Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pender's Health Promotion Model - Coggle Diagram
Pender's Health Promotion Model
ประวัติผู้พัฒนาทฤษฎี
ดร. โนลา เจ เพนเดอร์ (Pender,Nola J.)
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1941 ที่ Lansing รัฐ Michigan
เรียนที่ West Suburban Hospital รัฐ Illinoisได้รับ Diploma
ในปี ค.ศ. 1962 และเริ่มงานที่หอผู้ป่วยอายุรกรรม – ศัลยกรรมที่โรงพยาบาล Michigan
จบปริญญาโทด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์
จบปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาที่ Northwestern University ที่ Evanstion Illinois
ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของเด็กที่มีปัญหาความจำระยะสั้น
ค.ศ. 1982 มีตีพิมพ์หนังสือ Health Promotion in Nursing Practice เป็นครั้งแรก และปรับปรุงอีกครั้งในปี ค.ศ.1987,1996 และในปี 2002
ข้อตกลงเบื้องต้นของทฤษฎี
(Assumptions of Health Promotion Model)
บุคคลหาวิธีการที่จะทำให้พฤติกรรมดำเนินไปอย่างดี
บุคคลมีความซับซ้อนในลักษณะร่างกาย อารมณ์ สังคม
บุคลากรทางสุขภาพเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลทุกช่วงชีวิต นั่นคือ พยาบาลหรือบุคคลากรทางสุขภาพเป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ
บุคคลมองคุณค่าของการเติบโตในทางบวกและพยายามที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย
บุคคลมีความสามารถสะท้อนการตระหนักรู้และการประเมินความสามารถของตน :รู้จุดอ่อน จุดแข็ง
การปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
บุคคลจะสร้างเงื่อนไขของการดำรงอยู่ :มนุษย์ทุกคนมีเป้าหมายสุขภาพที่ดี
การวางแผนส่งเสริมสุขภาพ
Planning/preparation (P): ขั้นวางแผน/เตรียมการ (ออกแบบแผนให้สอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์)
Action (A): ขั้นปฏิบัติ (นำแผนการส่งเสริมสุขภาพไปปฏิบัติแก่ผู้มารับบริการ)
Assess current stage of physical activity [Pre-contemplation (PC)]: ขั้นประเมินกิจกรรมทางกายในระยะปัจจุบัน (ก่อนการพิจารณา: PC)
Contemplation (C): ขั้นพิจารณา (พิจารณาปัญหาหรือความเสี่ยงของพฤติกรรมสุขภาพ ตั้งเป้าหมาย และเกณฑ์การประเมินผล)
Maintenance (M): ขั้นบำรุงรักษาไว้ (กระตุ้นพฤติกรรมในเชิงบวก ประเมินผลการคงอยู่และผลของการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แล้วนำไปปรับแผนการส่งเสริมสุขภาพ)
การพัฒนาทฤษฎี
Health Promotion Model
Health Promotion Model
ฉบับปี ค.ศ. 1987
การเห็นความสำคัญของสุขภาพ (Importance of health): บุคคลมองว่าสุขภาพคือสิ่งที่มีคุณค่าที่ควรแสวงหา
รับรู้ว่าสุขภาพสามารถควบคุมได้ (Perceived control of health) : บุคคลรับรู้และเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสุขภาพได้ตามต้องการ
รับรู้ความสามารถของตน (Perceive self – efficacy): บุคคลมีความเชื่อว่า พฤติกรรมสามารถเกิดได้ตามที่บุคคลกำหนด
คำจำกัดความของสุขภาพ: ตั้งแต่การไม่มีโรคจนถึงสุขภาพสูงสุดทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การรับรู้สภาวะสุขภาพ (Perceived health status): สามารถแยกได้จากพฤติกรรมสุขภาพ
การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม (Perceived benefits of behaviors): ถ้ารับรู้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพบุคคลจะเริ่มหรือทำต่อเนื่องในพฤติกรรมนั้น ๆ
การรับรู้ถึงอุปสรรคของพฤติกรรม (Perceived barriers to health promoting behaviors): ถ้าบุคคลรับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นยากลำบากจะทำให้มีความตั้งใจลดลง
องค์ประกอบอื่น เช่น อายุ เพศสภาพ การศึกษา รายได้ น้ำหนัก แบบแผน สุขภาพของครอบครัว การคาดการณ์ เป็นเพียงผลโดยอ้อมในกระบวนการคิด
Health Promotion Model
ฉบับปี ค.ศ.1996 ปรับปรุงใหม่
พฤติกรรมเดิม (Prior related behavior) คือ พฤติกรรมที่มีผลโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการรับรู้ถึงความสามารถของตน
กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความรู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ (Activity-related affect) พฤติกรรมบางอย่างมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและโดยอ้อมถึงการรับรู้ใน ความสามารถของตน
การยึดมั่นต่อแผนปฏิบัติ (Commitment to a plan of action) เป็นแผนกลยุทธ์ที่เป็นเหตุนำมาซึ่งความตั้งใจที่จะเป็นแผนในการปฏิบัติซึ่งเกิดขึ้นเองหรือบุคคลอื่นมีส่วนรับรู้
ความต้องการ ความชอบที่เกิดขึ้นแทรกทันที (Immediate competing demands and preferences) ความต้องการที่จะปฏิบัติที่อาจไม่สำเร็จ เพราะไม่สามารถจัดการกับสิ่งแวดล้อมได้ ความชอบเป็นสิ่งที่มีพลังสำคัญต่อการเลือกปฏิบัติ
คำอธิบายแบบจำลองส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
คุณลักษณะของบุคคลและประสบการณ์ของบุคคล (Individual characteristics and experiences)
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal factor/influence):สังคมและวัฒนธรรม (Socioculture)จิตวิทยา (Psychological) ชีววิทยา (Biological)
1.1 พฤติกรรมเดิมที่เกี่ยวข้อง (Prior related behavior) พฤติกรรมเดิมเป็นผลทั้งโดยตรงและโดยอ้อมในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ
การคิดรู้และอารมณ์ที่จำเพาะต่อพฤติกรรม (Behavioral specific cognitions and affect)
2.1 การรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติ (Perceived benefits of action)
2.2 การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ (Perceived barriers to action)
2.3 การรับรู้ความสามารถของตน (Perceived Self – Efficacy)
2.5 อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal influences)
2.7 ความยึดมั่นต่อแผนปฏิบัติ (Commitment to a plan of action)
2.4 กิจกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (Activity – related affect)
2.6 อิทธิพลของสถานการณ์ (Situational influences)
ผลลัพธ์ของพฤติกรรม (Behavioral Outcome) เป็นผลจากความเกี่ยวเนื่องจาก 2 ส่วนคือ คุณลักษณะของบุคคล และประสบการณ์
3.1ความต้องการและความชอบที่เกิดขึ้นขณะนั้น (Immediate Competing Demands and Preferences)
3.2 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health promoting behavior)