Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทรวงอก (Chest injury) - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทรวงอก
(Chest injury)
สาเหตุ
ชนิดไม่มีแผลทะลุ เช่น อุบัติเหตุทางจราจร การตกจากที่สูง
ชนิดมีแผลทะลุ เช่น การถูกยิง ถูกแทงหรือถูกของมีคมอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงกลศาสตร์ของปอด
พยาธิสภาพที่พบได้บ่อยคือ กระดูก ซี่โครงหัก มักเกิดร่วมกับการฉีกขาดของหลอดเลือดบริเวณผนังทรวงอก เมื่อมีการเคลื่อนไหวของทรวงอกจากการหายใจ หรือการไอจะทาให้มีอาการเจ็บปวดมาก ทำให้หายใจตื้นและช้าลงส่งผลให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดลดลง
ภัยอันตรายของทรวงอกที่สำคัญและพบบ่อย
ภาวะอกรวน (Flail Chest) หมายถึง ภาวะใดก็ตามที่ผนังทรวงอกถูกกระแทกอย่างรุนแรงทำให้มีกระดูกซีโครงหักอย่างน้อยที่สุด 3 ซี่ และแต่ละซี่จะต้องมีการหักมากกว่าหนึ่งตำแหน่งขึ้นไปและอาจพบร่วมกับการหักของกระดูกหน้าอก
ภาวะปอดช้ำ (Lung Contusion) เป็นภาวะที่เมื่อมีแรงมากระทำ ต่อผนังทรวงอก และแรงนั้นเคลื่อนที่ต่อไปเป็นคลื่น (Wave) ผ่านผนังทรวงอกไปสู่ปอด เมื่อปอดได้รับแรงกระทำจะทำให้เกิดภาวะซอกช้าขึ้น
ภาวะลมในช่องเยื่อหุ้มปอด(Pneumothorax) เป็นภาวะที่อาจเกิดจากการฉีกขาดของเนื้อปอดและ/ หรือลมผ่านเข้าไปทางบาดแผลทะลุบริเวณทรวงอกซึ่งภาวะนี้พบได้หลายชนิด ได้แก่ 3.1. Simple Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดโดยไม่มีทางติดต่อกับอากาศภายนอก หรือไม่มีแผลทะลุ 3.2. Open Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด จากการที่มีทางติดต่อกับอากาศภายนอก โดยผ่านทางบาดแผลทะลุที่ทรวงอก 3.3. Tension Pneumothorax เป็นภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยเป็นลมที่เข้าไปในช่องเยื่อหุ้ม
ปอด ขณะหายใจเข้า แต่ขณะหายใจออกลมไม่สามารถออกสู่ภายนอกได้
ภาวะเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax) เป็นภาวะที่มีเลือดอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดจากการถูกทิ่มแทงจากของมีคมที่ทะลุผ่านเข้าไปทางทรวงอกหรืออาจเกิดจากตัวของกระดูกซี่โครงที่หักอยู่ทิ่มแทงเองก็ได้
พยาธิสภาพอื่นๆที่อาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บทรวงอก ได้แก่ 5.1. หลอดลมแตกทะลุ 5.2. กระบังลมฉีกขาด 5.3. ถุงหุ้มหัวใจ (Pericardium) ฉีกขาด 5.4.อหลอดอาหารแตกทะลุ (Esophageal Rupture) 5.5. Traumatic Aortic Aneurysm 5.6. Chylothorax 5.7. ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ(Cardiac Complication) 5.8.ภาวะแทรกซ้อนภายในช่องท้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและปัญหาทางการพยาบาล
ขาดประสิทธิภาพในการทา ทางเดินหายใจให้เปิดโล่งเนื่องจากไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกเองได้หรือมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจ
แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากภาวะอกรวน หรือมีกระดูกซี่โครงหัก
มีการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากมีเลือดหรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซ็อคจากปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจากสูญเสียเลือดจากการได้รับบาดเจ็บที่ทรวงอก
ไม่ได้รับความสุขสบายเนื่องจากการเจ็บปวดที่ทรวงอก
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีความผิดปกติของทางเดินหายใจและ/หรือมีบาดแผลที่ทรวงอก
อาจได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความวิตกกังวลไม่เข้าใจพยาธิสภาพของโรค
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อระบายที่ทรวงอก (ICD.)
ข้อบ่งชี้ในการใส่ ICD.
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางทรวงอก
ผู้ป่วยที่มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด
ผู้ป่วยอุบัติเหตุที่ได้รับอันตรายที่ทรวงอกและมีภาวะ เลือดและ/หรือลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
วัตถุประสงค์ของการใส่ ICD.
ช่วยระบายเลือด สารเหลวหรืออากาศ ออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด และช่องเมดิแอสตินัม
ช่วยให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ทำให้การทำงานของหัวใจและปอดกลับสู่ปกติ ภายหลังการผ่าตัดทรวงอกหรือการบาดเจ็บ
เพื่อให้ความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดคงที่
เพื่อป้องกันไม่ให้เมดิแอสตินัมเคลื่อนตัวไปหรือถูกกด ซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้
ชนิดของการใส่ ICD.
แบบขวดเดียว
แบบสองขวด
แบบสามขวด
การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ ICD.
1.ดูแลการทำงานของ chest drain โดยสังเกตการณ์ขึ้นลงของระดับน้ำ (fluctuation) ใน tube ที่จุ่มอยู่ใต้น้ำถ้าผู้ป่วยหายใจออกระดับน้ำใน tube จะต่ำลง และมีฟองอากาศในน้ำ ถ้าผู้ป่วยหายใจเข้าระดับน้ำใน tube จะสูงขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์กันอย่างนี้เสมอ
การทำ milking สายยางซึ่งต่อกับ chest tube ลงสู่ขวด เพื่อช่วยให้สารเหลวต่างๆเช่น exudate ,หนองหรือ blood clot ที่ค้างอยู่ใน tube ไหลออกได้สะดวกซึ่งจะทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
การป้องกันอุบัติเหตุที่สำคัญที่สุด คือ ระวังขวดที่ใช้รองรับสารเหลวหรือขวด Chest drain แตกหรือล้มพยาบาลจะต้องเตรียม clamp หุ้มยางอย่างน้อย 2 ตัว ไว้ใกล้ๆผู้ป่วย เพื่อจะใช้ได้ทันทีเมื่อมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น และสามารถใช้ clamp ได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าสู่ปอด
ตำแหน่งของขวด drain ควรวางไว้เฉพาะที่ซึ่งจัดไว้ หรือยึดติดพื้นไว้ให้แน่นสายยางที่ต่อระหว่าง chest tube กับขวด Chest drain จะต้องยาวพอสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การทำหัตถการต่างๆ และตัวผู้ป่วยเองก็จะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
ให้ผู้ป่วยพลิกตัวเปลี่ยนท่าบ่อยๆร่วมกับการหายใจลึกๆ ไอแรงๆ เป็นการเพิ่มความดันในปอด ทำให้สารเหลวหรือ exudate ระบายออกได้ดี
การบันทึกสารเหลวหรือ exudate ต้องบันทึกถึง สี ลักษณะ จำนวนของสารเหลวหรือexudate ที่ออกทุก 8 ชั่วโมง ในบางรายอาจจะต้องบันทึกทุกชั่วโมงเพื่อสังเกต ภาวะตกเลือด (bleeding)ในช่องอก
เวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้อง clamp สายยางก่อนทุกครั้ง โดยใช้ clamp หุ้มยางอย่างน้อย 2 ตัว
clamp แบบสลับกันเพื่อให้เกิดความสมดุล ไม่ดึงรั้ง
ถ้าสายยาง chest drain หลุด ต้องรีบใช้ Vaseline gauze ปิด ทับด้วย gauze และพลาสเตอร์ให้แน่นทันที แล้วรายงานให้แพทย์ทราบ
ข้อบ่งชี้ในการถอด ICD.
ไม่มี bleeding ออกเพิ่ม ในราย Hemothorax
มีสารเหลวหรือ exudate น้อยกว่า 50 ซี.ซี. ต่อวัน
ไม่มีการขึ้นลงของระดับน้ำ (fluctuation) แสดงว่าปอดขยายตัวดี แต่ต้องแยกจาก tube อุดตัน ซึ่งผู้ป่วยจะไม่มีอาการหอบ ไอ หรือแน่นอึดอัดร่วมด้วย
X-ray chest ผลปรากฏว่าไม่มีเลือด หรือfluid ค้างอยู่และปอดขยายตัวดี
ไม่มีแผนการรักษาโดยการผ่านตัดโดยใช้ยาสลบในระยะเวลาอันใกล้
อ้างอิง
อาจารย์วาสนา ทรัพย์ประเสริฐ. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทรวงอก (Chest injury). คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี
อาจารย์นายแพทย์ธีรพงศ์ โตเจริญโชค. การใส่สายระบายทรวงอก (Chest tube insertion). สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ประภา แก้วพวง. (2557). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่มีภาวะเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด. วารสารวิชาการ. 16(3)