Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแต่งกายในวัฒนธรรมไทยและมุสลิม (สัปดาห์ที่12 16กันยายน64), 6310410125…
การแต่งกายในวัฒนธรรมไทยและมุสลิม
(สัปดาห์ที่12 16กันยายน64)
การแต่งกายในวัฒนธรรมมุสลิม
ข้อห้าม
ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ทำจากหนังสัตว์
ห้ามรัดรูป
ไม่หรูหราเกินไป
เพื่อเป็นการปกปิดร่างกาย เป็นการยึดถือตามคำสั่งของพระเจ้า
ผู้ชาย-ปกปิดตั้งแต่สะดือถึงเข่า
ผู้หญิง-ปกปิดทุกส่วนยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
การแต่งกายในชีวิตประจำวัน
ผู้ชาย
นุ่งโสร่ง
กางเกงชาวเล
เสื้อเชิ้ต หรือโปโลแขนสั้น
ผู้หญิง
นุ่งโสร่งปะเต๊ะ
เสื้อยืดแขนยาว
*อยู่บ้านอาจไม่ใส่ฮิญาบ เเต่ถ้าออกข้างนอกต้องใส่
การแต่งกายงานแต่งอิสลาม หรือการ “นิกะห์”
ชุดเจ้าบ่าว
แต่งกายรัดกุม สวมเสื้อแขนยาว(เสื้อตะโละบลางอ) นุ่งโสร่ง ใส่กะปิเยาะห์ และติดเข็มกลัด
ชุดเจ้าสาว
มีข้อกำหนดเพียงแค่จะต้องปกปิดทุกส่วนของร่างกายให้มิดชิด ยกเว้นไว้เพียงใบหน้าและฝ่ามือ ใช้ชุด 2 ชุด คือ
1.ชุดกูบายาเป็นชุดดั้งเดิม คือ เสื้อรูปทรงตรง มีผ้าสำหรับนุ่ง 1 ผืน และใช้คลุมหน้า 1 ผืน ซึ่งชุดนี้จะใช้ในตอนนิกะห์
2.ชุดราตร เป็นชุดที่ตัดเย็บตามความต้องการตามสมัยนิยมใช้ตอนเจ้าบ่าวรับเจ้าสาว
การแต่งกายในวันฮารีรายอ
ผู้ชาย
สวมชุด “ตือโละบลางอ” เป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และมีผ้าคาดเอวลวดลายวิจิตรงดงามเรียกว่า “ผ้าซัมปิน” และสวมหมวกซอเกาะ
ผู้หญิง
สวม “ชุดกุรง” ซึ่งเป็นเสื้อคลุมยาวถึงเข่า สวมทับกระโปรงยาว และสวมผ้าคลุมศีรษะสีสันสดใสสวยงาม
เครื่องแต่งกาย
-นิกอบ คือ ผ้าคลุมศีรษะและใบหน้าบางส่วน โดยเปิดบริเวณรอบดวงตาเอาไว้
-โต๊บ เป็นชุดแต่งกายสำหรับชีวิตประจำวัน ลักษณะชุดยาวคลุมข้อเท้า
-โสร่ง เป็นผ้านุ่ง ที่ใช้ผ้าผืนเดียว ใช้นุ่งทั้งหญิงและชาย นิยมใช้เป็นชุดอยู่บ้าน (โสร่งที่มีลักษณะพิเศษ ี่เรียกว่า “ ปาเต๊ะ ” หมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลาย สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน)
-หมวกซอเกาะห์ เป็นหมวกของผู้ชาย สามารถพับได้ตามยาว (ลักษณะทรงกลม ทั้งสองมักสวมใส่ร่วมศาสนกิจ หรือเข้าร่วมในพิธีสำคัญต่าง ๆ ตลอดจนชีวิตประจำวันทั่วไป)
-ฮิญาบ คือ ผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงมุสลิม คลุมผมและหน้าอก
การเเต่งกายในวัฒนธรรมไทย
ที่มา
คนไทยสมัยอดีตมีเอกลักษณ์การแต่งกายที่ใช้ผ้าไทย ซึ่งทำจากผ้าไหม ผ้าทอมือ ผ้าขาวม้า การเเต่งกายแบบไทยจึงสะท้อนเอกลักษณ์ คุณค่า ความเป็นมา และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ชุดไทยสมัยรัฐนิยม (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
มีลักษณะเด่นด้านการนิยมแบบตะวันตก เน้นสุภาพ
ผู้หญิง
เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อ แทนการใช้ผ้าโจงกระเบน
ผู้ชาย
นุ่งกางเกง สวมหมวก
ชุดไทยในยคสมัยปัจจุบัน
ส่วนใหญ่แต่งตามความนิยม เลียนแบบศิลปิน นักแสดงที่ชื่นชอบ จะได้รับอิทธิพลแฟชั่นจากทุกมุมโลก
ค่านิยมการเเต่งกายเปลี่ยนไปตามอาชีพ
ปัญหา
คนไทยในปัจจุบันไม่นิยมสวมผ้าไทย
การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ
6310410125 นางสาวภารดี พรหมยก :star: