Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทรวงอก (Chest injury), กาญจนา โภคพึ่งกิจ…
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทรวงอก (Chest injury)
หมายถึง
ภาวะที่ผนังทรวงอกและอวัยวะที่อยู่ภายในทรวงอก ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า, กระดูกหน้าอก, กระดูกซี่โครง, ปอด, หัวใจ, หลอดอาหาร กระบังลม,หลอดลม,และหลอดเลือดต่างๆ ได้รับบาดเจ็บจากแรงภายนอกที่มากระทำต่อทรวงอก
สาเหตุ
1. ชนิดไม่มีแผลทะลุ
Blunt Chest Trauma หรือ
non Penetrating Injury
2. ชนิดมีแผลทะลุ
Penetrating Injury
พยาธิสภาพของภยันตรายของทรวงอก
1.การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในช่องเยื้อหุ้มปอด
2.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมดิแอสตินั่ม
3.Air emboli
4.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
การเปลี่ยนแปลงกลศาสตร์ของปอด
ในผู้บาดเจ็บทรวงอก
การบาดเจ็บของเนื้อปอด
ทำให้ปอดช้ำ มีลมรั่วหรือ เลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอดและมีผลโดยตรงต่อการ
ขยายตัวของทรวงอก
กรณีที่เกิดภาวะปอดช้ำจากแรงกระแทก การเปลี่ยนแปลงทางด้านพยาธิสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นคือ
หลอดเลือดฝอยและเยื่อหุ้มถุงลมปอด (membrane)
สูญเสียหน้าที่ มีผลให้น้ำและเลือดซึมผ่านเข้าไปในช่องว่างระหว่างเซลล์ของหลอดเลือดพาเรนไคมาร์(lung parenchyma)
การระบายอากาศ (ventilation) ของเนื้อปอดที่ช้ำลดลงเพราะแรงต้านในทางเดินหายใจสูงขึ้น
ทำให้อากาศผ่านเข้าไปในถุงลมปอดน้อยลง เลือดที่ผ่านเนื้อปอดที่ช้ำจึงไม่ได้รับการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ดี มีผลให้ความดันออกซิเจนในเลือด (Pa02) ต่ำ และความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (PaCO2)
ภยันตรายของทรวงอกที่สำคัญและพบบ่อย คือ
1. ภาวะอกรวน (Flail Chest ) หมายถึง
มีกระดูกซี่โครงหักอย่างน้อยที่สุด 3 ซี่ หรือมากกว่า มีผลทำให้มีส่วนลอยเกิดขึ้นที่ผนังทรวงอก เรียกว่า Floating Segment ส่วนลอยนี้เองที่จะทำให้กลไกของการหายใจเรียกว่า Paradoxical Respiration ซึ่งภาวะนี้ส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอดได้น้อยลงร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งได้
2. ภาวะปอดช้ำ (Lung Contusion)
เป็นภาวะที่เมื่อมีแรงมากระท ต่อผนังทรวงอก และแรงนั้นเคลื่อนที่ต่อไปเป็นคลื่น (Wave) ผ่านผนังทรวงอกไปสู่ปอด เมื่อปอดได้รับแรงกระทำ จะทำ ให้เกิดภาวะชอกช้ำขึ้น ทำให้การระบายอากาศได้น้อยลง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงด้วย
3. ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด(Pneumothorax)
เป็นภาวะที่อาจเกิดจากการฉีกขาดของเนื้อปอดและลมผ่านเข้าไปทางบาดแผลทะลุบริเวณทรวงอกซึ่งภาวะนี้พบได้หลายชนิด ได้แก่
3.1. Simple Pneumothorax หรือ Closed Pneumothorax
3.2. Open Pneumothorax
3.3. Tension Pneumothorax
4. ภาวะเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax)
เป็นภาวะที่มีเลือดอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะนี้จะขัดขวางการขยายตัวของปอดและถ้ามีการเสียเลือดมากๆอาจทำ ให้เกิดภาวะช็อคจากการ
เสียเลือดได้
พยาธิสภาพอื่นๆที่อาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บทรวงอก
5.1. หลอดลมแตกทะลุ
5.2. กระบังลมฉีกขาด
5.3. ถุงหุ้มหัวใจ (Pericardium)
5.4.หลอดอาหารแตกทะลุ (Esophageal Rupture)
5.5. Traumatic Aortic Aneurysm
5.6. Chylothorax
5.7. ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ(Cardiac Complication)
- มีเลือดขังอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ (Hemopericardium)
- หัวใจถูกบีบอัด (Cardiac Tamponade )
5.8.ภาวะแทรกซ้อนภายในช่องท้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและปัญหาทางการพยาบาล
1. ขาดประสิทธิภาพในการทำ ทางเดินหายใจให้เปิดโล่งเนื่องจากไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกเองได้หรือมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ
2. แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากภาวะอกรวน หรือมีกระดูกซี่โครงหัก
3. มีการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากมีเลือดหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
4. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจากสูญเสียเลือดจากการได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก
5. ไม่ได้รับความสุขสบายเนื่องจากการเจ็บปวดที่ทรวงอก
6. เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีความผิดปกติของทางเดินหายใจและ/หรือมีบาดแผลที่ทรวงอก
7. อาจได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความวิตกกังวลไม่เข้าใจพยาธิสภาพของโรค
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)
1. ดูแลการทำงานของ chest drain
โดยสังเกตการณ์ขึ้นลงของระดับน้ำ (fuctuation) ใน tube ที่จุ่มอยู่ใต้น้ำ ถ้าผู้ป่วยหายใจออกระดับน้ำใน tube จะต่ำลง และมีฟองอากาศในน้ำ ถ้าผู้ป่วยหายใจเข้าระดับน้ำใน tube จะสูงขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์กันอย่างนี้เสมอ
2. การทำ milking
สายยางซึ่งต่อกับ chest tube ลงสู่ขวด เพื่อช่วยให้สารเหลวต่างๆเช่น exudate,หนองหรือ blood clot ที่ค้างอยู่ใน tube ไหลออกได้สะดวกซึ่งจะทำ ให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
3. การป้องกันอุบัติเหตุ ที่สำคัญที่สุด
คือ ระวังขวดที่ใช้รองรับสารเหลวหรือขวด Chest drain แตกหรือลัมพยาบาลจะต้องเตรียม c(amp หุ้มยางอย่างน้อย 2 ตัว ไว้ใกล้าผู้ป่วย เพื่อจะใช้ได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และสามารถใช้ c(amp ได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ปอด
4. ตำแหน่งของขวด drain
ควรวางไว้เฉพาะที่ซึ่งจัดไว้ หรือยึดติดพื้นไว้ให้แน่นสายยางที่ต่อระหว่าง chest tube กับขวด Chest drain จะต้องยาวพอสำ หรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การทำหัตถการต่างๆ และตัวผู้ป่วยเองก็จะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
5. ให้ผู้ป่วยพลิกตัวเปลี่ยนท่าบ่อยๆ ร่วมกับการหายใจลึกๆ ไอแรงๆ
เป็นการเพิ่มความดันในปอด ทำให้สารเหลวหรือ exudate ระบายออกได้ดี
กาญจนา โภคพึ่งกิจ และ สืบตระกูล ตันตลานุกุล. (2563). ผลของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและ การฟื้นสภาพในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ ใส่ท่อระบายทรวงอก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(1), 210-224.
อ้างอิง
วิมล อิ่มอุไร. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 4(1), 1-14.