Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle…
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเขียนรายละเอียดภายในองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่เขียนขึ้น จึงเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการนำไปใช้ดังที่จะเสนอต่อไปนี้
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การรวัดและประเมินการเรียนรู้
เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ
การสัมภาษณ์
การสอบถาม
การสังเกต
การตรวจสอบผลงาน
การทดสอบ
การประเมินผล เป็นการกำหนดค่าหรื่อตัดสินสิ่งที่วัด
ดี-ปานกลาง-อ่อน
กำหนดค่าเป็นลำดับ 4 3 2 1 0
ผ่าน-ไม่ผ่าน
มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
ระบุวิธีการและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ คือ ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุป
ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ทั้งด้านเนื้อหาความรู้ ด้านทักษะ หรือ ด้านเจตคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอ
สาระสำคัญ เป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับสังกับความคิดรวบยอดมโนทัศน์และมโนมติ ขึ้นอยู่กับหน่วยงาน หรือความนิยมใช้มีแนวในการเขียน ดังต่อไปนี้
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่งตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญ
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ทักษะหรือเจตคติที่เป็น
เป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
การเขียนหัวเรื่อง (Heading)
ส่วนหัวเรื่อง เป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุวันที่เดือนปีและช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุมชัดเจนและสื่อความได้ดี
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์หรือวัตถุประสงค์คือข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge) ด้านคุณธรรมจริยธรรม หรือเจตคติ (Attitude) และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งการเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้วิธีการเขียนหลายลักษณะ แต่โดยทั่วไปนิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือ
ในลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการที่ครูกำหนดไว้
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์
พฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้แสดงออก (Terminal Behavior)
เกณฑ์บ่งชี้ความสามารถของนักเรียนที่แสดงพฤติกรรม (Criteria)
สถานการณ์หรือเงือนไขที่ครูตั้งขึ้น (Condition)
1.1 สถานการณ์ที่ครูตั้งขึ้น
มักใช้คำว่า : หลังจากที่..........,เมื่อกำหนด..........เมื่อนำ............, เมื่อ.......... ฯลฯ
1.2 พฤติกรรมของนักเรียนที่คาดหลังให้แสดงออกมา
มักใช้คำว่า : อธิบาย, บรรยาย, บอก, เขียน, วาด, ชี้, คำนวณ, ตอบ, ท่อง, เปรียบเทียบ, สร้าง, ทดลอง, วิเคราะห์, ยกตัวอย่าง, สาธิต ฯลฯ
คำที่ไม่ควรนำมาใช้ : รู้, เข้าใจ, ซาบซึ้ง, ตระหนัก, จินตนาการ ฯลฯ
1.3 เกณฑ์ของระดับความสามารถของพฤติกรรม
มักใช้คำว่า : ได้ถูกต้อง, ได้ทุกข้อ, ได้ 8 ข้อใน 10 ข้อ, อย่างน้อย 5 ชื่อ, ภายใน 10 นาที ฯลฯ
จุดประสงค์ปลายทางและจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็น
จุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์
เชิงพฤติกรรม
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
ฝึกกระบวนการที่สำคัญกับผู้เรียน
ผลที่เกิดขึ้น คือ การเแปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติทางความรู้ ความคิด ทักษะความสามารถทางการปฏิบัติ ลักษณะด้านจิตพิสัยต่าง ๆ
ค่านิยม
ความสนใจ
คุณธรรมจริยธรรม
ความพอใจ
เจตคติ
เป้าหมายของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
คือ การสอนที่ครูผู้สอนหลีกเลี่ยงการเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง และจะจัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ธรรมชาติ และวัยของผู้เรียน ลักษณะเนื้อหาวิชา และ สภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
กิจกรรมการเรียนรู้ดดยทั่วไป คือ การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย ผ่านทางประสาทสัมผัสและช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
ซักถาม
ตอบคำถาม
คิด
อภิปราย
ฟัง
ทดลอง
อ่าน
เขียน
ได้สังเกต
ลงปฏิบัติจริง
กระบวนการที่ครูสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมได้
กระบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ
กระบวนการเรียนคณิตศาสตร์
กระบวนการเรียนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการเรียนภาษา
กระบวนการทางวิชาชีพ
กระบวนการทางศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ พลศีกษา
ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
ซึ่งจะพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านการคิด การแก้ปัญหา การปฏิบัติ และ การมีเจตคติที่ดีต่อการคิดและการปฏิบัตร
กระบวนการเรียนรู้ตามจิตวิทยา
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด กระบวนการเรียนรู้ความคิดของ Bloom
กิจกรรมการเรียนรู้ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการที่สำคัญ
กระบวนการ หมายถึง
การมีขั้นตอนต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือฝึกปฏิบัติโดยใช้ ร่างกาย ความคิด การพูด ในการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ คือ ได้ความรู้ิ ความเข้าใจ และเจตคติหลังจากการทำกิจกรรม
การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ คือกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม (Interaction)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (Performance)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินนตนเองและเพื่อน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องสะท้อนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดทุกข้อ
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้ คือ สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย หรือ จุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆจึงเป็นความสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผึกกระบวนการที่สำคัญ
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียน โรงเรียน และชีวิตจริง
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางการเขียนดังต่อไปนี้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
รูปภาพยุงลาย
แผนภูมิเพลง
คุณธรรมสี่ประการ
แถบบันทึกภาพและเสียงเรื่องชีวิตในบ้าน
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือรายบุคคล
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียนรู้
ชอล์ก
ดินสอ
กระดาษดำ
ปาก
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนเนื้อหา (Content)
เนื้อหา เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่งที่จะต้องสอนโดยรวม อาจประกอบด้วย ทฤษฎี หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือ แนวปฏิบัติ
การระบุเนื้อหาในแผนการจัดการเรียนรู้มีแนวการเขียนดังต่อไปนี้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลาวัยและ ความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามากให้ทําเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อความชัดเจน
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับหากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ มีแนวทางการเขียนดังนี้
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งขั้น ได้แก่ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอน ขั้นสรุปบทเรียน โดยเขียนเป็นข้อเรียงตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้น หากขั้นใดมีกิจกรรมเดียวไม่ต้องใส่เลขลำดับหัวข้อ
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอน หรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการ และการปฏิบัติ
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดทั้งคำพูดของผู้สอนและผู้เรียน
รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ได้เสนอแบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปตรวจสอบกิจกรรมการเรียนรู้