Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง - Coggle Diagram
โครงการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ความหมาย
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) คือความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจธรรมชาติที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านซึ่งมีพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 326 ล้านคน โดยกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งแผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเมื่อปี 2535 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมรประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันโดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า
สนับสนุนการจ้างงานและยกระดับความเป็ยอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น
ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างกัน
ส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถรวมทั้งโอกาศทางเศรษฐกิจในเวทีการค้าโลก
สนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกัน
วิสัยทัศน์
ความเป็นอีนหนึ่งอันเดียว ความปรองดองและความมั่งคั่งของอนุภูมิภาค รวมถึงความพยายามในการลดปัญหาความยากจนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกัน
หัวใจสำคัญ
การเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสินค้าในลุ่มแม่น้ำโขงผ่านการสร้างเส้นทางคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น
การดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงานโครงการที่มีความสำคัญของอนุภูมิภาคในหลากหลายสาขา เพื่อสร้างอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการและเป็นหนึ่งเดียวกัน มีความมั่งคั่งตามวิสัยทัศน์ โดยแผนงาน GMS ได้กำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันไว้ 3 ด้าน ดังนี้
'
Connectivity สร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันให้มากขึ้นผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกานภาพที่ยั่งยืนและยกระดับเครือข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งให้เป็นแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors)
Competitiveness เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันผ่านการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้คนและสินค้าข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการบูรณาการของตลาดกระบวนการผลิต และห่วงโซ่คุณค่า
Community สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนผ่านโครงการและแผนงานที่ตอบสนองต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
การประชุมครั้งล่าสุดของ GMS
1.วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเจ้าหน้าที่ไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี แผนงาน GMS ครั้งที่ 24 (24th GMS Ministerial Conference) ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้หัวข้อหลักคือ “มุ่งปูทางเพื่อการบูรณาการที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อความยั่งยืน และความเจริญมั่งคั่งในอนุภูมิภาค GMS” ซึ่งกระทรวงการคลัง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) โดยมี นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะประธานการประชุมเพื่อการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจ แผนงาน GMS ครั้งที่ 11 (11th GMS Economic Corridor Forum) ได้รายงานความสำเร็จของการประชุมดังกล่าว ในโอกาสนี้ด้วย
2.ในโอกาสนี้ รมช. ถาวรฯ เน้นย้ำเจตนารมณ์ของไทยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไทยได้ลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร โครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน วงเงิน 50,633 ล้านบาท เพื่อยกระดับให้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (NSEC)
3.นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รมช. ถาวรฯ เร่งให้ภาครัฐเห็นความสำคัญในเรื่องการอำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ภายใต้ความตกลงการอำนวยความสะดวกคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดนใน GMS หรือความตกลง CBTA โดยเฉพาะเร่งปรับปรุงกฎระเบียบการดำเนินงานในด่านพรมแดน และโลจิสติกส์ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ และเป็นการปูทางให้พวกเขาสู่การเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าโลกต่อไป
สาขาความร่วมมือ
โครงการ GMS เป็นความร่วมมือของ 6 ประเทศไทย พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีน
มี 9 สาขา ได้แก่ คมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
แผนงาน
แผนการพัฒนาเศรษฐกิจเหนือ-ใต้)
แผนงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก- ตะวันตก
แผนการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้
แผนการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม
แผนงานซื้อ-ขายไฟฟ้าและการเชื่อมโยงเครือข่ายส่งไฟฟ้า
แผนงานการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนข้ามพรมแดน
แผนงานพัฒนาทรัพยาการมนุษย์และทักษะความชำนาญ
แผนงานเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน
กรอบกลยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม
แผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยว