Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Gallstone with cholecystitis - Coggle Diagram
Gallstone with cholecystitis
ผู้ป่วยชื่อนางฟ้า ใจดี อายุ 43ปี 3เดือนก่อนมาโรงพยาบาลปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวาร้าวไปทางด้านหลัง แพทย์นัด ultrasound และพบนิ่วในถุงน้ำดี จึงมีนัดผ่าตัด เวลา 11.00น. หลังจากกลับจากผ่าตัด Opened Cholecystectomy
ปวดเเผลเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบ่นปวดแผล มีภาวะท้องอืด ไม่ผายลม
pain activity 8
ผ่าตัดแบบ Opened cholecystectomy
การพยาบาล
วัดและประเมินสัญญาณชีพเพื่อประเมินการติดเชื้อของผู้ป่วย โดยเฉพาะ Body temperature
ประเมินลักษณะบาดเเผลของผู้ป่วย โดยการประเมินสิ่งคัดหลั่งบริเวณแผลผ่าตัด หากมีเลือดหรือหนองซึม ให้ทำแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
จัดท่าผู้ป่วยนอนในท่า Fowler's position โดยให้ศีรษะสูง 40-60 องศา เเละไขเตียงส่วนล่างบริเวณเข่า 15-20 องศาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อยตัวลงจากการที่ข้อสะโพกงอ ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น บรรเทาอาการปวดได้
กระตุ้น Ambulation ผู้ป่วยทันทีเมื่อรู้สึกตัว เพื่อป้องกันการท้องอืด เเละเพื่อให้ผู้ป่วยผายลม
ให้ยา Pethidine 50 mg v q 6 hrs. เป็นยาแก้ปวดตามแผนการรักษาเมื่อมีอาการปวด
ผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
O WBC 14,000 cell/mm3
O Neutrophil 84%
ผู้ป่วยบ่นปวดแผลผ่าตัด
เป็นแผลผ่าตัดชนิดสะอาดกึ่งปนเปื้อน
การพยาบาล
วัดและประเมินสัญญาณชีพเพื่อประเมินการติดเชื้อของผู้ป่วย โดยเฉพาะ Body temperature
ดูแลให้ได้รับยา Ceftriaxone 2 gm vein ตามแผนการรักษาของเเพทย์ เป็นยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะ ค่า WBC , Neutrophil
ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำเนื่องจากงดน้ำและอาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
O BUN 50 mg/dl
Cr 2.13 mg/dl
การพยาบาล
ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย อาการอ่อนเพลีย อาการริมฝีปากแห้ง การกระหายน้ำของผู้ป่วย
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำ 5% D N/2 rate 100 cc/hr. ตามแผนการรักษาของเเพทย์
ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
บันทึก I/O เพื่อประเมินภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ
เป้าหมาย
ไม่มีภาวะความไม่สมดุลของน้ำ
เกณฑ์การประเมินผล
BUN 10-20 mg/dl
Cr 0.6-1.2 mg/dl
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
การพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วย
แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อนได้ดังนี้
2.1 การหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ เเละการหายใจออกยาว ๆ (deep breathing) 5ครั้ง ในระยะเเรกหลังผ่าตัด และอาจเพิ่มได้ถึง10ครั้ง โดยให้ทำทุก 1-2 ชั่วโมง
2.2 การไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective coughing) โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ยาว ๆ 5ครั้ง ในขณะหายใจเข้าครั้งสุดท้ายให้หายใจเข้าเต็มที่เเล้วกลั้นไว้ เเละไอออกมาจากส่วนลึกของลำคอ 1-2 ครั้ง ขณะที่ไอให้ใช้มือประคองแผลหรือใช้หมอนนุ่ม ๆ วางบนแผลและใช้มือประคองทับบนหมอน
2.3 การเปลี่ยนท่านอน เเละการพลิกตะแคงตัว กระตุ้นให้ผู้ป่วยเปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะเเคงซ้าย ขวาทุก 1-2 ชั่วโมง
2.4 การเคลื่อนไหวร่างกายเเละการลุกเดินโดยเร็ว (Early movement and ambulation) หลังผ่าตัดประมาณ 24 ชั่วโมง กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกนั่งบนเตียง นั่งข้างเตียง เดินรอบเตียงระยะสั้น ๆ ถ้าเเข็งแรงดีก็เพิ่มการช่วยเหลือตนเองให้มากขึ้น
แนะนำในเรื่องการรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม เนื้อปลา และงดอาหารประเภทไขมัน