Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะรกเกาะต่ำ Vasa previa - Coggle Diagram
ภาวะรกเกาะต่ำ Vasa previa
ความหมาย
ภาวะที่หลอดเลือดของสายสะดือหรือของรกทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกและทอดผ่านบริเวณปากมดลูก และอยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารก เมื่อมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มทารกและเส้นเลือดในบริเวณดังกล่าวจะเรียกว่า ruptured vasa previa
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกิดร่วมกับการที่สายสะดือเกาะบนเยื่อหุ้มทารก(velamentous insertion) ซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะที่มีรกน้อยแบบ placenta succenturiata หรือเกิดร่วมกับครรภ์แฝด ซึ่งครรภ์แฝดมีโอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำได้มากและสายสะดือของครรภ์แฝดมีโอกาสเกาะบนเยื่อหุ้มทารกได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว
พยาธิสรีรภาพ
การที่หลอดเลือดซึ่งทอดออกจากสายสะดือมาเกาะอยู่บนถุงน้ำคร่ำและทอดผ่านปากมดลูก เมื่อถุงน้ำคร่ำแตกหรือถูกเจาะที่บริเวณปากมดลูก จึงทำให้หลอดเลือดที่ทอดผ่านปากมดลูกฉีกขาดด้วย และมีเลือดไหลออกมาจากสายสะดือซึ่งมาจากตัวทารก ทำให้ทารกในครรภ์เสียเลือด ขาดออกซิเจนและมีโอกาสตายในครรภ์สูง
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของ vasa previa แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะก่อนถุงน้ำคร่ำแตก มีอาการและอาการแสดง ดังนี้
1.1 ขณะตรวจทางช่องคลอดจะคลำพบหลอดเลือดที่เต้นในจังหวะเดียวกับเสียงหัวใจทารก
1.2 ส่องตรวจถุงน้ำคร่ำ (amnioscopy) จะเห็นหลอดเลือดทอดอยู่บนถุงน้ำคร่ำชัดเจน
1.3 ตรวจด้วย ultrasound อาจเห็นหลอดเลือดทอดอยู่ต่ำกว่าส่วนนำ
1.4ตรวจพบเสียงหัวใจทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงจากการที่หลอดเลือดถูกกดโดยส่วนนำ หรือพบว่า FHR มีภาวะ variable deceleration
ระยะหลังถุงน้ำคร่ำแตก มีอาการและอาการแสดง ดังนี้
2.1 มีเลือดปนออกมากับน้ำคร่ำ
2.2 มีภาวะ fetal distress เพราะเลือดที่ออกมาเป็นเลือดจากทารก
การวินิจฉัยและการวินิจฉัยแยกโรค
วินิจฉัยได้จากอาการและ
อาการแสดงที่พบ และ
ต้องวินิจฉัยแยกโรคจาก
ภาวะสายสะดือย้อย
(prolapsed cord)
และภาวะรกเกาะต่ำ ดังนี้
การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการมีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด ลักษณะน้ำคว่ำและการดิ้นของทารก
การตรวจร่างกาย พบน้ำคร่ำมีเลือดปน เสียงหัวใจของทารกผิดปกติ ตรวจภายในอาจคลำได้ลักษณะคล้ายหลอดเลือดที่เต้นเข้าจังหวะ (synchronous) กับเสียงหัวใจของทารก เมื่อเอานิ้วกดบริเวณนี้อาจทำให้เสียงหัวใจของทารกเปลี่ยนแปลง ตรวจรกและถุงน้ำคร่ำภายหลังคลอดจะพบรอยฉีกขาดของเส้นเลือดที่ทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารก เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจแยกเม็ดเลือดแดงของทารกกับของมารดาโดยตรวจจากน้ำคว่ำ ด้วยวิธี wright stain ซึ่งเม็ดเลือดแดงของทารกจะมีนิวเคลียส (nucleated red cell) แต่ของมารดาเม็ดเลือดแดงจะไม่มีนิวเคลียส ถ้าตรวจพบลักษณะเม็ดเลือดแดงของทารกแสดงว่ามีภาวะ vasa previa
การรักษาและการพยากรณ์โรค
แนวทางการรักษา
กรณีที่วินิจฉัยได้ก่อนถุงน้ำคร่ำแตก
จะรักษาโดยการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
กรณีที่วินิจฉัยได้ภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก ต้องทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยเร็ว เช่น การช่วยคลอดด้วยคีม การผ่าตัดนำทารกออกทางหน้าท้อง หรือหากทารกตายในครรภ์แล้วอาจให้คลอดเองทางช่องคลอด และเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดทุกครั้งที่ถุงน้ำคร่ำแตกหรือเจาะถุงน้ำคร่ำต้องคำนึงภาวะ vasa previa ด้วยเสมอ โดยเฉพาะในรายที่รกเกาะต่ำและตั้งครรภ์แฝด
การพยาบาลสตรีมีครรภ์ที่มีภาวะ vasa previa
อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวทราบถึงพยาธิสภาพ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นแผนการรักษา รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อลดความวิตกกังวลและความร่วมมือในการรักษา
ประเมินเสียงหัวใจของทารกอย่างต่อเนื่องด้วย electronic fetal monitor
ให้ออกซิเจน 4-5 ลิตร/นาที
เตรียมการช่วยคลอดทางช่องคลอด หรือการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยเร็วตามแผนการรักษา รวมทั้งเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม
เตรียมการช่วยเหลือทารกแรกเกิดทันที รวมทั้งเตรียมทีมบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆให้พร้อม