Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รูปเเบบของเเผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
รูปเเบบของเเผนการจัดการเรียนรู้
บทที่ 6 รูปเเบบของเเผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เเผนการจัดการเรียนรู้ (Liesson Plan)
หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่งให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับบทเรียน (Lesson Plan)
ประโยชน์ของการทำเเผนการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อจำกัดที่พบ
เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพครู)
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
เนื้อหา (Content)
กิจกรรมการเรียนรู้ Activities)
สื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
จุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
สาระสำคัญ (Concept)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
หัวเรื่อง (Heading)
รูปเเบบของเเผนการจัดการเรียนรู้ที่นิยมใช้โดยทั่วไป
เเผนการจัดการเรียนรู้เเบบบรรยายหรือเเบบเรียงหัวข้อ
แผนการจัดการเรียนรู้ชนิดนี้จะเป็นรายละเอียดขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ตามลำดับโดยใช้ความเรียง เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม แต่มีข้อจำกัดในกรณีที่รายละเอียดอยู่คนละหน้ากัน จึงยากต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ
แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
แผนการจัดการเรียนรู้ชนิดนี้ เป็นการนำรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ มาเขียนลงในตารางภายในหน้าเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบ แต่มีข้อจํากัดในด้านพื้นที่ในการเขียนและการะในการตีตาราง
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งนี้รวมถึงแหล่งเรียนรู้ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งด้านความรู้ (K) คุณธรรมจริยธรรมสร้างจิตสำนึกต่อสังคม (A) และทักษะกระบวนการ (P)
7.กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่พัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา
บทที่ 7 การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบของเเผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง (Heading)
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ุ6. ระบุวันที่ เดือน ปี เเละช่วงเวลาในการการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ (Concept)
สาระสำคัญ คือ ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุปที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจากการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้านเนื้อหาความรู้ ด้านทักษะ หรือด้านเจตคติ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะเหมาะของเรื่องที่นำเสนอ
สาระสำคัญ เป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับ สังกัป ความคิดรวบยอดม โนทัศน์และมโนมติ ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือความนิยมใช้ มีแนวในการเขียนดังต่อไปนี้
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อในกรณีที่จัดการเรียนรู้ครั้งนั้นมีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ ควรมีสาระสำคัญเดียวในการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
เขียนในลักษณะของการสรุปเนื้อหาความรู้ ทักษะ หรือเจตคติที่เป็นเป้าหมายด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
ตัวอย่างการเขียนสาระสำคัญ
สาระสำคัญในเชิงทักษะการบวนการ
การใช้กระบวนการเขียน ได้แก่ การเตรียมการเขียนการยกร่างข้อเขียนการปรับปรุงข้อเขียนการบรรณาธิการกิจและการเขียนให้สมบูรณ์ทำให้ได้ข้อเขียนที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์
สาระสำคัญในเชิงเจตคติ
ความขยันหมั่นเพียรเป็นสิ่งที่นำสู่ความสําเร็จ
สาระสำคัญในเชิงเนื้อหาความรู้
รากของพืชมี 3 ชนิด ได้เเก่ รากเเก้ว รากฝอย เเละรากเเขนง
แนวการเขียนจุดประสงค์
เขียนให้เห็นรายละเอียดของพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุมชัดเจนและสื่อความได้ดี
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K) ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A) ด้านทักษะกระบวนการ (P)
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
การเขียนเนื้อหา (Content)
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนเนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือเป็นประเด็นหากมีเนื้อหามากให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวกท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้ (Activities)
กิจกรรมการเรียนรู้ คือสภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดการ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ จึงเป็นความสามารถและทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้
3.ฝึกกระบวนการที่สำคัญ
4.เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
2.เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
5.เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนโรงเรียนและชีวิตจริง
1.สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องสะท้อนจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดทุกข้อ โดยนอกจากจะต้องสร้างเสริมพฤติกรรมและทักษะที่มุ่งเน้นทุกด้านตามจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว จะต้องสร้างมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดในสาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่กําหนดอย่างชัดเจน ครบถ้วนและทันสมัย
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กิจกรรมการเรียนรู้ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการที่สำคัญ ซึ่งกระบวนการในที่นี้ หมายถึง
-การมีขั้นตอนต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือฝึกปฏิบัติโดยใช้ร่างกาย ความคิด การพูด ในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ คือได้ความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติหลังจากทํากิจกรรม
-การปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติเป็นขั้นตอนติดตัวไปใช้ในชีวิตจริง ดังแนวคิดที่ว่า “ แทนที่จะให้ปลาเด็กกินทุกวัน เราควรฝึกวิธีหาปลาให้กับเขาเพื่อให้เขาสามารถหาปลากินเองได้ตลอดชีวิตจะดีกว่า"
กิจกรรมการเรียนรู้โดยทั่วไป คือ การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมายผ่านทางประสาทสัมผัสและช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ผลที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติทางความรู้ ความคิด ทักษะความสามารถทางการปฏิบัติ ลักษณะด้านจิตพิสัยต่าง ๆ เช่น เจตคติคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม ความสนใจ ความพอใจ เป็นต้น
เป้าหมายของกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ คือ การสอนที่ครูผู้สอนหลีกเลี่ยงการเป็นผู้บอกความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรง แต่จะจัดให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ธรรมชาติและวัยของผู้เรียน ลักษณะของเนื้อหาวิชา และสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
กระบวนการที่ครูสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมประกอบด้วย
2) กระบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กระบวนการเรียนภาษา กระบวนการเรียนคณิตศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิชาชีพ กระบวนการทางศิลปะ ดนตรีนาฏศิลป์ พลศึกษา เป็นต้น
3) ทักษะกระบวนการ 9 ขั้นซึ่งจะพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านการคิดการแก้ปัญหา การปฏิบัติและการมีเจตคติที่ดีต่อการคิดและการปฏิบัติ
1) กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา เช่น กระบวนการสร้างความคิดรวบยอดกระบวนการเรียนรู้ความคิดของ Bloom เป็นต้น
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
ผู้เรียน คือ หัวใจสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพราะหากไม่มีผู้เรียนแล้วการจัดการเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องรู้พื้นฐานของผู้เรียนที่ตนจะสอนก่อนว่าเป็นอย่างไร เมื่อคัดเลือกกิจกรรมการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องคำนึงว่าจะจัดอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับธรรมชาติ วัย ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนเป็นส่วนรวมและขณะเดียวกันก็จะต้องสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนด้วย
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
ครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของห้องเรียน โรงเรียนและชุมชนโดยพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด เช่น หัวข้อที่กำหนดในการทำรายงานการศึกษาค้นคว้า โครงงาน หรือชิ้นงาน ก็ควรเป็นหัวข้อเกี่ยวกับท้องถิ่น หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัด ความสามารถและความสนใจ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการ การประกอบอาชีพ การดำรงตนในสังคมและบุคลิกภาพส่วนตน
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้กระทำในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะเรียนอย่างมีชีวิตชีวา
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ คัญคือกิจกรรมที่มีลักษณะดังนี้
1) ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Construct) โดยค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทำความเข้าใจ สร้างความหมายของสาระข้อความรู้ให้แก่ตนเอง ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
7) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (Application)
2) ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก (Performance) เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลงาน
6) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อน (Assessment)
3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม (Interaction) ได้เรียนรู้จากกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ความคิดและประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
5) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ (Product)
4) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอนหรือเป็นกระบวนการ
การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ (Objective)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)
1.1 สถานการณ์ที่ครูตั้ง (Condition)
1.2 พฤติกรรมของนักเรียนที่ครูคาดหวังให้แสดงออกมา (Terminal Behavior)
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกหลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้ พฤติกรรมดังกล่าวต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สมบูรณ์ควรจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
1.3 เกณฑ์ของระดับความสามารถของพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก(Criteria)
จุดประสงค์ปลายทางเเละจุดประสงค์นำทาง
จุดประสงค์ปลายทาง คือ ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจงถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์นำทาง คือ จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมายของจุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทางนิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา วิธีการและการปฏิบัติ
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้นใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอนหรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูดทั้งคำพูดของของผู้สอนและผู้เรียน
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น ได้แก่ ขึ้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นดำเนินการสอน และขั้นสรุปบทเรียน โดยเขียนเป็นข้อเรียงตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในแต่ละขั้น
การเขียนสื่อการเรียนรู้ (Material & Media)
สื่อการเรียนรู้ คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเเนวทางการเขียนดังนี้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่มหรือต่อรายบุคคล
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียนว่าเป็นสื่อการเรียน
ระบุสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนวิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ และวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์การสอบ ถามการตรวจผลงาน และการทดสอบ เป็นต้น ส่วนการประเมินผล เป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัดเช่น ผ่านไม่ผ่านดี-ปานกลางอ่อนหรือกำหนดค่าเป็นระดับ 4 3 2 1 0 เป็นต้น