Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้สูงอายุชุมชน - Coggle Diagram
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้สูงอายุชุมชน
1.มีความวิตกกังวลเนื่องจากมีอาการเจ็บตึงบริเวณหน้าอก
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า "อ้วนขึ้น น้ำหนักขึ้น 2 โล"
"เจ็บตึงหน้าอก"
O : -ผ่าตัดมะเร็งเต้านมข้างซ้ายมาประมาณ 10 ปี
-ผู้สูงอายุมีสีหน้าและน้ำเสียงวิตกกังวล
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
ลดความวิตกกังวลของผู้ปวย
เป้าหมายระยะยาว
เน้นการรู้ถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
รู้จักวิธีการลดความวิตกกังวล
ลดความถี่การเกิดความวิตกกังวล
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวลของตนเองกับพยาบาล
2.ค้นหาวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวลที่ตนเองชอบ และนำวิธีผ่อนคลายไปใช้
3.สังเกตอาการของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับตนเองว่ามีอาการใดบ้าง
4.สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหน้าอกของตนเอง
5.รับประทานอาหารต้านมะเร็งเต้านมตามคำแนะนำของพยาบาล
6.ตรวจมะเร็งเต้านมของตนเองเป็นประจำทุกเดือนและวันเดียวกันทุกเดือน
7.ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุไม่มีอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล ไ
-ผู้สูงอายุสามารถอธิบายวิธีผ่อนคลายที่ตนสนใจได้
-สามารถบอกได้ว่าตนเองมีความวิตกกังวลจากสาเหตุอะไร
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินระดับความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ
2.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ
3.แนะนำวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวลแก่ผู้สูงอายุ
4.แนะนำวิธีการร่วมพูดคุยปัญหากับบุคคลที่ผู้สูงอายุไว้วางใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบายปัญหา
5.แนะนำญาติในการสังเกตความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และพูดคุยเพื่อให้ผู้สูงอายุระบายความวิตกกังวล
6.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับอาการเจ็บตึงหน้าอก
7.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารต้านมะเร็งเต้านม
9.แนะนำผู้สูงอายุเกี่ยวกับวิธีการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง โดยตรวจเป็นประจำทุกเดือนและควรตรวจวันเดียวกัน
10.แนะนำผู้สูงอายุไปพบหมอเพื่อตรวจตามนัดทุกครั้ง
กิจกรรมของญาติ
1.สังเกตอาการวิตกกังวลของผู้สูงอายุ
2.สอบถามและพูดคุยเกี่ยวกับปัญหากับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบายความรู้สึก
3.กระตุ้นและดูแลผู้สูงอายุให้ได้รับประทานอาหารต้านมะเร็งเต้านมตามคำแนะนำของพยาบาล
4.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุตรวจมะเร็งเต้านมของตนเองเป็นประจำทุกเดือนและวันเดียวกันทุกเดือน
5.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป้วยไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
4.มีความวิตกกังวลเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ
2.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ
3.แนะนำวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวลแก่ผู้สูงอายุ
4.แนะนำวิธีการร่วมพูดคุยปัญหากับบุคคลที่ผู้สูงอายุไว้วางใจ
5.แนะนำญาติในการสังเกตความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และพูดคุยเพื่อให้ผู้สูงอายุระบายความวิตกกังวล รวมทั้งให้กำลังใจผู้สูงอายุ
6.ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการประเมิน BMI ของตนเอง
7.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร โดยให้ผู้สูงอายุแบ่งอาหารเป็น 4-5 มื้อต่อวัน โดยเพิ่มมื้อสายและบ่าย
8.แนะนำผู้สูงอายุในการรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการสารอาหารตามวัยของผู้สูงอายุ
9.แนะนำผู้สูงอายุในการดื่มน้ำ ไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิลิตรต่อวัน
10.แนะนำญาติในการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารตามคำแนะนำของพยาบาล
11.แนะนำผู้สูงอายุให้มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
12.แนะนำญาติและผู้สูงอายุในการจัดสิ่งแวดล้อมในการรับประทานอาหาร ให้อากาศถ่ายเท ไม่มีสิ่งปฏิกูลบริเวณที่รับประทานอาหารเพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุอยากรับประทานอาหารมากขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
-MNA = 24-30 (มีภาวะโภชนาการปกติ)
-ผู้สูงอายุไม่มีอาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล
-ผู้สูงอายุสามารถอธิบายวิธีผ่อนคลายที่ตนสนใจได้
-สามารถบอกได้ว่าตนเองมีความวิตกกังวลจากสาเหตุอะไร
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.ร่วมกันค้นหาสาเหตุของความวิตกกังวลของตนเองกับพยาบาล
2.ค้นหาวิธีผ่อนคลายความวิตกกังวลที่ตนเองชอบ และนำวิธีผ่อนคลายไปใช้
3.สังเกตอาการของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับตนเองว่ามีอาการใดบ้าง
4.แบ่งการรับประทานอาหารเป็น 4-5 มื้อ และตามความต้องการของร่างกายตนเอง ตามคำแนะนำของพยาบาล
5.ประเมิน BMI ของตนเอง ทุกเดือน
6.ดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิลิตรต่อวัน
7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
-เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ
เป้าหมายระยะยาว
-ผู้สูงอายุสามารถคำนวณBMI ของตนเองได้
-ผู้สูงอายุรับประทานอาหารตามความต้องการของร่างกายตนเองได้
กิจกรรมของญาติ
สังเกตอาการของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุว่ามีอาการใดบ้าง
2.ดูแลแบ่งการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุเป็น 4-5 มื้อ และตามความต้องการของร่างกายผู้สูงอายุ
3.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุประเมิน BMI ของตนเอง ทุกเดือน
4.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิลิตรต่อวัน
5.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ใส่เสื้อผ้า แล้วอึดอัด” “น้ำหนักขึ้น 2โล”
O :
-ผู้สูงอายุมีการพูดวนซ้ำๆเรื่องน้ำหนักขึ้น 2 กิโลกรัม และพูดว่าตนเองอ้วน
แบบประเมิน MNA = 25 คะแนน (มีภาวะโภชนาการปกติ)
2.การนอนหลับไม่มีคุณภาพเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ
2.ให้คำแนะนำผู้สูงอายุในการนอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวัน
3.แนะนำผู้สูงอายุไม่ให้งีบหลับในช่วงหลัง 15.00 น. หากง่วงมาก สามารถงีบหลับตอนกลางวันได้ไม่เกิน 60 นาที
4.แนะนำผู้สูงอายุและญาติให้จัดสิ่งแวดล้อมการนอนให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีแสงสว่างมากจนเกินไป
5.แนะนำผู้สูงอายุให้สวมเสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย ในการนอน
6.แนะนำผู้สูงอายุหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำก่อนนอน
7.แนะนำผู้สูงอายุไม่ให้ดื่มน้ำมากในตอนเย็นและค่ำ และให้การขับถ่ายก่อนเข้านอน
8.แนะนำผู้สูงอายุ หากมีอาการนอนไม่หลับอาจมีการดื่มนมอุ่น หรือโอวัลตินก่อนนอนประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้สูงอายุหลับง่ายขึ้น
9.แนะนำผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เพราะจะทำให้มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด
10.แนะนำผู้สูงอายุให้ทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือออกกำลังกลางแจ้ง
11.แนะนำผู้สูงอายุว่าหากผู้สูงอายุทำกิจกรรมข้างต้นแล้วยังมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยากให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือทำการรักษา
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้สูงอายุสามารถอธิบายถึงสาเหตุของอาการนอนหลับยากได้
ผู้สูงอายุสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
PSQI ≤ 5 คะแนน (ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับดี)
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.นอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวัน
2.นอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
3.ไม่งีบหลับในช่วงหลัง 15.00 น.
4.จัดสิ่งแวดล้อมการนอนให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีแสงสว่างมากจนเกินไป
5.สวมเสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย ในการนอนหลับ
6.ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอน
7.ไม่ดื่มน้ำมากในตอนเย็นและค่ำ และขับถ่ายก่อนเข้านอน
8.หากมีอาการนอนไม่หลับอาจมีการดื่มนมอุ่น หรือโอวัลตินก่อนนอนประมาณ 2 ชั่วโมง
9.หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
10.ทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือออกกำลังกลางแจ้ง เช่น การเดินรอบบ้านในตอนเช้าช่วง 8.00 - 9.00 น.
11.ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือทำการรักษา หากตนทำกิจกรรมข้างต้นแล้วยังมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในการหลับ”
“มีเสียงมอเตอร์ไซค์แกร๊บ ดัง บางครั้ง”
“ลุกฉี่กลางคืน 1-2 ครั้ง ตอนเที่ยงคืน ตี1”
O :
นอนหลับ 8 ชั่วโมง
แบบประเมิน PSQI = 6 คะแนน(ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี)
แบบประเมิน ST-5 = 0 คะแนน(มีความเครียดน้อย)
แบบประเมิน MMSE = 24 คะแนน (ไม่มีความเสี่ยงของสมองเสื่อม)
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะยาว
-ผู้สูงอายุมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น
เป้าหมายระยะสั้น
-เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าใจถึงอาการหลับยากของตนเอง
กิจกรรมของญาติ
1.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุนอนและตื่นให้ตรงเวลาทุกวัน
2.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
3.ดูแลผู้สูงอายุไม่ให้งีบหลับในช่วงหลัง 15.00 น.
4.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมการนอนให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีแสงสว่างมากจนเกินไป
5.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุสวมเสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย ในการนอนหลับ
6.ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนนอนร่วมกันกับผู้สูงอายุ
7.ดูแลผู้สูงอายุไม่ให้ดื่มน้ำมากในตอนเย็นและค่ำ และให้ขับถ่ายก่อนเข้านอน
8.ดูแลผู้สูงอายุ หากมีอาการนอนไม่หลับอาจมีการดื่มนมอุ่น หรือโอวัลตินก่อนนอนประมาณ 2 ชั่วโมง
9.ดูแลให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
10.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือออกกำลังกลางแจ้ง เช่น การเดินรอบบ้านในตอนเช้าช่วง 8.00 - 9.00 น.
11.พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือทำการรักษา หากทำกิจกรรมข้างต้นแล้วยังมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับยาก
3.เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากต้องเดินขึ้นลงบันไดทุกวัน
เกณฑ์การประเมินผล
-แบบประเมินการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน ≤ 4 คะแนน
-ผู้สูงอายุไม่มีรอยแผลหรือรอยช้ำจากอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มโดยใช้แบบประเมินการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน
2.ให้ความรู้กับผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักต่อความเสี่ยงและลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการพลัดตกหกล้ม
3.แนะนำผู้สูงอายุให้ถูพื้นด้วยน้ำเปล่าและเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการลื่นล้มบนพื้น
4.แนะนำผู้สูงอายุให้ลุกนั่งช้าๆ เพื่อป้องกันอาการหน้ามืดและการหกล้ม
5.แนะนำผู้สูงอายุไม่ให้ใส่รองเท้าหรือรองเท้าที่มีพื้นลื่น เพื่อป้องกันการลื่นล้มบนพื้น
6.แนะนำผู้สูงอายุเกี่ยวกับการจัดที่นอนให้อยู่ชั้นล่าง เพื่อลดจำนวนครั้งการขึ้นลงบันไดของผู้สูงอายุ
7.แนะนำผู้สูงอายุและญาติจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ให้จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่วางสิ่งของขวางทางเดิน และมีแสงสว่างเหมาะสม
8.แนะนำผู้สูงอายุตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี และสังเกตตนเองเกี่ยวกับการมองเห็น
9.แนะนำผู้สูงอายุตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ
10.แนะนำผู้สูงอายุให้ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
11.แนะนำผู้ป่วยรับประทานแคลเซียมตามคำสั่งของแพทย์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันผู้สูงอายุ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
-เพื่อลดความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
เป้าหมายระยะยาว
-เพื่อให้ผู้สูงอายุไม่มีการพลัดตกหกล้ม
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.ลุกนั่งช้าๆ เพื่อป้องกันอาการหน้ามืดและการหกล้ม
2.ไม่ใส่รองเท้าหรือรองเท้าที่มีพื้นลื่น
3.จัดที่นอนให้อยู่ชั้นล่าง เพื่อลดจำนวนครั้งการขึ้นลงบันได
4.จัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ให้จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ ไม่วางสิ่งของขวางทางเดิน และมีแสงสว่างเหมาะสม
5.ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี และสังเกตตนเองเกี่ยวกับการมองเห็น
6.ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ
7.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
8.รับประทานแคลเซียมตามคำสั่งของแพทย์ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันผู้สูงอายุ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า
“ใช้น้ำยาถูพื้นลื่น ใส่ถุงเท้า ลื่นตรงบันได แต่จับราวไว้ทำเลยไม่ตก”
“ห้องนอนอยู่ชั้น 2 ขึ้นลงบันไดทุกวัน วันละเป็น10ครั้ง”
“ปวดตรงสะโพกและต้นขาหลังลื่นตรงบันได แต่หายแล้ว”
O :
-แบบประเมิน Chula ADL = 9 คะแนน (มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมาก)
-แบบประเมินความปวดNRS = 3 คะแนน (ปวดเล็กน้อยพอทนได้)
-แบบประเมินพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ Fall risk= 1.5 (ความเสี่ยงระดับ1)
-ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเป็นเป็นโรคกระดูกพรุน
-มวลbone -2.5
-มีเสียงดังกรอบแกรบบริเวณเท้าเวลาเดิน
-ได้รับยาคลายกล้ามเนื้อ
-ได้รับยาแก้ปวด
-ผู้สูงอายุสวมแว่น สายตายาว
กิจกรรมของญาติ
1.ดูแลจัดที่นอนผู้สูงอายุให้อยู่ชั้นล่าง เพื่อลดจำนวนครั้งการขึ้นลงบันไดของผู้สูงอายุ
2.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ให้จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ
ไม่วางสิ่งของขวางทางเดิน และมีแสงสว่างเหมาะสม
3.ดูแลและพาผู้สูงอายุไปตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี
4.ดูแลและพาผู้สูงอายุไปตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ
5.ดูแลและพาผู้สูงอายุไปออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง
6.ดูแลและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับประทานแคลเซียม
ตามคำสั่งของแพทย์