Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎระเบียบและจรรยาบรรณในธุรกิจ - Coggle Diagram
กฎระเบียบและจรรยาบรรณในธุรกิจ
แนวคิดทางด้านจรรยาบรรณและศีลธรรม
“จริยธรรม” เป็นคำที่ยังไม่มีใครสามารถก าหนดได้ว่าสิ่งใดถูกจริยธรรม สิ่งใดผิดจริยธรรม ซึ่งนำมาซึ่งสภาวะที่เรียกว่าความคับข้องทางจริยธรรม (Ethical Dilemma) เป็นภาวะที่ต้องเผชิญกับทางเลือกหรือพฤติกรรมที่ไม่ว่าจะเลือกทางหนึ่งทางใดล้วนสร้างความลำบากใจให้กับผู้ตัดสินใจทั้งสิ้น
อาศัยหลักเพื่อการตัดสินใจเชิงจริยธรรม 4
หลักความยุติธรรม (Justice Approach)
หลักสิทธิส่วนบุคคล (Moral-Rights Approach)
หลักปัจเจกนิยม (Individualism Approach)
หลักอรรถประโยชน์ (Utilitarian Approach)
จรรยาบรรณในองค์การ การกำกับดูแลกิจการ (บรรษัทภิบาล)
จรรยาบรรณ นั้นควรจะต้องเกิดขึ้นกับทุกคนในองค์การ ไม่ใช่จะต้องให้เกิดขึ้น
เพียงแต่เฉพาะผู้บริหาร หรือพนักงานเพียงอย่างเดียว หากจะต้องเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน
แบ่งสาระสำคัญของบรรษัทภิบาลออกเป็น 5 หมวด
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
กำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance - CG) หรือบรรษัทภิบาล มาจากคำว่า บรรษัท + อภิ(แปลว่า เฉพาะ ข้างหน้า ยิ่ง) + บาล (แปลว่า การปกครอง การรักษา)
หมายถึง การกำกับดูแลกิจการให้เจริญรุดหน้าอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเงื่อนไขของความ
ถูกต้องโปร่งใสการมีจริยธรรมที่ดีโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียในกิจการเป็นหลักส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับองค์การธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ
การดำเนินธุรกิจควรอยู่บนพื้นฐานของการไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นหรือแสวงหา
ผลกำไรจนเกิดควรจากการเบียดเบียนประโยชน์ของสังคม โดยไม่ค านึงถึงผลกระทบที่
อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตตามมาตลอดจนให้คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในธุรกิจอย่างประหยัด
และอย่างมีคุณภาพ
รู้จักความรับผิดชอบต่อสังคมของธรุกิจ
โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่คุ้นชินกับคำว่า บรรษัทบริบาล กันนัก
หากแต่จะคุ้นกับคำว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ หรือ Corporate Social
Responsibility: CSR”
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ
กลุ่มผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับธุรกิจโดยตรง
กลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยอ้อม
แนวทางการนำ CSR มาประยุกต์ใช้ควบคู่กับธรุกิจสามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้น
ขั้นที่ 1 mandatory level: ข้อก าหนดตามกฎหมาย (legislation)
ขั้นที่ 2 elementary level: ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (economic profit)
ขั้นที่ 3 preemptive level: จรรยาบรรณทางธุรกิจ (business code of
conduct)
ขั้นที่ 4 voluntary level: ความสมัครใจ (voluntary action)
สำหรับแนวปฏิบัติในเรื่อง CSR สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แบ่งได้เป็น 8 หัวข้อ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
การเคารพสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
การร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมให้เกิดความเข้มแข็ง
การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมและการเผยแพร่นวัตกรรมจากการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม
การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม