Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ ๓ พยาบาลที่กำลังตั้งครรภ์ถูกทำร้ายร่างกาย - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ ๓ พยาบาลที่กำลังตั้งครรภ์ถูกทำร้ายร่างกาย
ความผิดทาง กฏหมายอาญา
ความผิดต่อร่างกาย
มาตรา ๒๙๕
ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๙๗
ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
อันตรายสาหัสนั้นคือ
(๔) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(๕) แท้งลูก
(๓) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(๖) จิตพิการอย่างติดตัว
(๒) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(๗) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(๑) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(๘) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน
ความผิดเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท
มาตรา ๓๗๒
ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน หรือกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
สถานการณ์
สภาการพยาบาลได้รับหนังสือร้องเรียนจากสามีของนางกานดา ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้้าหน้าที่พยาบาล 2f อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ถูกทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ
ผู้กระทำคือ นางสาว สดใส ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ๕ ประจำแผนกสูตินารีเวช พร้อมแนบสำเนารายประจำวันของตำรวจ เกี่ยวกับคดีและภาพถ่ายบาดแผลที่เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกาย
สภาการพยาบาลได้ทำการสอบสวนตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อบังคับฯ
โดยสรุปดังนี้
เหตุการณ์เกิดขึ้นในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเวลาประมาณ 24:00 น. ขณะที่นางสาวสดใสเลิกงานจากเวรบ่ายกำลังจะกลับบ้าน แต่ไม่สามารถขับออกจากที่จอดรถได้ เพราะรถของนางกานดาจอดขวางอยู่ ประกอบกับบริเวณที่จอดรรถเป็นทางโค้งเข็นรถลำบาก จึงประกาศเรียกนางกานดาซึ่งปฏิบัติงานเวรดึกให้มาเลื่อนรถที่ขวางอยู่
ในระหว่างที่รอ นางสาวสดใสกับเพื่อนจึงช่วยกันเข็นรถของนางกานดาให้พ้นช่องทาง เมื่อนางกานดาลงมาจึงขับรถของตนที่ถูกเข็นมาเข้าจอดแทนที่ ระหว่างนั้นได้มีการต่อว่าและโต้เถียงกันด้วยถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคาย จนถึงขั้นนทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันจนถึงมีคดีขึ้นโรงพัก
หมวด ๑ บททั่วไป
การประพฤติผิดจริยธรรม หมายความว่า การประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นการฝ่าฝืนหรือผิดข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ที่ใช้บังคับอยู่และที่จะประกาศบังคับใช้ต่อไป
ผู้กล่าวหา หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพได้ยื่นคำร้องเรียนต่อสภาการพยาบาลและให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามกฎหมายด้วย
การสอบสวน หมายความว่า การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายโดยคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสอบสวนซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์เพื่อพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏว่าการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเป็นการประพฤติผิดจริยธรรมตามข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษหรือไม่
วินัยข้าราชการ
วินัยข้าราชการ
คือ แบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้ข้าราชการควบคุมตนเอง ควบคุมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ให้ประพฤติดี ละเว้นการประพฤติปฏิบัติในทางที่ไม่ชอบ ไม่ควร
-ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของบทวินัยตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
-มติคณะรัฐมนตรี ที่ นร 89/2497 ลงวันที่ 1 เมษายน 2547
ข้าราชการจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนข้อบังคับอันตนจะต้องปฏิบัติและอยู่ในหน้าที่ของตนมิได้
“การดำเนินการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัย กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการดำเนินคดีอาญาอยู่แล้ว การสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยจึงไม่จำเป็นที่จะต้องรอฟังผลทางคดีอาญาแต่อย่างใด” (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 7904/ว 4 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2509)
โทษทางวินัยมี 5 สถาน
คือ โทษไม่ร้ายแรง แบ่งออกเป็น โทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน โทษที่ร้ายแรง แบ่งออกเป็น ปลดออก ไล่ออก ซึ่งพยาบาลทั้งสองคนทำความผิดที่ไม่ร้ายแรง คือ ทําร้ายเพื่อนข้าราชการได้รับบาดเจ็บ ต่อว่าและโต้เถียงด้วยถ้อยคำรุนแรงและหยาบคาย ในสถานที่ทำงาน(โทษภาคทัณฑ์)
ฐานความผิดวินัยต่อตนเอง
(มาตรา 82 (10))
รักษาชื่อเสียงของตน รักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย
ฐานความผิดวินัยต่อผู้ร่วมงาน
(มาตรา 82 (7))
ข้าราชการต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
สามีสามารถฟ้องแทนภรรยาได้หรือไม่
บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
ผู้มีอำนาจจัดการแทน ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก่อน เช่นหญิงมีสามีอาจอนุญาตให้สามีจัดการแทนได้ เว้นแต่ เป็นกรณีตาม มาตรา 5 ไม่ต้องได้รับอนุญาตเลย ตามมาตรา 4 ในคดีอาญา ซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้นมีสิทธิฟ้องคดีได้เอง
สามีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแทน ภรรยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้ง
สามีสามารถจัดการแทนภริยาได้หากได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้ง (แต่ในทางกลับกันภรรยาไม่มีสิทธิจัดการแทนสามี) และจะต้องเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ผู้มีอำนาจจัดการฟ้องร้องแทนผู้เสียหาย
ได้แก่ บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงในเรื่องต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 “บุคคลดังระบุ” ไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 มีอำนาจจัดการต่อไปนี้แทนผู้เสียหายตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน มาตรานั้น ๆ
เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้ารวมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ยอมความในคดีความผิดส่วนตัว
ร้องทุกข์
ถอนฟ้องคดีอาญาหรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ผู้มีอำนาจจัดการแทนโดยผลของกฎหมาย ไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก่อน กรณีตามมาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิด ซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ
บุพการี ผู้สืบสับดาน สามีหรือภรรยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเฉพาะความผิด ซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
ข้อบังคับสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรม
หมวดที่ 2 การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่วนที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
ข้อที่ 19 ผุ้ประกอบวิชาชีพ พึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน
สภาการพยาบาลจะดำเนินการอย่างไรกับพยาบาลทั้ง 2 คนนี้
สภาการพยาบาลรับจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาความผิดทางด้านจริยธรรม รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวน เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน เรียกพยาบาลทั้ง 2 คนมาสอบถ้อยคำเพิ่มเติม เมื่อสืบหาความผิดได้แล้วจึงจัดการประชุมเพื่อพิจารณาการลงโทษ โดยในกรณีนี้พยาบาลสดใสอาจได้รับโทษโดยการว่ากล่าวตักเตือน หรือ การภาคทัณฑ์ และในส่วนของพยาบาลการดา อาจได้รับโทษโดยการ ว่ากล่าวตักเตือน การภาคทัณฑ์ หรือการพักใช้ใบอนุญาต ซึ่งก็ตามแต่คณะอนุกรรมการจะเห็นสมควระ
การที่พยาบาลทำร้ายร่างกายกันผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพหรือไม่ แล้วจะมีโทษอย่างไร
การทำร้ายร่างกายไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆถือว่าผิดหลักจริยธรรมวิชาชีพ เพราะตามข้อบังคับสภาการพยาบาลกล่าวไว้ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพ ย่อมไม่ประพฤติ หรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และการทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นการกระทำให้ผู้อื่นเสียหายทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งพยาบาลมีหน้าที่ดูแล ป้องกัน เฝ้าระวังไม่ให้มีการเสียหาย หรืออันตรายทั้งทรัพย์สิน จิตใจ และร่างกาย ภายใต้กฏหมายและถูกต้องตามจริยธรรมตามหลักวิชาชีพ
บทโทษที่จะได้รับมีตั้งแต่ที่มีตั้งแต่การว่ากล่าวตักเตือน การภาคทัณฑ์ การพักใช้ใบอนุญาต และโทษสูงสุดคือการเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพ ซึ่งการพิจารณาโทษก็ขึ้นอยู่กับคณะอนุกรรมการจะพิจารณาว่าควรลงโทษในระดับใด