Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 พิษวิทยากับงานอาชีวอนามัย - Coggle Diagram
บทที่3 พิษวิทยากับงานอาชีวอนามัย
ความหมายและความสำคัญของพิษวิทยากับงานอาชีวอนามัย
ความหมายที่เกี่ยวข้องกับพิษวิทยากับงานอาชีวอนามัย
การรับสาร (Intake หรือ Uptake)เป็นกระบวนการที่สิ่ง ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกายโดยทางการกิน หรือทางการหายใจ (Intake) หรือการดูดซึมทาง ผิวหนัง (Uptake)
การประเมินการสัมผัส คนงานได้รับสารเคมีที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ และได้รับจาก หลายทางด้วยกัน ทั้งทางการหายใจทางผิวหนัง และทางการรับประทาน
ขนาดสัมผัส (Dose)หมายถึง ปริมาณสารที่อยู่ในร่างกาย ที่เกิดจากการรับสัมผัสในทุกช่องทางโดยทั่วไปจะแสดงเป็นหน่วยมิลลิกรัมของสารต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวของผู้สัมผัสต่อวัน
การควบคุมการสัมผัส เพื่อควบคุมการสัมผัสมากเกินไป จะมีการพิจารณาเกี่ยวกับ สถานที่ทำงาน กระบวนการทำงาน แหล่งกำเนิดมลพิษ การได้รับสารพิษของคนงาน มาตรการ ควบคุมที่มีอยู่
การรับสัมผัส (Exposure)หมายถึง การรับสัมผัสกับ สารเคมี โดยการ กิน หายใจ หรือสัมผัสผิวหนัง หรือตา
การรับสัมผัสแบบกลาง หมายถึงการรับสัมผัสในช่วงเวลานานกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี
การสัมผัสเป็นเวลานาน โดยทั่วไปจะหมายถึง การรับสัมผัสที่นานเกิน 1 ปี
การรับสัมผัส เฉียบพลัน ซึ่งหมายถึง การับสัมผัสในระยะเวลาสั้น ๆ มักไม่เกิน 14 วัน
พิษวิทยา เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาผลของสารพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดพิษ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาและสรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต หรือเป็นการศึกษาถึงผลเสียของสารพิษ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดพิษที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการประเมินโอกาสและความรุนแรงที่จะเกิด ขึ้นกับมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมจากการได้รับ/สัมผัสความเสี่ยงตามสภาวการณ์ที่แจง
ความสำคัญของพิษวิทยากับงานอาชีวอนามัย
2.ด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษมีผลกระทบต่อสัตว์และพืช ถ้านำมาบริโภคอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้
3.ด้านอุตสาหกรรม สารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ คนทำงานมีโอกาสได้รับสารเคมีเหล่านี้ จึงมีสำคัญในการศึกษาวิจัยและป้องกันควบคุมและ แก้ไขความเป็นพิษของสารเคมี
1.ด้านสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและการควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู ผู้สนใจทั่วไป สามารถใช้ข้อมูลพิษวิทยาเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ประชาชนทั่วไป และคนงาน
นักวิชาการด้านสุขภาพ
จป.วิชาชีพ
4.ด้านเกษตรกรรม สารเคมีที่นำมาใช้ในการป้องกันและกำจัด ศัตรูพืช มีผลกระทบต่อระบบนิเวศต่อผู้บริโภค
5.ด้านการควบคุมความปลอดภัย การใช้สารเคมี ต่างๆให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย
ประเภทสารพิษและปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่อการเกิดอันตรายจากสารเคมี
ประเภทสารพิษ
แบ่งตามสภาวะทางกายภาพ คุณสมบัติทางเคมี และระดับความเป็นพิษ ได้แก่ ตามสภาวะทางกายภาพ เช่น ก๊าซ ฝุ่นของแข็ง ของเหลว ตามลักษณะข้อกำหนดด้านฉลาก
แบ่งตามกลไกการออกฤทธิ์อาจแบ่งได้เป็นกลุ่ม เช่น สารยับยั้งเอนไซม์อะเซติลโคลีน เนสเตอเรส(Acetylcholinesterase inhibitor) สารก่อเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin inducer) แก๊สสำลัก (Asphyxiant gas) เป็นต้น
แบ่งตามอวัยวะเป้าหมายการใช้ประโยชน์ แหล่งที่มา และผลที่เกิดแก่ร่างกาย ได้แก่ กลุ่มสารพิษที่ไปทำลายอวัยวะเป้าหมายเดียวกัน เช่น ตับ ไต ระบบสร้างโลหิต เป็นต้น
แบ่งตามลักษณะการก่อปัญหา ได้แก่ กลุ่มสารมลพิษทางอากาศ กลุ่มสารพิษในการประกอบอาชีพ กลุ่มที่ทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน กลุ่มที่ทำให้เกิดพิษเรื้อรัง ก่อมะเร็ง (Carcinogen) ก่อความพิการต่อทารกในครรภ์ (Teratogen) ก่อการกลายพันธุ์ (Mutagen) เป็นต้น
ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบต่อการเกิดอันตรายจากสารเคมี
องค์การอนามัยโลก ได้ ประมาณการไว้ว่ามากกว่า 25% ของโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีความเชื่อมโยงกับปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมไปถึงการได้รับสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษด้วย
หลักการทางพิษวิทยา และกระบวนการพิษจลนศาสตร์กับงานอาชีวอนามัย
หลักการทางพิษวิทยาทางเข้าสู่ร่างกายของสารเคมีโดยทั่วไปสารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ 3 ทาง ด้วยกัน
2.ทางผิวหนัง (Skin absorption) สารเคมีอาจซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังขณะที่ ปฏิบัติงานได้มากรองมาจากทางการหายใจ ปกติผิวหนังมีชั้นไขมันที่ทำหน้าที่ป้องกันการดูดซึมสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
3.ทางการกิน (Ingestion) ผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ มีโอกาสได้รับสารเคมีเข้าสู่ ร่างกายโดยการกินค่อนข้างน้อย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่น การต้มบะหมี่สำเร็จรูปรับประทานหรือ การดื่มน้ำระหว่างที่ปฏิบัติงานหรือมีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี
1.ทางการหายใจ (Inhalation) ผู้ประกอบอาชีพมีโอกาสได้รับสารเคมีเข้าสู่ ร่างกายทางการหายใจมากที่สุด เพราะอนุภาคของสารเคมีที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน จะเข้าสู่ ระบบทางเดินหายใจและเข้าสู่ถุงลมปอดได้
กระบวนการพิษจลนศาสตร์กับงานอาชีวอนามัยซึ่งเป็นการศึกษาถึงกระบวนการหลัก 5 อย่าง
2.การกระจายตัว (Distribution)หลังจากสารพิษถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตแล้ว ต่อไปจะมีการกระจายของสารพิษดังกล่าวไปตามกระแสโลหิตทั่วร่างกาย
3.การกักเก็บ (Storage)สารเคมีสามารถเข้าไปสะสมในพลาสมาจนกระทั่งถูกขับออก จากร่างกายได้
1.การดูดซึม (Absorption) สารเคมีจะถูกดูดซึมในร่างกายมนุษย์ได้3 ทาง เช่น ระบบทางเดินหายใจ ผิวหนังและระบบทางเดินอาหาร
4.การเปลี่ยนรูป
(Biotransformation)การ ย่อยสลายสารพิษอยู่ระหว่างขั้นตอนการดูดซึมของสารเคมีเข้าสู่ร่างกายครั้งแรกและขั้นตอนสุดท้าย คือ การขับถ่าย
5.การขับออก (Excretion) ของสารพิษ ร่างกายมนุษย์สามารถขับถ่ายสารเคมีออกจากร่างกายได้ โดยการกำจัดสารที่อยู่ในรูปที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว และกำจัดออกจากร่างกายในทางต่าง ๆ เช่น ไตตับ ทางเดินอาหาร เป็นต้น
ปฏิกิริยาจากสารพิษหลายชนิด การเกิดพิษในร่างกาย และกลไกการเกิดพิษ
การเกิดพิษในร่างกาย
การเกิดพิษอย่างกึ่งเรื้อรัง (Sub-chronic toxicity)เป็นอาการแสดงความเป็นพิษที่มนุษย์และสัตว์แสดงออกมาภายหลังได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายใน ระยะเวลา 1-3 เดือน
การเกิดพิษอย่างเรื้อรัง (Chronic toxicity)แสดงความเป็นพิษที่มนุษย์และสัตว์แสดงออกมา ซึ่งแสดงอาการภายหลังจากได้รับสารเคมีเข้าไปในปริมาณน้อยติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน
การเกิดพิษอย่างเฉียบพลัน (Acute toxicity)อาการที่แสดงความเป็นพิษในมนุษย์หรือสัตว์ เมื่อมนุษย์และสัตว์ได้รับสารพิษเข้าไปในปริมาณมากเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
กลไกการเกิดพิษ
การเกิดพิษระดับเซลล์สารเคมีที่ฟุ้งกระจายในสถานที่ทำงานเป็นอันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตในระดับเซลล์ได้โดยกลไกที่แตกต่างกัน
การเกิดพิษระดับอวัยวะภายในร่างกาย สารเคมีสามารถเกิดพิษต่ออวัยวะภายในร่างกาย โดยสามารถทำลายอวัยวะต่าง ๆ ได้
ปฏิกิริยาจากสารพิษหลายชนิด
การออกฤทธิ์แบบรวมฤทธิ์ (Additive effect) เป็นการตอบสนองของร่างกาย เมื่อ เกิดพิษจากสารพิษมากกว่า 1 ชนิด
การออกฤทธิ์แบบยับยั้งการออกฤทธิ์ (Antagonism effect)เป็นการตอบสนองของร่างกาย เมื่อ เกิดพิษจากสารพิษมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป
การออกฤทธิ์เสริมฤทธิ์กัน (Synergistic effect)เป็นการตอบสนองของร่างกายเมื่อ เกิดพิษ โดยพิษที่เกิดขึ้นจะมีมากกว่าผลรวมของการเกิดพิษของสารพิษแต่ละชนิด
การออกฤทธิ์แบเพิ่มศักยภาพการออกฤทธิ์ (Potentiation effect)ปฏิกิริยาของ สารเคมีจาการรับสัมผัสสารเคมีตัวหนึ่งซึ่งไม่มีพิษจึงไม่มีการออกฤทธิ์ใด ๆ ที่จะทำให้เกิดความเป็นพิษได้หากรับสารเคมีเพียงหนึ่งชนิด
การประยุกต์หลักการทางพิษวิทยาไปใช้ในงานอาชีวอนามัย
การตรวจวัดทางชีวภาพค่ามาตรฐานที่ใช้ในการในการเฝ้าระวังทางชีวภาพ คือ Biological Exposure Indices (BEI)ซึ่งเป็นค่าตัวชี้วัดในตัวอย่างที่เก็บมาจากตัวผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งใช้กับผู้ประกอบอาชีพ ที่ปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ระยะ 5 วันต่อสัปดาห์ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ สามารถจ าแนกได้ 3 ประเภท คือ
ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของผลกระทบต่อร่างกาย(Biomarker of effect)เป็นดัชนีที่ วัดผลลัพธ์ของการตอบสนองของร่างกายต่อสารพิษ
ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของความไว (Biomarker of susceptibility)เป็นตัวบ่งชี้ทาง พันธุกรรมซึ่งจะมีผลต่อความไวของการเกิดพิษจากการรับสัมผัสสารเคมีของแต่ละบุคคล
ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในการรับสัมผัส (Biomarker of exposure) เป็นตัวบ่งชี้ถึงการ รับสัมผัสสารเคมีจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ร่างกายเป็นวิธีที่นิยมใช้ประโยชน์มากที่สุด
การตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม ควรตรวจหาสารเคมีต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม เช่น การ ปนเปื้อนในดิน อากาศ น้ำ เป็นต้น
การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
1.การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (Qualitative RiskAssessment) มุ่งเน้นในการ อธิบายปรากฏการณ์เชิงสังคมศาสตร์และมานุษวิทยาประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
การหาโอกาสเกิดผลกระทบ
การหาระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพ
การหาระดับความรุนแรงของผลกระทบ
การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ Quantitative Risk Assessmentขั้นตอนการ ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
การประเมินขนาดสัมผัสกับการตอบสนอง (Dose –Response Assessment/ Toxicity Assessment) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดที่ประชากรได้รับและผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับ
การประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment) เป็นวิธีการประมาณหรือวัดขนาด ของสิ่งคุกคามที่บุคคล / ประชากร /ระบบนิเวศ
การระบุ/ประเมินสิ่งคุกคาม (Hazard Identification)เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาคำตอบว่า สิ่งที่คุกคามอยู่นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และสิ่งที่คุกคามมีผลเสียต่อสุขภาพ อนามัย หรือไม่
การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง (Risk Characterization) เป็นการอธิบาย พรรณนาถึงลักษณะธรรมชาติความเสี่ยง โดยบอกถึงขนาดและความไม่แน่นอน และสิ่งคุกคามนั้นมี โอกาสก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด