Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจในหญิงครรภ์(Heart disease)💔🩺 - Coggle Diagram
โรคหัวใจในหญิงครรภ์(Heart disease)💔🩺
ความหมาย❤️🏥
โรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ (heart disease in pregnancy) หมายถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคหัวใจร่วมด้วยไม่ว่าจะตรวจพบก่อนตั้งครรภ์หรือภายหลังตั้งครรภ์แล้วพบว่าเป็นสาเหตุการตายของมารดารองลงมาจากความดันโลหิตสูงตกเลือดและติดเชื้อตามลำดับ (Olds, London & Ledewig, 1996) โรคหัวใจที่พบในหญิงตั้งครรภ์มี 2 ชนิดคือ
โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital heart disease)
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease)
สาเหตุ
สาเหตุของโรคหัวใจแบ่งตามชนิดได้ดังนี้
มีความพิการของหัวใจ แต่กำหนดหรือโรคหัวใจที่เป็นมา
แต่กำเนิดส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสของมารดาในระยะแรก
ของการตั้งครรภ์เช่นหัดเยอรมันคางทูมซึ่งทำให้การเจริญเติบโต
ของหัวใจทารกในครรภ์ผิดปกติ
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ
ที่หัวใจเช่นการติดเชื้อการอักเสบมีการบาดเจ็บภาวะที่พบบ่อย
คือโรคหัวใจรูห์มาติด (Rheumatic heart disease)
ชนิดลิ้นไมตรัลตีบ (mitral stenosis) (อัจฉราเดชฤทธิพิทักษ์, 2540)
พยาธิสรีรภาพ
ในขณะที่ตั้งครรภ์ปริมาตรเลือด (blood volume) จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งคงที่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สามในช่วงอายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดประมาณร้อยละ 45-50 ส่วนปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ cardiac output ก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิมเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดการหดรัดตัวของมดลูกส่งผลให้ cardiac output เพิ่มขึ้น
อาการและอาการแสดง😔💉
หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว
ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู
หัวใจเต้นเร็ว
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีอาการอ่อนเพลีย
ปอดบวมน้ำ
หายใจลำบาก
นอนราบไม่ได้
เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง
อาการหอบเหนื่อย
หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง
ตรวจพบตับโตกดเจ็บ
ปลายมือปลายเท้าเย็น
มีอาการเบื่ออาหาร
ปัสสาวะออกน้อยและปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
อาเจียน
การพยาบาล
การพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
ส่งเสริมภาวะโภชนาการ🥗
ให้ folic acid & vitamin C เพื่อส่งเสริมการดูดซึมธาตุเหล็ก
ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มมากเกินไป
ให้ธาตุเหล็กเสริม เพื่อป้องกันโลหิตจาง
ไม่จำเป็นต้องจำกัดเกลือ ยกเว้นในรายที่รุนแรง
ส่งเสริมการพักผ่อน🛌
พักผ่อนอย่างเต็มที่ อาจต้องหยุดทำงานตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์
นอนตะแคงหรือนอนศีรษะสูง หลีกเลี่ยงการนอนหงาย
จำกัดกิจกรรมบางราย Complete bad rest (GA~30-36wks)
มาฝากครรภ์ตามนัด
ป้องกันการติดเชื้อ (URI&UTI) หากมีอาการการติดเชื้อควรมาพบแพทย์โดยเร็ว
ช่วยเหลือประคับประคองด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
แนะนำวิธีนับการดิ้นของทารกในครรภ์
การพยาบาลในระยะหลังคลอด
1.จัดให้นอนในท่าศีรษะสูง
2.เฝ้าระวัง congestive heart failure ในระยะหลังคลอดทันที ตรวจสอบการทำงานของหัวใจด้วยเครื่อง cardiac monitor
3.ประเมิน vital signs ทุก15นาที, intake/output
4.ป้องกันภาวะ pospertum hemorrhage
4.1ดูแลให้ oxytocin ตามแผนการรักษา
4.2 หลีกเลี่ยงการให้ยาประเภท ergot
4.3ประเมิน it.Contraction, ut.massage
4.4กระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะ
4.5ประเมิน vaginal tear & hematoma
5.ป้องกันการเกิด thromboembolism
5.2 การออกกำลังกาย:kegel'exercise ได้ แต่ประเภทอื่นให้พิจารณาตามอาการ&ควรปรึกษาแพทย์
5.1 กระตุ้นให้มี early ambulation
6.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำให้เพียง
7.ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
8.การให้ช่วยเหลือในการดูแลทารก เพื่อให้มารดาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
9.ให้การบริการทารกที่ข้างเตียงมารดาเพื่อให้มารดาได้เรียนรู้วิธีการดูแลทารก
10.ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลมารดาทารก
11.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดา ทารก และสมาชิกในครอบครัว
12.งดทำ Breastfeeding ในรายที่อาการรุนแรง
13.เน้นความสำคัญของมารดามาตรวจตามนัด
14.แนะนำวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสม
14.1ไม่ควรรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม และห่วงอนามัย
14.2มารดาที่มีโรคหัวใจ class III-IVควรทำหมัน แต่ไม่ควรทำในระยะหลังคลอดทันที ควรรอให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้นก่อน หรือแนะนำให้สามีทำหมัน
💉
👩⚕️🏥
🎉👶
อุบัติการณ์
โรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ของประเทศไทยพบได้ร้อยละ 1-2 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด (ธีระพรวุฒยวนิช, 2539) ซึ่งใกล้เคียงกับโรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ของสหรัฐอเมริกาที่พบร้อยละ0.5-2 (Novak & Broom, 1995) เดิมพบว่าร้อยละ 80-85 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค (Rheumatic heart disease) ชนิดที่มีการตีบของลิ้นไมตรัล (Mitral stenosis: MS) และร้อยละ 15-20 เป็นโรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital heart disease) ที่พบบ่อยคือโรคหัวใจชนิดมีรูที่ผนังกั้นกลางระหว่างหัวใจห้องบน (atrial septal defect: ASD) โรคหัวใจชนิดมีรูกันผนังกั้นกลางระหว่างหัวใจห้องล่าง (venticular septal defect: VSD) และโรคหัวใจชนิดมีทางติดต่อระหว่างเส้นโลหิตแดงของปอดและเส้นโลหิตแดงใหญ่ (patent ductus arteriosus: PDA) แต่ปัจจุบันพบว่าโรคหัวใจทั้งสองชนิดพบได้เท่า 1 กันคือประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากการรักษาภาวะผิดปกติต่าง ๆ ดีขึ้น (Olds, London & Ledewig, 1996)
การจำแนกความรุนแรงของโรคหัวใจระหว่างตั้งครรภ์💔💊
ความสามารถในการทำงานของหัวใจเช่นการวัดสมรรถนะแบ่งตาม The Newyork Heart Association (Olds, London & Ledewig, 1996) ได้ดังนี้
ระดับที่ 1 (Class 1) ทำกิจกรรมปกติได้ไม่มีอาการของโรค แต่สามารถตรวจพบการทำงานของหัวใจผิดปกติจากการตรวจคลื่นไฟฟ้า
ระดับที่ 2 (Class II) สบายดีขณะพัก แต่ถ้าทำงานตามปกติจะรู้สึกเหนื่อยใจสั่นหอบ
ระดับที่ 3 (Class II) ทำงานเล็กน้อยหรือกิจวัตรประจำวันก็ทำให้มีอาการเหนื่อยใจสั่นหอบแน่นหน้าอกหรือปวดที่หัวใจ แต่จะไม่มีอาการในขณะพัก
ระดับที่ 4 (Class IV) ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เลยจะมีอาการของหัวใจบกพร่องแม้
ในขณะพักผ่อน
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรคหัวใจ
1.เมื่อปริมาณเลือดที่บีบออกมาจากหัวใจเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ จะทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น มีผลทำให้เกิดหัวใจวายได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์
2.ทำให้ความรุนแรงของโรคหัวใจเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่แย่ลง
ผลต่อทารก
แท้ง
คลอดก่อนกำหนด
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย
ทารกตายในครรภ์ เนื่องจากภาวะโรคหัวใจของมารดาทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่มดลูกและรกดี (uteroplacental insufficiency)
ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคหัวใจที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดสูง
ผลต่อมารดา
ภาวะ tachyarrythmia ที่เกิดจากการทำงานของหัวใจที่เเย่ลง
ภาวะปอดบวมน้ำ
ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์
ตกเลือดหลังคลอด ซีด
การติดเชื้อ
thromboembolism ในมารดาที่เคยตัดลิ้นหัวใจ อาจทำให้เกิดการอุดตันที่ลิ้นหัวใจเทียม
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคหัวใจ
การดูแลระยะก่อนตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลร่วมกันระหว่างสูติแพทย์
และแพทย์โรคหัวใจ
การรับรักษาไว้ในโรงพยาบาล หญิงตั้งครรภ์ควรอยู่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนครรภ์ครบกำหนด
รับการฝากครรภ์ในหน่วยเสี่ยงสูง ใน 28 สัปดาห์แรกให้มาตรวจครรภ์ทุก 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้มาตรวจทุกสัปดาห์
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวเช่น
หายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรเร็วไอเป็นเลือดบวมหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการบวมน้ำที่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้น
เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินหายใจ
เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดควรตรวจ fetal echocardiogram ในช่วงอายุครรภ์ 18-22
ทำ ultrasound เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (หลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์)
ทำ Non-stress test (NST) หรือการทำ Biophusical profile (BPP) เริ่มตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์โดยอาจตรวจ NST 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอหลีกเลี่ยงความเครียดรวมทั้งลดการออกกำลังกายที่รุนแรง
ลดอาหารเค็มไม่ต้องจำกัดเกลือดูแลให้ธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะชิด
🏥
การดูแลระยะคลอด
ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวจากการมีเลือดไหลกลับเข้าสู่ระบบหัวใจ ในปริมาณมากเพราะ inferiar vena cava ไม่ถูกกดทับจากตัวมดลูก
ให้มี early ambulation จะช่วยป้องกันการเกิด ภาวะ thromboembolic disorder ได้
ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดต่อเนื่องอีก 6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ โดยให้ยาปฏิชีวนะต่อ ซึ่งอาจใช้ยาในกลุ่ม penicillin หรือ broad spectrum
การคุมกำเนิด ไม่แนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด แนะนำให้ใช้ยาฝังคุมกำเนิดเพราะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง
ควรจัดให้นอนท่าศีรษะสูง หรือ semi-recumbent
ประเมินสัญญาณชีพทุก 30-60 นาทีถ้าพบชีพจรมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจล้มเหลวไม่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจากนั้นหายใจมากกว่า 24 ครั้งต่อนาที ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบต้องเริ่มให้การรักษาทันที
ให้ยาระงับปวดอย่างเพียงพอโดยการทำ continuous epidural block หรือให้ morphine เพื่อลดอาการปวด ความกลัว ซึ่งส่งผลให้อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำในรายที่มีข้อบ่งชี้
วิธีคลอดที่แนะนำคือการคลอดทางช่องคลอด เนื่องจากเสียเลือดน้อย
การดูแลระยะเจ็บครรภ์คลอด
ติดตามสภาวะทารกในครรภ์ด้วย external fetal monitoring
เนื่องจากเมื่อมดลูกหดรัดตัวจะทำให้เลือดและออกซิเจนไปสู่รก
และทารกลดลง
การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกัน bacterial endocarditis จะพิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยงสูง
📝💊
การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
ประเมินสัญญาณชีพทุก 30-60 นาทีถ้าพบชีพจรมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีอัตราการหัวใจล้มเหลวไสามปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจากนั้นหายใจมากกว่า 24 ครั้งต่อนาที ร่วมกับอาการเหนื่อยหอบต้องเริ่มให้การรักษาทันที
ให้ยาระงับปวดอย่างเพียงพอโดยการทำ continuous epidural block หรือให้ morphine เพื่อลดอาการปวด ความกลัว ซึ่งส่งผลให้อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำในรายที่มีข้อบ่งชี้
วิธีคลอดที่แนะนำคือการคลอดทางช่องคลอด เนื่องจากเสียเลือดน้อย
ให้ออกซิเจนและสารละลายทางหลอดเลือดดำด้วยอัตราจำกัด (KVO)
ให้ยา digitalis ที่ออกฤทธิ์เร็วและให้ยาขับปัสสาวะ เช่น lasix 40-80 มิลลิกรัม
บันทึกปริมาณสารน้ำที่เข้า-ออกจากร่างกายเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินเป็นเพราะอาจเกิดภาวะ pimonary edemo ได้
ควรจัดให้นอนท่าศีรษะสูง : หรือ semi-recumbent
🩺
🧭
ผลของโรคหัวใจต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
หัวใจวาย
น้ำท่วมปอด
คลอดก่อนกำหนด
แท้ง
ติดเชื้อ
ผลต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด
เกิดตาย
ตายในครรภ์
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกในครรภ์พร่องออกซิเจน
แท้งเอง
คลอดก่อนกำหนด
การวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอาการและอาการ
แสดงของโรคหัวใจ เช่น อาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อยไอเป็นเลือดเป็นลมหมดสติเมื่อออกแรง เป็นต้น
การตรวจร่างกายประเมินสัญญาณชีพอาจพบชีพจร
เบาเร็วไม่ สม่ำเสมอมีภาวะ tachycardia
(> 100 ครั้ง / นาที) หรือ bradycardia (<60 ครั้ง / นาที) ตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรคหัวใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจค่า
arterial blood gas เพื่อประเมินปริมาณออกซิเจน
และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดหรือ
ภาวะกรด-ด่างในร่างกาย
การตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจ electrocardiography เพื่อตรวจอัตราและ
จังหวะการเต้นของหัวใจขนาดของหัวใจและ
ภาวะหัวใจขาดเลือด