Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนการจัดการเรียนรู้ - Coggle Diagram
แผนการจัดการเรียนรู้
บทที่ 7
การเขียนรายละเอียดในองค์ประกอบ
ของแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนส่วนหัวเรื่อง
(Heading)
เป็นส่วนแรกของแผนการจัดการเรียนรู้
บอกรายละเอียดเบื้องต้นของแผนการจัดการเรียนรู้
แนวการเขียน
ระบุลำดับที่ของแผนการจัดการเรียนรู้
ระบุกลุ่มสาระการเรียนรู้
ระบุระดับชั้นที่สอน
ระบุหัวข้อเรื่อง
ระบุเวลาที่ใช้จัดการเรียนรู้
ระบุวันที่ เดือน ปี
และช่วงเวลาในการจัดการเรียนรู้
การเขียนสาระสำคัญ
(Concept)
ข้อความที่เขียนเพื่อระบุให้เห็นแก่น หรือข้อสรุป
ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจาก
การเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งด้านเนื้อหาความรู้
ด้านทักษะ หรือด้านเจคติ
เป็นคำที่ใช้ในความหมายเดียวกับ สังกัป
ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ และมโนมติ
ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือความนิยมใช้
แนวการเขียน
เขียนในลักษณะของการสรุปความรู้ ทักษะ หรือเจตคติ
ที่เป็นเป้าหมาย ด้วยภาษาที่รัดกุมและชัดเจน
เขียนในลักษณะความเรียงหรือเขียนเป็นข้อ
ในกรณีที่มีการจัดการเรียนรู้ครั้งนั้น
มีมากกว่า 1 สาระสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต้น ๆ
ควรมีสาระสำคัญเดียวในการจัดการเรียนรู้ครั้งหนึ่ง
การเขียนจุดประสงค์
การเรียนรู้ (Objective)
ข้อความที่ระบุลักษณะด้านเนื้อหาความรู้ (Knowledge)
ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (Attitude)
และด้านทักษะกระบวนการ (Process) ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ลักษณะ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Behavioral Objective)
จุดประสงค์ที่บ่งชี้ถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถแสดงออก
หลังจากที่ได้เรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูกำหนดไว้
พฤติกรรมดังกล่าวจะต้องสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน
ประกอบด้วย
สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่ครูตั้งขึ้น
(Condition)
พฤติกรรมของนักเรียนที่ครูคาดหวังให้แสดงออกมา
(Terminal Behavior)
เกณฑ์ของระดับความสามารถของพฤติกรรม
ที่นักเรียนแสดงออก (Criteria)
จุดประสงค์ปลายทาง
และจุดประสงค์นำทาง
ข้อความที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ หรือแต่ละเรื่อง
ลักษณะของจุดประสงค์ปลายทางจะเป็นจุดประสงค์ที่ไม่เฉพาะเจาะจง
ถึงรายละเอียดของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก
จุดประสงค์ย่อยที่แตกออกจากจุดประสงค์ปลายทาง เพื่อแสดง
ให้เห็นพฤติกรรมที่คาดหวังให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อผู้เรียน
แสดงพฤติกรรมได้ตามที่กำหนดไว้ ก็จะบรรลุเป้าหมาย
ของจุดประสงค์ปลายทาง นิยมเขียนในรูปแบบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แนวการเขียน
เขียนให้สัมพันธ์กับสาระสำคัญ
เขียนให้ครอบคลุมทั้งด้านเนื้อหาความรู้ (K)
ด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ (A)
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
เขียนให้เห็นรายละอียดของพฤติกรรม
ที่สามารถวัดและสังเกตได้
เขียนด้วยภาษาที่รัดกุม ชัดเจน และสื่อความได้ดี
หากมีจุดประสงค์ข้อเดียวไม่ต้องใส่ลำดับเลขหัวข้อ
การเขียนเนื้อหา
(Content)
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ครูผู้สอนเห็นภาพของสิ่ง
ที่จะต้องสอนโดยรวม อาจประกอบด้วยทฤษฎี
หลักการ วิธีการ ขั้นตอน หรือแนวปฏิบัติ
แนวการเขียน
เขียนให้สอดคล้องกับสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้
กำหนดเนื้อหาของการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง
ให้เหมาะสมกับระยะเวลา วัย และความสามารถของผู้เรียน
เขียนนื้อหาแบบย่อโดยสรุปเป็นหัวข้อ หรือประเด็น
หากมีเนื้อหามาก ให้ทำเป็นใบความรู้ระบุไว้ในภาคผนวก
ท้ายแผนการจัดการเรียนรู้
เขียนเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนเรียนรู้ไว้ตามลำดับ
หากแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ ควรแบ่งเพื่อความชัดเจน
การเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
(Activities)
สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
หรือจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด การออกแบบ
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
เนื้อหา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ จึงเป็นความสามารถ
และทักษะของครูผู้สอนมืออาชีพ
คุณลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา
ฝึกกระบวนการที่สำคัญให้กับผู้เรียน
กระบวนการเรียนรู้ตามหลักจิตวิทยา
กระบวนการของศาสตร์ต่าง ๆ
ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
เหมาะสมกับธรรมชาติและวัยของผู้เรียน
เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชีวิตจริง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบและสร้างความรู้ด้วยตนเอง
(Construct)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิด ทำ และแสดงออก
(Performance)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกลุ่ม
(Interaction)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติอย่างมีขั้นตอน
หรือเป็นกรับวนการ(Process)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีผลงานจากการปฏิบัติ
(Product)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
ในการประเมินตนเองและเพื่อน (Assessment)
ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(Application)
แนวการเขียน
เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
และเนื้อหา วิธีการการและการปฏิบัติ
เขียนเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้
หรือเขียนโดยแบ่งเป็นขั้น
เขียนโดยระบุให้รู้ว่ากิจกรรมการเรียนรู้แต่ละขั้น
ใครเป็นผู้มีบทบาท ผู้เรียน ครูผู้สอน
หรือทั้งผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันกระทำ เป็นต้น
ไม่ควรระบุรายละเอียดของคำพูด
ทั้งคำพูดของผู้สอนและผู้เรียน
วิธีการวิเคราะห์และแปลผล
กิจกรรมการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รวมคะแนนในบรรทัดสุดท้ายช่องขวาสุด
ของตาราง
นำคะแนนรวมมาคำนวณหาค่าร้อยละ
โดยใช้สูตร
แปรผลจากค่าร้อยละที่คำนวณได้
การเขียนสื่อการเรียนรู้
(Material & Media)
สิ่งที่เป็นตัวกลาง ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนวการเขียน
ระบุชื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
ระบุเฉพาะสื่อที่ใช้จริงในการจัดการเรียนรู้
ระบุชนิดและรายละเอียดของสื่อการเรียนรู้
กรณีที่เป็นสื่อที่ใช้เพื่อทำกิจกรรมเป็นรายกลุ่ม
หรือรายบุคคล ให้ระบุจำนวนชิ้นต่อกลุ่ม
หรือต่อรายบุคคล
ไม่ควรระบุสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างถาวรในห้องเรียน
ว่าเป็นสื่อการเรียนรู้
การเขียนวิธีวัด
และประเมินผลการเรียนรู้
(Assessment)
เป็นการกระทำเพื่อตรวจสอบว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่
การวัดเป็นการเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้เครื่องมือและวิธีการต่าง ๆ
ส่วนการประเมินผลเป็นการกำหนดค่าหรือตัดสินสิ่งที่วัด
แนวการเขียน
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
ระบุวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ว่าจะใช้วิธีการใดบ้าง
ระบุเนื้อหาที่ต้องการวัดและประเมินผล
บทที่ 6
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมาย
การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า
อย่างเป็นระบบและเป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
จัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดสาระการเรียนรู้หนึ่ง
ให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด
ระดับ
ระดับหน่วยการเรียน
(Unit Plan)
ระดับบทเรียน
(Lesson Plan)
ประโยชน์
เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของ
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
เพื่อให้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
และความต้องการของผู้เรียน
เพื่อให้สามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
และแหล่งการเรียนรู้ให้พร้อม
ก่อนทำการสอนจริง
เพื่อให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจ
และเชื่อมั่นในการเรียนรู้
เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้
จากข้อจำกัดที่พบ
เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับการพิจารณาผลงาน
และคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาีพของครูผู้สอน
(แผนการจัดการเรียนรู้เป็นลักษณะเฉพาะของวิชาชีพครู)
องค์ประกอบ
หัวเรื่อง
(Heading)
สาระสำคัญ
(Concept)
จุดประสงค์การเรียนรู้
(Objective)
เนื้อหา
(Content)
กิจกรรมการเรียนรู้
(Activities)
สื่อการเรียนรู้
(Material & Media)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
(Assessment)
รูปแบบ
แผนการจัดการเรียนรู้
แบบบรรยายหรือแบบเรียงหัวข้อ
แผนการจัดการเรียนรู้แบบตาราง
ลักษณะ
กิจกรรมให้ผู้เรียนคิดและลงมือปฏิบัติให้มากที่สุด
กิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบ
และสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมที่เน้นกระบวนการ มุ่งให้ผู้เรียนรับรู้
และนำกระบวนการไปใช้จริง
กิจกรรมที่บูรณาการทั้งความรู้ (K)
คุณธรรมจริยธรรม สร้างจิตสำนึกต่อสังคม (A)
และทักษะกระบวนการ (P)
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการใช้
สื่อการเรียรู้อย่างหลาหลาย ทั้งนี้ รวมถึงแหล่งเรียนรู้
ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างผลงานจากการปฏิบัติ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
กิจกรรมที่พัฒนาความสามารถเฉพาะบุคคล
กิจกรรมที่พัฒนาทักษะในการใช้ภาษา