Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แผนการจัดการเรียนรู้
บทที่7
การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนเนื้อหา (Content)
ความหมาย
เนื้อหา เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโดยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ
แนวการเขียน
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็น หากมีเนื้อหามากให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
ตัวอย่าง
เนื้อหา
ข่าว คือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือสังคม
ข่าวสามารถจำแนกเป็นหลายประเภท ตามหัวข้อต่อไปนี้
ข่าวการเมือง เป็นข่าวที่เกี่ยวกับรัฐบาลและนักการเมือง
ข่าวเศรษฐกิจ เป็นข่าวเกี่ยวกับธุรกิจและการลงทุน และความเป็นอยู่โดยรวมของประชาชน
ข่าวต่างประเทศ เป็นข่าวที่เกิดจากภายนอกประเทศทุกชนิด
ข่าวการศึกษา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาหรือเทคโนโลยีทางการศึกษาต่าง ๆ
ข่าวกีฬา คือเรื่องราวของกีฬาทุกชนิดที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
ข่าวการเกษตร เป็นข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือการพัฒนาการเกษตรทุกชนิด
ข่าวในพระราชสำนัก คือข่าวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงและพระราชินีหรือพระบรมวงศานุวงศ์
ข่าวทั่วไป เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น อุบัติเหตุ หรือเพลิงไหม้ อาชญากรรม เป็นต้น
เนื้อหาที่สรุปย่อ
ข่าว คือ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับบุคคลหรือสังคม
ข่าวสามารถจำแนกได้หลายประเภท
ข่าวการเมือง
ข่าวเศรษฐกิจ
ข่าวต่างประเทศ
ข่าวการศึกษา
ข่าวกีฬา
ข่าวการเกษตร
ข่าวในพระราชสำนัก
ข่าวทั่วไป
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
เป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้
บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้
แนวทางการเขียน
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
แนวการเขียน
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมาย ด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
ตัวอย่าง
สาระสำคัญในเชิงเนื้อหาความรู้
รากของพืชมี 3 ชนิด ได้แก่ รากแก้ว รากฝอย และรากแขนง
สาระสำคัญในเชิงทักษะกระบวนการ
การใช้กระบวนการเขียน
การเตรียมการสอน
การยกร่างข้อเขียน
การปรับปรุงข้อเขียน
การบรรณาธิการกิจ
การเขียนให้สมบูรณ์ทำให้ได้ข้อเขียนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์
สาระสำคัญในเชิงเจตคติ
ความขยันหมั่นเพียรเป็นสิ่งที่นำสู่ความสำเร็จ
ความหมาย
ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น
ข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้านเนื้อหาความรู้ ด้านทักษะ หรือด้านเจตคติ
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
ความหมาย
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์ คือ ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
มีวิธีการเขียนหลายลักษณะ
โดยทั่วไปนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือในลักษณะจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
รายละเอียด
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้ พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน
1.1 สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition)
คำที่มักจะใช้
หลังจากที่........
เมื่อกำหนด.........
เมื่อนำ......
เมื่อ.......
ฯลฯ
1.2 พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (Terminal Behavior)
คำที่มักจะใช้
อธิบาย
บรรยาย
บอก
เขียน
วาด
ชี้
คำนวณ
ตอบ
ท่อง
เปรียบเทียบ
สร้าง
ทดลอง
วิเคราะห์
ยกตัวอย่าง
สาธิต
ฯลฯ
คำที่ไม่ควรนำมาใช้
รู้
เข้าใจ
ซาบซึ้ง
ตระหนัก
จินตนาการ
ฯลฯ
1.3 เกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
คำที่มักจะใช้
ได้ถูกต้อง
ได้ทุกข้อ
ได้ 8 ข้อใน 10 ข้อ
อย่างน้อย 5 ชื่อ
ภายใน 10 นาที
ฯลฯ
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่แสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงคืย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
ตัวอย่าง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
จุดประสงค์ปลายทาง
เขียนบรรยายภาพตามความคิดของตนได้
จุดประสงค์นำทาง
เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
รวบรวมคำศัพท์และสำนวนที่จะนำมาเขียนบรรยายภาพได้
เรียบเรียงถ้อยคำเพื่อสื่อความคิดในการบรรยายภาพได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
จุดประสงค์ปลายทาง
สามารถแยกตัวประกอบของจำนวนนับได้
จุดประสงค์นำทาง
คูณหารจำนวนนับได้
เขียนเลขยกกำลังในรูปของการคูณได้
หาตัวประกอบของจำนวนนับได้
บอกได้ว่าจำนวนนับที่กำหนดให้เป็นจำนวนเฉพาะหรือไม่
หาตัวประกอบเฉพาะของจำนวนนับที่กำหนดให้ได้
แยกตัวประกอบของจำนวนนับได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
จุดประสงค์ปลายทาง
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะภายนอก
จุดประสงค์นำทาง
บอกชื่ออวัยวะภายนอกได้
บอกตำแหน่งของอวัยวะภายนอกได้
บอกหน้าที่ของอวัยวะภายนอกได้
บอกวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอกได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
จุดประสงค์ปลายทาง
จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
จุดประสงค์นำทาง
บอกความหมายคำศัพท์ สำนวนจากเรื่องที่กำหนดได้
ลำดับเหตุการณ์เรื่องราวจากเนื้อเรื่องที่อ่านได้
บอกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้
แนวการเขียน
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
ความหมาย
กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ฝึกกระบวนการที่สำคัญ
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียน โรงเรียน และชีวิตจริง
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับจัดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กระบวนการที่ครูสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรม
1) กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา
2) กระบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ
3) ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (Performance)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม (Interaction)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ (Process)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน (Assessment)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application)
แนวการเขียน
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและการปฏิบัติ
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นดำเนินการสอน
ขั้นสรุปบทเรียน
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท
ไ่ม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของผู้สอนและผู้เรียน
ควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดร.ทิศนา แขมมณี
เกณฑ์การให้คะแนน
ให้ 1 คะแนน ถ้าแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้มีลักษณะตามรายการที่ประเมินจริง
ให้ 0 คะแนน ถ้าไม่แน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีลักษณะตามรายการที่ประเมิน
ให้ -1 คะแนน ถ้าแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้นี้ไม่มีลักษณะตามรายการที่ประเมิน
รายการประเมิน
มีการแจ้งจุดประสงค์หรือบอกคุณค่าของบทเรียน
มีการทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียน
กิจกรรมเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
มีกิจกรรมที่เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ทักษะหรือทัศนคติระหว่างกันและกัน
มีกิจกรรมและสื่อที่หลากหลาย
ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการหรือเทคนิควิธีที่ให้ผู้เรียนสามารถสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
มีการเสริมแรงและจูงใจในการเรียน
ผู้เรียนมีโอกาสได้แสดงบทบาทในกิจกรรมอย่างทั่วถึง
ผู้เรียนได้อ่าน ศึกษาค้นคว้า กระทำฝึกปฏิบัติหรือแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาทั้งหมดในแผน
ผู้เรียนได้ฝึกความแม่นยำหรือเสนอแนะผู้อื่น หรือวางแผนปฏิบัติจริง
วิธีการวิเคราะห์และประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รวมคะแนนในบรรทัดสุดท้ายช่องขวาสุดของตาราง
นำคะแนนรวมมาคำนวณหาค่าร้อยละโดยใช้สูตร (คะแนนรวม ส่วน จำนวนข้อในแบบประเมิน คูณ 100)
แปลผล
ต่ำกว่า 60 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง
ุ60-69 อยู่ในระดับใช้ได้
70-79 อยู่ในระดับดี
80-100 อยู่ในระดับดีเยี่ยม
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
ความหมาย
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวการเขียน
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ระบุเฉพาะสื่อที่จะใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
ไม่ควรระบุสิ่งของที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น กระดานดำ ชอล์ก ดินสอ ปากกา เป็นต้น
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
ความหมาย
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่
การวัด เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น
การประเมินผล เป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด เช่น ผ่าน-ไม่ผ่าน, ดี-ปานกลาง-อ่อน หรือกำหนดค่าเป็นระดับ 1 2 3 4 เป็นต้น
แนวการเขียน
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลกาเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
ตัวอย่าง
สังเกตความสนใจในการเรียน
สังเกตการออกเสียงคำควบกล้ำ
สอบถามวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือการเกษตร
สอบถามความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอวัยวะ
ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องการบวก
ตรวจการเขียนบรรยายภาพ
บทที่ 6
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดสาระหนึ่ง ให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด แผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และ ระดับบทเรียน (Lesson Plan)
ประโยชน์ของการทำแผนการจัดการเรียนรู้
1.เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
4.เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อจำกัดที่พบ
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพครู)
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายหรือแบบเรียงหัวข้อ
เป็นรายละเอียดขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความเรียง
ได้รับความนิยม
มีข้อจำกัดในกรณีที่รายละเอียดอยู่คนละหน้ากัน
ยากต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ
องค์ประกอบ
สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
2.2 จุดประสงค์นำทาง
เนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
6.1 วิธีวัด
6.2 เครื่องมือวัดและประเมินผล
6.3 เกณฑ์
กิจกรรมเสนอแนะ
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
บันทึกผลหลังการสอน
9.1 ผลการสอน
9.2 ปัญหาอุปสรรค
9.3 ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
นำรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มาเขียนลงตารางในหน้าเดียว
ง่ายต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ
มีข้อจำกัดในด้านพื้นที่ในการเขียนและภาระในการตีตาราง
องค์ประกอบ
สาระสำคัญ
จุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หมายเหตุ
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สาระการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งด้านความรู้ (K) คุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกต่อสังคม (A) และทักษะกระบวนการ (P)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่พัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
สื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
กิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
เนื้อหา (Content)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
สาระสำคัญ (Concept)
หัวเรื่อง (Heading)