponses)
ทำให้สูญเสียเผ่าพันธุ์ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้
ระบบเสียสมดุล
เกิดความเจ็บป่วย
มีภาวะคุกคามชีวิต และเสียชีวิตได้
การปรับตัว (Adaptation)
หมายถึง กระบวนการและผลลัพธ์ของความคิดและความรู้สึกของบุคคลหรือหลายกลุ่มคน โดยใช้
ความตระหนักรู้และเลือกที่จะสร้างการอยู่รวมกันของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions)
ข้อตกลงเบื้องต้นด้านปรัชญา (Philosophy assumption)
บุคคลใช้ความสามารถของความเป็นมนุษย์ในการสร้างความตระหนัก การเกิดปัญญาหรือความรู้แจ้ง และความศรัทธา
ข้อตกลงเบื้องต้นด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific assumption)
การรู้สติและความหมายเป็นองค์ประกอบในการอยู่รวมกันของบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ความตระหนักในตนเองและสิ่งแวดล้อมคือรากฐานของความคิดและความรู้สึก
การตัดสินใจของมนุษย์เป็นความรับผิดชอบในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์
ความคิดและความรู้สึกเป็นสื่อในการกระทำของมนุษย์
การปฏิรูปบุคคลและสิ่งแวดล้อมสร้างได้ด้วยสติสัมปชัญญะของมนุษย์
ผลลัพธ์ของการปรับตัวหมายถึงการปรับตัวของมนุษย์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ข้อตกลงเบื้องต้นด้านวัฒนธรรม (Cultural assumptions)
ประสบการณ์ในวัฒนธรรมที่เฉพาะของสังคมนั้นมีอิทธิพลต่อรูปแบบการปรับตัว
มโนทัศน์หลักของรูปแบบการปรับตัวของรอย
สุขภาพ (Health)
หมายถึง สภาวะและกระบวนการดำรงชีวิตที่อยู่รวมกันของบุคคลและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่ร่วมกันของบุคคล
และสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม (Environment)
หมายถึงสภาพการณ์หรือสิ่งที่อยู่รอบๆ ที่มีความสัมพันธ์กับบุคคล
และส่งผลต่อการพัฒนาและปรับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล
1 สิ่งเร้าตรง ( Focal stimuli) หมายถึง
สิ่งกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก
2 สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli)
หมายถึง สิ่งอื่นๆทั้งหมดซึ่งก่อให้เกิด
ผลเสริมกับผลของสิ่งเร้าตรง
3 สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli)
หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
การปรับตัวในสถานการณ์ขณะนั้น
บุคคล (Person)
คือ ระบบของการปรับตัวของบุคคลที่ได้รับสิ่งเร้าที่กระตุ้น
ให้บุคคลเกิดกระบวนการเผชิญปัญหา (Coping process) ประกอบด้วย 2 กลไก
1) กลไกการควบคุม (Regulator subsystem)
2) กลไกการรู้คิด (Cognator subsystem)
การพยาบาล
หมายถึง การดูแลทุกระยะของมนุษย์ตามหลักวิทยาศาสตร์โดย
ผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลด้วยวิธีการส่งเสริมสุขภาพและศักยภาพในการดำรงชีวิตของบุคคล ครอบครัว กลุ่มคนและสังคมทั่วๆไป
รูปแบบการปรับตัว (Mode of adaptation)
การปรับตัวด้านร่างกาย
(Physiologic- physical mode)
1)การปรับตัวด้านร่างกายในหมวดชีวภาพของบุคคล (Physiologic mode)
-ออกซิเจน (Oxygenation)
-โภชนาการ (Nutrition)
-การขับถ่าย (Elimination)
-กิจกรรมและการพักผ่อนนอนหลับ (Activity and rest)
-การปกป้องคุ้มครอง (Protection)
2) การปรับตัวของร่างกายตามกระบวนการที่ซับซ้อน
การรับความรู้สึก (Senses)
สารน้ำและอิเล็กโทรลัยท์
(Fluid, electrolyte, and acid-base balance)
การทำหน้าที่ของระบบประสาท (Neurologic function)
การทำหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine function)
การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์
(Self-concept mode)
เป็นความรู้สึกและความเชื่อเกี่ยวกับตนเองทั้งด้านภาพลักษณ์
ความคิดบุคลิกภาพ จิตวิญญาณ ความเชื่อรวมถึงศาสนา ในช่วง
เวลาหนึ่ง เกิดจากการรับรู้ปฏิกิริยาของบุคคลอื่นที่มีต่อตนเอง
การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ (The role function mode)
บทบาทปฐมภูมิ (Primary role) เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลในช่วงเวลาต่างๆของชีวิต
บทบาททุติยภูมิ (Secondary role) เป็นบทบาทเกี่ยวข้องกับงานที่ต้องกระทำ
3.3 บทบาทตติยภูมิ (Tertiary role) เป็นบทบาทที่สัมพันธ์
กับบทบาททุติยภูมิและเกี่ยวข้องกับเป้าหมายบางอย่างในชีวิต
การปรับตัวด้านการพึ่งพาอาศัย (Interdependence mode)
การปรับตัวด้านนี้ให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อให้มีมุมมองด้านความรัก การให้ และการมีคุณค่า เป็นการพึ่งพาระหว่างกัน
ระดับการปรับตัว (Adaptation level)
1) ขั้นปกติ (Integrated level) เป็นระดับที่กระบวนการชีวิตที่มีการปรับตัวต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2) ขั้นต้องการชดเชย (Compensatory level)
เป็นภาวะที่กระบวนการชีวิตปกติถูกรบกวนจาก
สิ่งเร้าภายนอกทำให้ต้องการการชดเชย
3) ขั้นบกพร่อง/อันตราย (Compromised level) เป็นภาวะที่กระบวนการชดเชยทำงานไม่เพียงพอ
ที่จะจัดการกับสิ่งเร้า
การประยุกต์ใช้รูปแบบการปรับตัวของรอย
การประยุกต์ใช้รูปแบบ
การปรับตัวของรอย
ขั้นที่ 1. การประเมินพฤติกรรมการปรับตัว (Assessment of behavior)
การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการปรับตัวของบุคคล โดยใช้ทักษะการสัมภาษณ์และประเมินสิ่งที่สามารถวัดได้ จากนั้นจึงตัดสินใจว่าพฤติกรรม
ที่รวบรวมได้นั้นเป็นพฤติกรรมสามารถปรับตัวได้สำเร็จ หรือเป็นพฤติกรรม
การปรับตัวอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 2. การประเมินสิ่งเร้า (Assessment of stimuli)
ประเมินสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดพฤติกรรรมนั้นๆ
และจัดกลุ่มตามชนิดของสิ่งเร้า
1)สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli)
2) สิ่งเร้าร่วม (Contextual stimuli)
3)สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli)
ขั้นที่ 3. การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing diagnosis)
กระบวนการตัดสินใจกำหนดข้อความที่สื่อถึงสถานะการปรับตัวของบุคคลที่ระบุหรือบ่งชี้สถานะพฤติกรรมการปรับตัวร่วมกับสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลมากที่สุด สะท้อนถึงสถานะของพฤติกรรมการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพหรือไม่มีประสิทธิภาพและสิ่งเร้าที่ประเมินได้
ความรู้สึกคุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจากการเดินไม่ได้
ขั้นที่ 4. การกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมการปรับตัว
(Goals Setting: to promote adaptation)
เป็นข้อความที่แสดงถึงผลลัพธ์ที่เป็นพฤติกรรมของการปรับตัวที่ต้องการให้เกิดขึ้นในทางบวก
เพื่อการปรับตัวด้านการเคลื่อนไหว
ขาขวาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 5. การบำบัดทางการพยาบาล
(Implement intervention)
เน้นทั้งสิ่งเร้าและกระบวนการเผชิญ โดยการวางแผนกำหนดกิจกรรมในการส่งเสริม
การปรับตัวด้วยการจัดการสิ่งเร้า (Management of the stimuli) ที่มีผลต่อพฤติกรรมหรือสร้างความแข็งแรงของกระบวนการปรับตัวจากนั้นนำแผนของกิจกรรมการพยาบาลนั้นไปลงมือปฏิบัติ
ขั้นที่ 6. การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผลภายหลังจากที่พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลแล้ว โดย
ประเมินพฤติกรรมการปรับตัวของบุคคล ตามเป้าหมายการปรับตัวที่ตั้งไว้