Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tumor, Cancer and Neoplasm - Coggle Diagram
Tumor, Cancer and Neoplasm
Tumor
Neoplasm wo Neoplasia (Technical term) หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดจากความผิดปกติของการเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจํานวนของเซลล์
Cancer
หมายถึง “ มะเร็ง” เป็นโรคของเซลล์ที่มีความผิดปกติในระดับพันธุกรรม (genetic aberration) ทำให้มีการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของเซลล์อย่างผิดปกติและอยู่นอกเหนือควบคุมได้ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนมะเร็งขึ้น
กลไกการเกิดมะเร็ง (Carcinogenesis, oncogenesis)
มะเร็งเป็นโรคทางพันธุศาสตร์อย่างหนึ่งเนื่องจากเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีน (genes) ซึ่งเป็นหน่วยทางพันธุกรรมในโครโมโซมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยเฉพาะการเติบโตและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ที่สำคัญคือ proto-oncogenes, tumor suppressor genes และ DNA repair genes เป็นเหตุให้เซลล์มีการแบ่งตัวมากขึ้นและอยู่นอกเหนือการควบคุม
-
สาเหตุของมะเร็ง
- กลุ่มสารเคมีก่อมะเร็งหรือที่เรียกว่า Chemical carcinogens
- กลุ่มรังสีก่อมะเร็งหรือที่เรียกว่า Radiant energy หรือ lonising radiation (IR)
- กลุ่มเชื้อโรคที่สามารถก่อมะเร็งหรือที่เรียกว่า Oncogenic microbes ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อไวรัสก่อมะเร็งหรือ Viral carcinogenesis
- DNA virus ที่ก่อมะเร็ง Human papilloma virus (HPV), Epstein-Barr virus (EBV), Hepatitis B virus (HBV)
- RNA virus ที่ก่อมะเร็ง Human T-Cell Leukemia Viruses I (HTLV I)
-
-
-
Metastasis
- การแพร่กระจายไปตาม Body cavities ต่าง ๆ (Implantation)
- การแพร่กระจายไปตามระบบน้ำเหลือง (Lymphatic Spread Lymphatic system)
- การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด (Hematologic Spread-Vascular system)
การบอกระยะโรคแบบ TNM
- ขนาดของก้อน (Primary Tumor) (T)
TX ไม่สามารถประเมินก้อนได้
T0 ไม่มีหลักฐานของก้อน
Tis มะเร็งระยะต้นๆ ที่อยู่บนชั้นของเซลล์ปกติยังไม่แทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติ
T1,2,3,4 ขนาดต่างๆกันของก้อนจากเล็กไปใหญ่
- ต่อมน้ำเหลือง (Regional Lymph nodes) (N)
NX ไม่สามารถประเมินต่อมน้ำเหลืองได้
N0 ไม่พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
N1,2,3 มะเร็งเข้าไปในต่อมน้ำเหลือง (จำนวนต่อมและตำแหน่งต่อมที่แพร่ไป)
- การแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น (Distant Metastasis) (M)
Mx ไม่สามารถประเมินการแพร่กระจายได้
M0 ไม่พบการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
M1 แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
โรคมะเร็งที่พบบ่อย
- คนไทยเพศชาย มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่. ทวารหนัก
- คนไทยเพศหญิง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งตับ
-
มะเร็งเต้านม
อาการและอาการแสดง
- คลําได้ก้อนที่เต้านม (breast lump)
- ขนาดและรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงผิดปกติไป
- มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น ผิวหนัง บวมแดง อักเสบ คล้ายผิวส้ม
- หัวนมบุ๋มยุบจากเดิม (newly inverted nipple)
- มีสารคัดหลั่งผิดปกติจากหัวนม (abnormal nipple discharge)
ปัจจัยเสี่ยง
- เพศหญิง
- อายุมาก
- มีประวัติเคยตรวจพบเซลล์เต้านมที่ผิดปกติ เช่น atypical hyperplasia of the breast หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- มีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมเช่น BRCA and BRCA2
- เคยได้รับการฉายแสงบริเวณทรวงอก
- อ้วน
- เป็นประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปีและหมดประจำเดือนช้า
- ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี
- การได้รับ Hormonal replacement therapy หลังหมดประจำเดือน
- การดื่ม Alcohol
-
การรักษามะเร็งเต้านม
รักษาหลายรูปแบบทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง การฉายแสงและแบบผสมผสาน ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
- ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
- ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
- อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
- ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
- ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจําเดือน
- ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่นยีน HER2 (human epidermal growth factor receptor 2)
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
อาการที่พบ
- ปวดเบ่งเหมือนถ่ายไม่สุด
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- พฤติกรรมการขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม
- อุจจาระมีเลือดปน
- ปวดท้อง ท้องอืด
ปัจจัยเสี่ยง
- อ้วน
- อายุ มะเร็งลำไส้ใหญ่มักพบในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป
- เชื้อชาติ African-American
- เบาหวาน
- ขาดการออกกำลังกาย
- สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- เคยมีประวัติ colorectal polyps
- มีประวัติ Inflammatory bowel disease เช่น ulcerative colitis, Crohn's disease
- มีโรคทางพันธุกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมากกว่า 1 คน
- รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยและอาหารไขมันสูงเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูป
-
การวินิจฉัย
ต้องอาศัยการส่องกล้องลำไส้และการตัดชิ้นเนื้อจากตำแหน่งที่สงสัยเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาการตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อดูการกระจายและบอกระยะของโรค
การรักษา
ทั้งการผ่าตัด การให้ยาต้านมะเร็ง และการใช้รังสีรักษาแพทย์จะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นกับตำแหน่งและระยะของโรคมะเร็ง