Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติการศึกษาไทย 2542 และฉบับปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2-4) :pencil2…
พระราชบัญญัติการศึกษาไทย 2542 และฉบับปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 2-4)
:pencil2:
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๑ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๑ กระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภท และการอาชีวศึกษา แต่ไม่รวมถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร
มาตรา 4 การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคล และสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสรรค์สร้าง จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
•
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
•
การศึกษาตลอดชีวิต
หมายความว่า การศึกษาอันเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
•
การประกันคุณภาพภายใน
หมายความว่า การประเมินผล และการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรในสถานศึกษา / หน่วยงานต้นสังกัด
•
การประกันคุณภาพภายนอก
หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพทางการศึกษา ( สมศ )
•
ผู้สอน
หมายความว่า ครู และคณาจารย์ในสถานศึกษาต่าง ๆ
•
ครู
หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ซึ่งที่มีหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ในสถานศึกษา ทั้งรัฐ และเอกชน
•
คณาจารย์
หมายความว่า บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอน และการวิจัย ในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ/เอกชน (ข้อสังเกต ไม่มีคำว่า วิชาชีพ/การเรียน/การส่งเสริม)
•
ผู้บริหารสถานศึกษา
หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา ทั้งรัฐ และเอกชน
•
ผู้บริหารการศึกษา
หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพ ที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา นอกสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
•
บุคลากรทางการศึกษา
หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งทำหน้าที่ในการให้บริการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 9 หมวด 78 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล
หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมาย และหลักการ ( มาตรา 1 – 9 )
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา 8 หลักการจัดการศึกษา มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชน
2.ให้สังคมมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา
3.การพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ 2 สิทธิ และหน้าที่ทางการศึกษา ( มาตรา 10 – 14 )
มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ อย่างทั่วถึงมีคุณภาพและไม่เก็บค่าใช้จ่าย
มาตรา 13 บิดามารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ (การศึกษาตามอัธยาศัย)
มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และอื่น ๆ มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ (การศึกษาตามอัธยาศัย)
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา ( มาตรา 15 – 21 )
มาตรา 15 ระบบการศึกษา มี 3 ระบบ
1.การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
ของการศึกษา การวัดผล และประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่ แน่นอน
2.การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการ
ศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา
3.การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ
มาตราที่ 16 การศึกษาในระบบ มี 2 ระดับ คือ
1.การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนอุดมศึกษา
2.การศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
มาตรา 17 การศึกษาขั้นบังคับ จำนวน 9 ปี โดยเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา 18 การจัดการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา ดังนี้
1.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.โรงเรียน เช่น โรงเรียนรัฐ / เอกชน
3.ศูนย์การเรียน
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22 – 30) เป็นหัวใจของ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
มาตรา 22 การจัดการศึกษายึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ
มาตราที่ 23 จุดเน้นในการจัดการศึกษา ( ทั้ง 3 ระบบ ) 1. ความรู้ คุณธรรม 2.กระบวนการเรียนรู้ 3.บูรณาการ ตามความเหมาะสม
มาตรา 25 รัฐส่งเสริมการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
มาตรา 26 ให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียน ควบคู่กับกระบวนการเรียนการสอน ( โดยถือว่าการประเมินผล เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษา และเป็นหน้าที่ของสถานศึกษา )
มาตรา 27 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา 30 สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมผู้สอนให้สามารถวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
หมวด 5 การบริหาร และการจัดการศึกษา ( มาตรา 31 – 46 )
มาตรา 32 การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวง ที่เป็นองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา จำนวน 4 องค์กร คือ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
มาตรา 37 การบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึง
1.ปริมาณสถานศึกษา
2.จำนวนประชากร
3.วัฒนธรรม
4.ความเหมาะสมด้านอื่น ๆ
มาตรา 38 คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจในการ กำกับ ดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา
มาตรา 41 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ
มาตรา 44 สถานศึกษาเอกชน เป็น นิติบุคคล
มาตรา 45 สถานศึกษาเอกชน มีสิทธิจัดการศึกษาได้ทุกระดับ
หมวดที่ 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา ( มาตรา 47 – 51 )
มาตรา 47 ให้มีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยให้ถือว่า การประกันคุณภาพภายใน
มาตรา 49 ให้มี สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพทางการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรมหาชน และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา ที่มิใช่การจัดการอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงอื่น เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ให้มีการประเมินอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก 5 ปี นับแต่ประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
มาตรา 51 กรณีผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษา ไม่ได้มาตรฐานให้ สมศ. จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่กำหนด หากไม่ดำเนินการให้รายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อด าเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข
หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ( มาตรา 52 – 57 )
มาตรา 53 ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ มีอำนาจ ( ทำให้เกิด พ.ร.บ.สภาครู ฯ )
• กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ / ออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณของวิชาชีพ / พัฒนาวิชาชีพ
• ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชนต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
หมวดที่ 8 ทรัพยากร และการลงทุน เพื่อการศึกษา ( มาตรา 58 – 62 )
มาตรา 59 บรรดาอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาของรัฐ ที่เป็นนิติบุคคลได้มา โดยมีผู้อุทิศให้หรือซื้อ แลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษาไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา
หมวดที่ 9 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ( มาตรา 63 – 69 )
มาตรา 63 รัฐต้องจัดคลื่นความถี่ สื่อตัวนำ โครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษา
มาตรา 64 รัฐส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต และพัฒนาแบบเรียน โดนเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
บทเฉพาะกาล ( มาตรา 70 – 78 )
มาตรา 70 บรรดา กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ใช้บังคับอยู่ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้
มาตรา 71 กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษา ที่มีอยู่ในวันที่ พ.ร.บ.บังคับใช้ ให้ใช้ต่อไป แต่ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ พ.ร.บ. บี้ บังคับใช้
มาตรา 72 ห้ามมิให้ใช้ มาตรา 10 (การศึกษาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี) มาบังคับใช้ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้
มาตรา 75 ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปทางการศึกษา เป็น องค์กรมหาชนเฉพาะกิจ
มาตรา 76 คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา จำนวน 9 คนมีวาระดำรงตำแหน่งวาระเดียว 3 ปี เมื่อครบแล้วยุบตำแหน่ง และสำนักงาน