Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 ความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ…
บทที่ 2 ความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ และปฏิบัติการพยาบาล
สรุป
นักศึกษา พยาบาลควรมีทักษะด้านความคิด
สร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการ แก้ไขปัญหาที่ดี เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลให้พยาบาลหาแนวทางพัฒนานวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา้านสุขภาพ การบริการที่ดีให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการต่อไป
นวัตกรรมทางการพยาบาล
นวัตกรรมทางการพยาบาล คือ กระบวนการ ผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ได้สร้างขึ้นใหม่รวมทั้งเป็นการพัฒนาปรับปรุง ดัดแปลงนวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวิชาชีพได้ (กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, 2554) นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (จุฑารัตน์ บันดาลสิน,
2557) ดังต่อไปนี้
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ หมายถึง ที่สิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการให้การบริการ เช่น นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ, นวัตกรรมบาดแผลจำลองเพื่อฝึกทักษะการทำแผลของนักศึกษาพยาบาล
นวัตกรรมระบบบริการหรือกระบวนการบริการพยาบาล การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา นวัตกรรมทางการพยาบาล
ความสำคัญของนวัตกรรมใช้แนวคิดการ ปฏิบัติโดยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
(Evidence- Based Practice: EBP)
ขั้นตอนการสร้างนวัตกรรม นวัตกรรมทางการพยาบาล 5 ขั้นตอน ดังนี้
การตั้งคำถามทางคลินิก (Ask) โดยการตั้งคำถามทางคลินิก จะอยู่ในรูปแบบของ PICO
P = Population of interest เป็นการระบุกลุ่มประชากรที่สนใจศึกษาซึ่งเป็น ประชากรกลุ่ม
เดียวกับผู้ป่วยที่นักศึกษาได้รับ
I = Intervention or area of interest การระบุการช่วยเหลือ หรือกิจกรรมทางการพยาบาลที่้องการนำมาใช้ในการช่วยเหลือให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมาย หรือพื้นที่ที่สนใจ
C = Compare intervention or group เป็นการเปรียบเทียบการช่วยเหลือหรือ กิจกรรมการ
พยาบาลกับวิธีที่ต้องการน ามาใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการมอบหมาย
O = Outcome ผลที่ต้องการให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการช่วยเหลือหรือกิจกรรมการ พยาบาล
การสืบค้นเพื่อหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ดีที่สุด (Acquire) จากอินเตอร์เน็ตและวารสาร
การประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีวิจารณญาณ (Appraise) 3 คำถาม ได้แก่
ผลของการศึกษามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
อะไรคือผล ของการศึกษาและความสำคัญ
ผลของการศึกษาที่เกิดขึ้นช่วยในการดูแลผู้รับบริการหรือไม่
การบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์กับผู้เชี่ยวชาญ และบริบทความต้องการของ
ผู้รับบริการ (Apply)
การประเมินผลลัพธ์จากการปฏิบัติ (Analyze & Adjust)
เปรียบเทียบนวัตกรรมทั่วไปและนวัตกรรมทางการพยาบาล
นวัตกรรมทั่วไป
ปัญหา : ปัญหาที่เกิดขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไป
ราคา : ควรจะถูกกว่าเดิม
ความคงทน : คงทน
การนำไปใช้ : นำไปใช้ในสถานการณ์จริง
ความพึงพอใจ : มีความพึงพอใจ
นวัตกรรมทางการพยาบาล
ปัญหา : ปัญหาที่ต้องการด้านสุขภาพ การบริการ
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้รับบริการหรือระบบสุขภาพ
ราคา : ผู้รับบริการประหยัด เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
ความคงทน : ผู้รับบริการใช้ได้นาน
การนำไปใช้ : ผู้รับบริการนำไปใช้ในโรงพยาบาลและชุมชนได้
ความพึงพอใจ : มีความพึงพอใจ ในราคาถูก สะดวกในการใช้
การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จ มีกระบวนการ
ดังนี้ (จุฑารัตน์ บันดาลสิน, 2557; พรรณี บัญชรหัตถกิจ, 2555)
มองเห็นปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาลหรือบริหารจัดการงานบูรณาการพยาบาลที่มีอยู่เดิม เอาใจใส่ในสิ่งผิดปกติที่พบงานประจำ และสนใจค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประเมินความต้องการนวัตกรรม โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่าง ชัดเจน โดยใช้แนวทางวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา (Root cause analysis)
สร้างแนวร่วมและทีมงาน จากการพูดคุย บอกต่อ เพื่อค้นหาคนที่มีความสนใจ เหมือนกันร่วมงานกัน โดยอาจขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ
กำหนดประเด็น/หัวข้อที่ต้องการพัฒนานวัตกรรมให้มีความเฉพาะเจาะจงโดยประกอบด้วยนวัตกรรมที่สร้าง ระบุกลุ่มตัวอย่างที่นำนวัตกรรมไปใช้ในการแก้ปัญหา และผลลัพธ์ที่ต้องการประเมิน
ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาบูรณาการในการ วางแผนออกแบบนวัตกรรมทางการพยาบาล
ออกแบบนวัตกรรมทางการพยาบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปฏิบัติพยาบาล และการแก้ปัญหา
กำหนดวิธีวัดให้มีประสิทธิภาพของนวัตกรรม ส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูล เชิงปริมาณ
กำหนดวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง
ทดลองใช้นวัตกรรมในหน่วยงานตามแผนที่วางไว้
ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ในความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
บันทึกโดยสรุปผล พร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางการพยาบาล และการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม
เผยแพร่นวัตกรรม