Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (pregnancy induce hypertension) -…
ภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (pregnancy induce hypertension)
ชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
Preeclampsia หมายถึง กลุ่มอาการที่เกิดเนื่องจากการตั้งครรภ์ที่มีการลดลงของเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากการหดรัดตัวที่รุนแรงของหลอดเลือดทั่วร่างกายและการกระตุ้นผนังที่หลอดเลือด (endothelial activation) (คมสันต์ สุวรรณฤกษ์ และเด่นศักดิ์ พงศ์โรจนเผ่า, 2554: 153) มักพบในครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลัง preeclampsia แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
Mild preeclampsia
เกิดหลัง 20 สัปดาห์ มีความดันโลหิตสูง> 140/90 ซึ่งพบเป็นครั้งแรกขณะตั้งครรภ์หรือมีภาวะบวมที่ผิดปกติ ร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ 2 300 มก. / 24 ชม. หรือโปรตีนในปัสสาวะ dipstick 1+ หรือ 2+ โดย WHO เน้นการมีไข่ขาวในปัสสาวะ
Severe Preeclampsia
ประกอบด้วย ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่เจ็บชายโครงขวา ค่าความดันโลหิต มากว่าหรือเท่ากับ 160/110 วัด 2 ครั้งห่างกัน 6 ชั่วโมงขณะนอนพัก บวม โปรตีนในปัสสาวะ มากกว่าหรือเท่ากับ 5 กรัม/ลิตรในปัสสาวะที่เก็บ 24 ชั่วโมง โปรตีนในปัสสาวะ dipstick 3+, 4+ Serum creatinine สูงขึ้นมากกว่า 1.2 มิลลิกรัม / เดซิลิตร Liver enzyme เพิ่มภาวะ hyperbilirubinemia ตรวจพบเกร็ดเลือดต่ำ onni (thrombocytopenia) <100,000 per ml
Eclampsia หมายถึง ผู้ป่วยมีภาวะชักร่วมกับ preeclampsia มีความรุนแรงมากที่สุดมีอาการชักเกร็ง การชักเกร็งจะชักทั้งตัว (grand mal) แบบกระตุก (clonic convulsion) ร่วมกับอาการแสดงของ pregnancy induce hypertension
ปัจจัยเสี่ยง (risk factors)
ประวัติครอบครัว และมีประวัติครรภ์ก่อนเป็นความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ครรภ์แรกครรภ์แฝด
อายุน้อยกว่า 20 ปี หรืออายุมากกว่า 35 ปี
เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์
ดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
ผลกระทบ
ผลของโรคต่อทารก
แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
ทารกขาดออกซิเจนเพราะรกเสื่อม
ทารกจะเจริญเติบโตช้า (IUGR) หรือน้ำหนักน้อย เนื่องจากการส่งอาหารจากมารดาสู่ทารกน้อยเกิด
ทารกเสียชีวิต
ผลของโรคต่อมารดา
ความผิดปกติของตา
เส้นเลือดในสมองแตก หัวใจวาย น้ำท่วมปอด ตับวาย ไตวายเฉียบพลัน
เสียสมดุลอีเลคโตรไลต์
HELP Syndrome เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบความผิดปกติในระบบอวัยวะต่าง ๆ หลายระบบ
การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ fibrinogen ต่ำ
รกลอกตัวก่อนกำหนด (abruption placenta)
มารดาเสียชีวิต
แนวทางการรักษา
ให้นอนพักในท่านอนตะแคงตลอดเวลา เพื่อลดการกระตุ้นการเกิดอาการชัก
ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเข้มงวด โดยควบคุมให้เค็มปานกลางและโปรตีนให้ได้รับ 80-100 กรัม/วัน ติดตามดูอาการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งเป็นอาการนำสู่ภาวะซัก
3.ดูแลให้ได้รับยาต้านการชัก ได้แก่ แมกนีเซียมซัลเฟต และยาอื่นๆ
การคลอด การเร่งคลอด มักนิยมทำในรายที่เป็น pre-eclampsia ที่รุนแรงปานกลางและรุนแรงมาก ถ้ากระตุ้นให้เจ็บครรภ์ล้มเหลว แพทย์อาจตัดสินให้ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
การรักษา eclampsia โดยปกติถ้าหญิงตั้งครรภ์ได้รับ ให้ MgSO4 ตั้งแต่เริ่มแรก มักไม่ค่อยพบอาการชัก อย่างไรก็ตามเมื่อพบอาการชักควรได้รับยา ให้ MgSO4 4-6 กรัม ฉีดเข้าเส้นเลือดดำช้า ๆ อย่างน้อย 5 นาที
หลังการบริหารยาป้องกันการชัก ควรเฝ้าระวังติดตามและหยุดให้ยาเมื่อพบภาวะต่อไปนี้
มีอาการร้อนวูบวาบ เซื่องซึมและง่วงนอน มีเหงื่อ ออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กซ์ลดลง ลดอุณหภูมิร่างกายลดลง ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว สับสน ท้องผูก ควรหยุดให้ยาเมื่อพบภาวะ Hypermagnesemia หรือ Magnesium sulfate toxicity ซึ่ง MgSO4 ขับออกทางไตในกรณีที่ หลอดเลือดทั่วร่างกายมีการหดรัดตัวจนปัสสาวะออกน้อยลงอาจทำ ให้เกิดการสะสมของ magnesium ในกระแสเลือดส่งผล ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ hypermagnesemia หรือ magnesium toxicity การแก้ไข antidote ของ MgSO4 คือ 10% calcium gluconate หรือ 10% calcium chloride 1 กรัม (10 มิลลิลิตร) ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ช้า ๆ เป็นเวลานาน 3 นาที และให้ออกซิเจนแก้ไขปัญหาเรื่องการหายใจ