Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 74 ปี - Coggle Diagram
ผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 74 ปี
มีความวิตกกังวลเนื่องจากมีอาการเจ็บตึงบริเวณหน้าอก
เกณฑ์การประเมินผล
1.มีสีหน้ายิ้มแย้ม
2.ไม่มีสีหน้าและน้ำเสียงวิตกกังวล
กิจกรรมการพยาบาล
3.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุของการเจ็บตึงบริเวณหน้าอก พร้อมทั้งแนะนำให้ไปโรงพยาบาล เพื่อติดตามสาเหตุของการเจ็บตึงบริเวณหน้าอก
4.แนะนำจัดห้องให้เงียบสงบ ผ่อนคลาย ให้ผู้สูงอายุพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
2.เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ระบายเกี่ยวกับความวิตกกังวล ความรู้สึกต่างๆ และฟังอย่างตั้งใจ
5.แนะนำวิธีลดความวิตกกังวล เช่น การนั่งสมาธิ ฝึกลมหายใจ ลองกำหนดลมหายใจเข้า - ออกง่ายๆ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ดูหนัง ฟังเพลง
1.สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุไว้วางใจ
6.ให้กำลังใจผู้สูงอายุ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่มีความวิตกกังวลเรื่องอาการเจ็บตึงบริเวณหน้าอก
กิจกรรมผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
กิจกรรมผู้สูงอายุ
1.พักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
2.นั่งสมาธิ ฟังเพลง ทำงานอดิเรกที่ชอบ
3.ไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล
กิจกรรมผู้ดูแล
1.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
2.ทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ เช่น นั่งสมาธิ ทำงานอดิเรก
3.พาผู้สูงอายุไปรับการตรวจที่โรงพยาบาล
4.ให้กำลังใจผู้สูงอายุ
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ มีอาการเจ็บตึงหน้าอก และเคยผ่าตัดมะเร็งเต้านมข้างซ้าย “
O : ผู้ป่วยมีสีหน้าและน้ำเสียงวิตกกังวล
เสี่ยงต่อการผลัดตกหกล้มเนื่องจากต้องเดินขึ้นลงบันได
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ น้ำยาถูพื้นลื่น ขึ้นลงบันไดทุกวัน วันละ 10 ครั้ง ปวดกล้ามเนื้อ เป็นโรคกระดูกพรุน ประเมิน T-Score = -2.5 มีเสียงกระดูกดังกรอบแกรบ “
O : ประเมินความเสี่ยงของการผลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ = 1.5 คะแนน มีความเสี่ยงระดับ 1
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่เกิดการผลัดตกหกล้ม
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการผลัดตกหกล้ม ได้แก่
ปัจจัยภายในบุคคล เช่น โรคประจำตัว การใช้รองเท้าไม่เหมาะสม ประวัติการหกล้ม การเคลื่อนไหวร่างกาย
ปัจจัยภายนอกบุคคล เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอหรือแสงจ้ามากเกินไป พื้นทางเดินไม่เรียบ ไม่มีราวบันไดให้ยึดเกาะ พื้นลื่น พื้นและบันไดมีสิ่งกีดขวางทางเดิน อุปกรณ์ในบ้านจัดไม่เป็นระเบียบ
2.ประเมินความเสี่ยงของการผลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ = 0.5 คะแนน
3.ไม่มีร่องร่องการผลัดตกหกล้มตามร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินปัจจัยเสี่ยงจะทำให้เกิดการผลัดตกหกล้ม ได้แก่ ปัจจัยภายในบุคคล เช่น อายุ โรคประจำตัว การใช้รองเท้าไม่เหมาะสม ประวัติการหกล้ม การเคลื่อนไหวร่างกาย และปัจจัยภายนอกบุคคล เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอหรือแสงจ้ามากเกินไป พื้นทางเดินไม่เรียบ ไม่มีราวบันไดให้ยึดเกาะ พื้นลื่น พื้นและบันไดมีสิ่งกีดขวางทางเดิน อุปกรณ์ในบ้านจัดไม่เป็นระเบียบ
2.ประเมินความเสี่ยงต่อการผลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ
3.แนะนำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ นับ1-10 ก่อนที่จะเปลี่ยนท่าแต่ละท่า ไม่ควรก้มหน้าต่ำมากเกินไป ควรใช้การค่อยๆย่อตัวเวลาเก็บของ และจากการนอนไปลุกนั่ง ควรค่อยๆลุกนั่งอย่างช้าๆ หลีกเลี่ยงการแหงนหน้าการเหลียวซ้ายเหลียวขวาหรือหมุนศีรษะอย่างรวดเร็ว เพราะอาจทำให้หน้ามืดเป็นลมและเกิดการผลัดตกหกล้มได้
4.แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที เมื่อไม่มีอาการอ่อนเพลีย เช่น การกายบริหาร การไทเก๊ก การแกว่งแขน การเดินเร็ว การเล่นฮูลาฮุป
5.แนะนำให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่หลวม ยาว ลุ่มล่าม รองเท้าใส่ให้กระชับพอดี ควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ยและขอบมน พื้นเป็นดอกยางเพื่อเกาะพื้นได้ดี ควรเป็นรองเท้าหุ้มส้นสั้น หน้ากว่าเพื่อให้เท้าและนิ้วเท้าเคลื่อนไหวได้ดี
6.แนะนำท่านอนให้ถูกต้อง โดยหนุนหมอนเตี้ยๆพยุงบริเวณคอและหัวไหล่ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง
7.แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กๆ ผลไม้ ผักใบเขียว เช่น กวางตุ้ง คะน้า บร็อคโคลี่ เต้าหู้เหลือง ถั่วเหลือง
8.แนะนำไม่ให้ใช้น้ำยาถูพื้นมากเกินไป และควรนอนชั้นล่าง เพื่อป้องกันการผลัดตกหกล้มจากการขึ้นลงบันได
9.แนะนำให้จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย ดังนี้
-สภาพแวดล้อมในบ้าน ห้ามใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีมุมแหลม ไม่วางของขวางทางเดิน ไม่ใช้พรหมเช็ดเท้าที่ขาดและสีเดียวกับพื้น ห้ามขึ้นลงบันไดหรือเดินในที่แสงสว่างไม่เพียงพอ วางของใช้ให้เป็นระเบียบ ติดราวยึดเกาะภายในห้องน้ำ
-สภาพแวดล้อมภายนอกบ้านปรับพื้นบ้านไม่ให้มีทางต่างระดับ กรณีมีทางต่างระดับควรมีป้ายสัญลักษณ์บอก จัดวางของให้เป็นระเบียบ ไม่ให้ขวางทางเดิน มีไฟส่องสว่างเวลากลางคืน หรือตำแหน่งที่มืดของบ้าน
10.แนะนำให้ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก อย่างน้อย 1ครั้ง/ปี
กิจกรรมผู้สูงอายุ / ผู่ดูแล
กิจกรรมผู้สูงอายุ
3.ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
4,สวมเสื้อผ้าและใส่รองเท้าพอดี พื้นเป็นดอกยาง
2.เปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้าๆ
5.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง เช่น นม เนื้อสัตว์ ปลาตัวเล็กๆ
1.ประเมินปัจจัยเสี่ยงจะทำให้เกิดการผลัดตกหกล้ม เช่น รองเท้าไม่เหมาะสม แสงสว่างไม่เพียงพอหรือแสงจ้ามากเกินไป พื้นทางเดินไม่เรียบ พื้นลื่น พื้นและบันไดมีสิ่งกีดขวางทางเดิน อุปกรณ์ในบ้านจัดไม่เป็นระเบียบ
6.จัดสิ่งแวดล้อมให้บ้านให้ปลอดภัย
7.ไปตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1ครั้ง/ปี
กิจกรรมผู้ดูแล
2.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้าๆ
3.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที
1.ประเมินปัจจัยเสี่ยงจะทำให้เกิดการผลัดตกหกล้ม เช่น การใช้รองเท้าไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวร่างกาย แสงสว่างไม่เพียงพอหรือแสงจ้ามากเกินไป พื้นทางเดินไม่เรียบ พื้นลื่น พื้นและบันไดมีสิ่งกีดขวางทางเดิน อุปกรณ์ในบ้านจัดไม่เป็นระเบียบ
4.กระตุ้นให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าและใส่รองเท้าพอดี พื้นเป็นดอกยาง ดูแลไม่ให้พื้นลื่น
5.จัดอาหารที่มีแคลเซียมและโปรตีนสูง
6.ดูแลทางเดินในบ้านให้ปลอดภัย มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
7.พาผู้สูงอายุไปตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1ครั้ง/ปี
มีความวิตกกังวลเนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ ใส่เสื้อผ้าแล้วอึดอัด น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 กิโลกรัม”
O : น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ส่วนสูง 156 เซนติเมตร BMI = 22.19 แปลผลปกติ
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
ไม่มีความวิตกกังวลเรื่องน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุไว้วางใจ
2.เปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ระบายเกี่ยวกับความวิตกกังวล ความรู้สึกต่างๆ และฟังอย่างตั้งใจ
3.ให้ข้อมูลแก้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามวัย ด้านโภชนาการเกิน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่ายกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดโรคอ้วน โดยมีดัชนีมวลกาย มากกว่า 25 กก/ม2 ปัจจัยและสาเหตุ ได้แก่ การลดลงของอัตราการเผาผลาญอาหารในผู้สูงอายุ การลดลงของการทำงานของร่างกาย นิสัยการรับประทานอาหารและแบบแผนการดำเนินชีวิต ที่มีการรับประทานอาหารปริมาณมาก และมีกิจกรรมทางกายน้อย
4.แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที เมื่อไม่มีอาการอ่อนเพลีย เช่น การกายบริหาร การไทเก๊ก การแกว่งแขน การเดินเร็ว การเล่นฮูลาฮุป ควรเน้นความสนุกสนาน รูปแบบที่ง่ายๆ ควรคำนึงถึงความปลอดภัย ควรอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย และข้อควรระวังในการออกกำลังกาย ได้แก่ เมื่อมีไข้ ไม่สบาย ไม่ควรออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการปะทะกระทบกระเทือนหรือใช้ความอดทนมากเกินไป หลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนหรือมีแดดมาก
5.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ วิตามินบี ช่วยเรื่องทำงานของประสาทและสมองเป็นสารอาหารที่จะช่วยยับยั้งความเครียดและวิตกกังวล เช่น นม ถั่ว เนื้อปลา ข้าวกล้องไข่ วิตามินอี เป็นสารอาหารที่ใช้ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด ตัวช่วยสำคัญในการป้องกันความเครียด เช่น เมล็ดถั่ว ผักใบเขียว ทานผัก ผลไม้ งดของหวาน งดของมัน
7.แนะนำจัดห้องให้เงียบสงบ ผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
8.แนะนำวิธีลดความวิตกกังวล เช่น การนั่งสมาธิ ฝึกลมหายใจ ลองกำหนดลมหายใจเข้า - ออกง่ายๆ ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ดูหนัง ฟังเพลง
10.ให้กำลังใจผู้สูงอายุ
9.แนะนำการประเมินดัชนีมวลกาย และบอกการแปลผล
กิจกรรมผู้สูงอายุ / ผู่ดูแล
กิจกรรมผู้สูงอายุ
1.ออกกำลังกายเป็นประจำ เมื่อไม่มีอาการอ่อนเพลีย
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทานผักและผลไม้
3.พักผ่อนอย่างเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
4.นั่งสมาธิ ฟังเพลง
กิจกรรมผู้ดูแล
1.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำ และออกเป็นเพื่อนผู้สูงอายุ
2.จัดหาอาหารที่มีประโยชน์ กระตุ้นให้ทานผัก ผลไม้
3.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง
4.ให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนผู้สูงอายุ คอยให้คำปรึกษา ชวนทำงานอดิเรกที่ผู้สูงอายุชอบ
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุไม่บ่นว่าใส่เสื้อผ้าแล้วอัดอัด
2.BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 18.5 -22.9
การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของการนอนหลับไม่มีคุณภาพ ได้แก่ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกหงุดหงิดกระสับกระส่าย ง่วงนอนเวลากลางวัน รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน
2.สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ 6-8 ชั่วโมง
3.ประเมิน PSQI ได้คะแนนน้อยกว่า 5
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล
สามารถหลับพักผ่อนได้
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุบอกว่า “ กว่าจะหลับใช้เวลาประมาณ 30 นาที และตอนกลางคืนมีเสียงมอเตอร์ไซค์รบกวน ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน 1-2 ครั้ง“
O : แบบประเมิน PSQI ได้ 6 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของการนอนหลับไม่มีคุณภาพ ได้แก่ อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกหงุดหงิดกระสับกระส่าย ง่วงนอนเวลากลางวัน รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน
2.ประเมินคุณภาพการนอนหลับ โดยใช้แบบประเมิน PSQI
3.จัดสภาพแวดล้อมห้องนอนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เงียบสงบ สะอาด อากาศถ่ายเท แสงสว่างไม่มากเกินไป ควรสลัว จัดอุปกรณ์การนอนให้สะอาด สวมเสื้อผ้าที่สบายไม่คับหรือแน่น
4.ดูแลและแนะนำให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกาย ปากฟันก่อนเข้านอน
5.แนะนำให้ผู้สูงอายุทำจิตใจให้สงบก่อนเข้านอน เช่น การสวดมนต์หรือทำสมาธิ ฟังเพลงสบายๆ ไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง เช่น การดูโทรทัศน์ การอ่านหนังสือ
ุ6.แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้านอนตรงเวลาและตื่นตรงเวลาเป็นประจำในเวลาใกล้เคียงกัน
7.แนะนำให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน
8.แนะนำไม่ให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำมากในตอนเย็นและตอนค่ำ ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อใหญ่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเข้านอน
9.แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสมำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้ง ละ 20-30 นาที
กิจกรรมผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล
กิจกรรมผู้สูงอายุ
2.ทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน ก่อนเข้านอน
3.สวดมนต์และทำสมาธิก่อนเข้านอน
4..เข้านอนและตื่นตรงเวลา
5.ปัสสาวะก่อนเข้านอน และไม่ดื่มน้ำมากในตอนเย็นและตอนค่ำ
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของการนอนหลับไม่มีคุณภาพ เช่นอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกหงุดหงิด ง่วงนอนเวลากลางวัน รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน
กิจกรรมผู้ดูแล
2.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน ก่อนเข้านอน
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของการนอนหลับไม่มีคุณภาพ เช่นอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิในการทำงาน รู้สึกหงุดหงิด ง่วงนอนเวลากลางวัน รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน
3.จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เงียบสงบ และสะอาด
4.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเข้านอนและตื่นให้ตรงเวลา
5.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุปัสสาวะก่อนเข้านอน หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากในตอนเย็นและตอนค่ำ