Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) - Coggle Diagram
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
(Hyperemesis Gravidarum)
ความหมาย
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของอาการที่เรียกว่าแพ้ท้อง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปกติพบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เริ่มมีอาการประมาณปลายสัปดาห์ที่ 4-6 อาการดีขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (บุญสืบ โสโสม, 2557, น. 218) แต่ถ้าอาการคลื่นไส้อาเจียนมีมากกว่าปกติไม่ดีขึ้นและยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเมื่อสัปดาห์ที่ 14-16 เป็นต้นไปแสดงว่ามีภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรงพบได้ประมาณ 1 ใน 200-300 ของสตรีตั้งครรภ์
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่ามีสาเหตุอาการอาเจียนในระยะตั้งครรภ์โดยทั่วไปคือ
ระดับของฮอร์โมนที่สร้างจากรก (ซึ่งเรียกว่า Human chorionic gonadotropin: HCG) และเอสโตรเจน (Estrogen) สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์และทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
ผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง อาหารคั่งค้างอยู่นานยิ่งกระตุ้นให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ มีผลทำให้สตรีตั้งครรภ์มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนได้
สภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ไม่ปกติ เช่น สตรีตั้งครรภ์กลัวการคลอดบุตร ไม่อยากตั้งครรภ์หรือมีปัญหาทางเศรษฐกิจและครอบครัวก็อาจแสดงออกโดยการคลื่นไส้อาเจียน ตรงกันข้ามสตรีตั้งครรภ์ที่อยากมีบุตรหรือดีใจมากไปก็อาจมีอาการแพ้ท้องมากเช่นกัน
ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน เช่น เอสโตรเจน, HCG ที่มีปริมาณมากเกินไปซึ่งสัมพันธ์กับอายุน้อยครรภ์แรก การตั้งครรภ์แฝดแฝดน้ำและครรภ์ไข่ปลาอุก
ปัจจัยส่งเสริม
อายุน้อยครรภ์แรก
การตั้งครรภ์แฝดซึ่งรกใหญ่กว่าปกติ
ครรภ์ไข่ปลาอุกซึ่งรกเจริญผิดปกติ แต่ไม่มีตัวเด็ก
เคยมีประวัติคลื่นไส้อาเจียนในขณะตั้งครรภ์ก่อน
มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต
เป็นสตรีที่มีลักษณะอารมณ์ตึงเครียดมาก่อน
อาการและการตรวจพบ
ปกติอาการคลื่นไส้อาเจียนจะปรากฏให้เห็นภายใน 1 หรือ 2 สัปดาห์หลังจากการขาดระดูถ้ามีอาการครั้งแรกหลังครรภ์อายุ 18 สัปดาห์ไปแล้วมักจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น กรวยไตและไตอักเสบ โดยทั่วไปอาการจะคงอยู่หลายสัปดาห์และหายไปเมื่ออายุครรภ์ 12-14 สัปดาห์เริ่มแรกมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนเมื่อได้กินอาหารหรือเพียงแต่นึกถึงอาหารบางอย่างอาการจะเป็นมากขึ้นจนไม่สามารถจะรับประทานทั้งน้ำและอาหารได้จะมีอาการกระหายน้ำ สะอีก จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่หรือเจ็บหน้าอก บางรายมีน้ำลายออกมากชอบบ้วนน้ำลายอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่อาเจียนออกมาช่วงแรก ๆ เป็นอาหารที่ยังไม่ย่อยกับมูกและน้ำดี ต่อไปส่วนใหญ่จะเป็นมูกและน้ำดีและในที่สุดอาจจะมีเลือดปน ซึ่งเลือดนี้อาจจะออกมาจากปากหรือกระเพาะอาหารอาการท้องผูกจะพบได้เสมอ แต่บางทีก็อาจจะท้องเสียได้เมื่อมีอาการรุนแรงขึ้นจะตรวจพบสิ่งต่อไปนี้
น้ำหนักตัวลดจากการขาดอาหารและน้ำท้องผูก
ภาวะขาดน้ำผิวหนังเที่ยว ซีด เป็นมันและบางครั้งมีอาการตัวเหลืองแห้งและมีเลือดซึมในคอแห้งแดงและอาจมีจุดเลือดออกเล็ก ๆ ลมหายใจมีกลิ่นของอะซิโตนซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะร่างกายจะซูบผอม ขอบตาลึกบุ๋ม ซีพจรเบาเร็ว 100-140 ครั้ง / นาที ความดันโลหิตจะต่ำลง กดเจ็บที่บริเวณยอดอกและบริเวณตับปัสสาวะออกน้อยและมีสีเข้มมีความถ่วงจำเพาะสูง
คีโตแอซิโดซีส (Ketoacidosis) นอกจากมีปัสสาวะออกน้อย แล้วถ้าตรวจปัสสาวะจะพบอะซิโตนและถ้ามีอาการรุนแรงมากอาจจะตรวจพบ Albumin cast เม็ดเลือดแดงและน้ำดีในปัสสาวะได้เนื่องจากตับขาดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
สิ่งตรวจพบจากเลือดระดับฮีมาโตคริตจะเพิ่มเพราะน้ำเลือดเข้มขึ้นมีการเสียดุลอีเล็กโตรลัยท์ โดยระดับโปแตสเซียมคลอไรด์และโซเดียมจะต่ำลง โปรตีนในซีรั่มก็ลดลงจนเกิดภาวะโลหิตจางได้จากการขาดอาหาร
การตรวจพบอย่างอื่นในระยะสุดท้ายอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตัวเหลืองอาจจะอาเจียนเป็นเลือดได้ต่อมาจะมีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง ซึม มีอาการสับสนและยูโฟริค (Euphoric) อาจจะมีเห็นภาพซ้อน (Diplopia) การกระตุก (Nystagmus) เลือดออกที่เรตินาในที่สุดอาจจะเกิดมีอัมพาตในที่ต่างๆกดเจ็บที่บริเวณน่องพร้อมกับมีอาการต่างๆของอาการชาเส้นประสาทส่วนปลายสุดท้าย เกิดอาการของเวอร์นิคเอนเซฟฟาโลพาที (Wernicke's encephalopathy) ไม่รู้สติและเสียชีวิต
อาการแสดง
แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะคือ
อาการไม่รุนแรง
อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้งต่อวันสามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะอาเจียนไม่มีน้ำหรือเศษอาหาร
น้ำหนักตัวลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการขาดสารอาหาร
มารดาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
อาการรุนแรงปานกลาง
อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 5-10 ครั้งต่อวัน
อาเจียนติดต่อกันไม่หยุดภายใน 24 ชั่วโมง
อ่อนเพลียไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
น้ำหนักตัวลดมีอาการขาดสารอาหาร
มีภาวะเลือดเป็นกรด
อาการรุนแรงมาก
อาเจียนมากกว่า 10 ครั้งต่อวันไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้นอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
อาเจียนทันทีภายหลังรับประทานและอาเจียนติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์
เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ได้แก่ ผิวหนังแห้งไม่ยืดหยุ่นปากแห้งลิ้นเป็นฝ้าขาวหนาแตกตาลึกขุ่นมองภาพไม่ชัดเจนปัสสาวะขุ่นและออกน้อยตัวเหลือง-ท้องผูกมีไข้-ความดันโลหิตลดลง
แนวทางการรักษา
แก้ไขภาวะขาดน้ำ ความไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลต์ และความเป็นกรด-ด่างของเลือด โดยการให้ 5%
D/NSS 1,000 มิลลิลิตร หยดเข้าทางหลอดเลือดดำร่วมกับแก้ไขความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด
แนะนำการรับประทานอาหารอ่อนครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารมัน และหลีกเลี่ยงกลิ่น
อาหารที่ทำให้คลื่นไส้
ให้ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ promethazine 25 mg
ทางกล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำการพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากให้ droperidol 2.5 mg ทางกล้ามเนื้อหรือ metoclopamide 10 mg ทางกล้ามเนื้อและพิจารณาให้ซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง
ให้ยาคลายกังวล และยานอนหลับ ได้แก่ Diazepam 2 mg 1 เม็ดรับประทานวันละ 2-3 ครั้งและ / หรือ Diazepam 5 mg 1 เม็ดรับประทานก่อนนอน
ให้วิตามิน B6 50 mg 1 เม็ด รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง
ในกรณีที่ให้การรักษาโดยวิธีต่างๆ แล้วไม่ดีขึ้น จะต้องวินิจฉัยแยกโรค
และให้การรักษาภาวะหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร