Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายและจริยธรรมและการทําธุรกรมดิจิทัล - Coggle Diagram
กฎหมายและจริยธรรมและการทําธุรกรมดิจิทัล
ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
1.1 ความหมายของคุณธรรม สภาพคุณงามความดีและความถูกต้องซึ่งบุคคลควรยึดมั่นไว้เป็นหลักการในการปฏิบัติตนจนเป็นนิสัยความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ
1.2 ความหมายของจริยธรรม ความประพฤติที่เกิดจากคุณธรรม กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ทำได้ในทางวินัยจนเกิดความเคยชินมีพลังใจ มีความตั้งใจแน่วแน่จึงต้องอาศัยปัญญา และปัญญาอาจเกิดจากความศรัทธาเชื่อถือผู้อื่น ในทางพุทธศาสนาสอนว่า จริยธรรมคือการนำความรู้ ความจริงหรือกฎธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
หลักจริยธรรมทางธุรกิจ
ความสำคัญของจริยธรรมทางธุรกิจ
1) ธุรกิจที่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจจะได้รับความเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืนส่วนธุรกิจที่มุ่งแต่แสวงหากำไรและผลประโยชน์โดยไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจ ในระยะยาวจะต้องประสบปัญหาและความหายนะ
2) ธุรกิจที่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจจะได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นธุรกิจที่ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติตรงกันข้ามกับธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจ มุ่งแต่แสวงหาประโยชน์และกำไรอย่างเดียวไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะไม่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาและสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจแก่สังคมและประเทศชาติ
3) หากนักธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจ โดยปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจ จะช่วยให้ธุรกิจและเศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้า
4) การปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจจะช่วยทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่เกิดการรวมตัวกันสร้างอำนาจผูกขาด และไม่เป็นธรรมต่อสังคม
5) โลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงการปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
คุณค่าแห่งจริยธรรมทางธุรกิจ
1) จริยธรรมก่อให้เกิดความเชื่อถือ (Credit)
2) จริยธรรมก่อให้เกิดการทุมเท(Devotion)
3) จริยธรรมก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี(Good image)
4) จริยธรรมก่อให้เกิดการลดหย่อนทางกฎหมาย
5) จริยธรรมก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข
กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่กำเนิดหรือออาจกำเนิดขึ้นโดยกฎหมาย ซึ่งมนุษย์ก็จะเป็นผู้เลือกใช้สิทธินั้นเอง ไม่มีใครสามารถบังคับได้ นอกจากนั้นสิทธิของแต่ละบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยจะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น
ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ช่วยให้รู้จักระวังตนไม่ให้พลาดพลั้งกระทำความผิดหรือปฏิบัติฝ่าฝืนข้อห้ามที่กฎหมายกำหนด
ช่วยป้องกันไม่ให้ถูกคนอื่นเอารัดเอาเปรียบ
ช่วยให้รัฐบริหารบ้านเมืองอย่างราบรื่น เพราะทุกคนปฏิบัติตนตามกฎหมาย
ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ เพราะกฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินชีวิต
ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล
กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลต้องอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ โดยฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องทำหน้าที่ร่างกฎหมาย ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในด้านต่างๆ มีความทันสมัยตลอดเวลาตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม