Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system), image, image, image, image, image, image…
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive system) เป็นระบบที่รวมอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการรับอาหาร การย่อยโดยแปรรูปอาหารให้เป็นสารอาหารที่จำเป็น และการดูดซึมสารอาหารเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการกำจัดเอากากอาหารที่ร่างกายไม่ใช้ออกจากร่างกาย
ปาก (Mouth)
ฟัน (Teeth) ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารที่รับประทานให้เล็กลง โดยมนุษย์จะมีฟัน 2 ชุด ชุดแรก คือ ฟันน้ำนม มี 20 ซี่ ส่วนชุดที่ 2 คือ ฟันแท้มี 32 ซี่
น้ำลาย (Saliva) ถูกผลิตจากต่อมน้ำลาย (Salivary gland) โดยน้ำลายนั้นจะมีเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลีน (Ptyalin) ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งให้มีขนาดเล็ก
ลิ้น (Tongue) ทำหน้าที่รับรสอาหาร เกลี่ยอาหารเพื่อให้ฟันบด คลุกเคล้าอาหารเพื่อสะดวกในการกลืน ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ ที่พื้นผิวปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (Taste bud)
คอหอย (Pharynx)
อยู่หน้ากระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหาร โดยระหว่างการกลืน ขณะที่อาหารผ่านคอหอย หลอดลมจะปิดเพื่อไม่ให้อาหารไหลเข้าไป บริเวณนี้ไม่มีการย่อยเกิดขึ้น
หลอดอาหาร (Esophagus)
มีทั้งส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อลายและส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อเรียบ ทำหน้าที่รับอาหารจากคอหอยและส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร โดยการบีบรัดกล้ามเนื้อหลอดอาหารในลักษณะของการหดและคลายกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ
กระเพาะอาหาร (Stomach)
อยู่ระหว่างปลายของหลอดอาหารกับส่วนต้นของลำไส้เล็ก มีลักษณะคล้ายถุงมีผนังกล้ามเนื้อเป็นลูกคลื่น มีความแข็งแรง เป็นที่รองรับ คลุกเคล้าอาหาร และหลั่งน้ำย่อยประเภทโปรตีนซึ่งจะทำให้อาหารกลายเป็นของเหลวเหนียว ๆ แล้วส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก บริเวณที่เชื่อมต่อกับหลอดอาหารจะมีหูรูดป้องกันน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลขึ้นหลอดอาหาร
ลำไส้เล็ก (Small intestine)
คล้ายท่อกลวงขดไปมาในช่องท้อง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่าดูโอดีนัม (Duodenum) ส่วนกลางที่เรียกว่าเจจูนัม (Jejunum) และส่วนปลายที่เรียกว่าไอเลียม (Illeum) เป็นบริเวณที่มีการย่อยและดูดซึมสารอาหารมากที่สุด บริเวณลำไส้เล็กจะมีเอนไซม์จากตับอ่อน (Pancreas) มาช่วยย่อยสารอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต รวมถึงน้ำดีจากตับ (Liver) ที่ช่วยย่อยไขมันและกำจัดของเสียในเลือด
ลำไส้ใหญ่ (Large intestine)
ประกอบด้วย 3 ส่วน เริ่มจากส่วนที่เรียกว่าซีคัม (Caecum) ซึ่งมีส่วนของไส้ติ่ง (Appendix) ยื่นออกมา ส่วนโคลอน (Colon) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนที่ยาวที่สุด มีหน้าที่ดูดซึมน้ำและวิตามินบางชนิด รวมถึงการขับกากอาหารให้เข้าสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนที่เรียกว่าไส้ตรง (Rectum) เพื่อรอขับถ่ายผ่านทางทวารหนัก (Anus)
ต่อมน้ำลาย (Salivary gland)
มี 3 คู่ คือ ต่อมข้างกกหู ถ้าอักเสบจะมีอาการ บวมแดง เรียก คางทูม ต่อมใต้ขากรรไกรและต่อมใต้ลิ้น ผลิตน้ำลายลักษณะต่าง ๆ เปิดเข้าสู่ปาก
ตับ (Liver)
ป็นอวัยวะภายในที่มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกาย เช่น การควบคุมปริมาณน้ำตาลกลูโคส (Glucose) โดยเซลล์ตับจะเก็บไว้ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cell) การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน (Hormones) และการกำจัดสารพิษ และที่สำคัญ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหาร โดยผลิตน้ำดี (Bile) ส่งเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม เพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน
ตับอ่อน (Pancreas)
เป็นอวัยวะที่จัดอยู่ในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อ โดยในระบบย่อยอาหารนั้นตับอ่อนจะสร้างน้ำย่อยที่มีเอนไซม์หลายชนิด เพื่อทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน โดยเอนไซม์เหล่านี้จะถูกหลั่งออกมาและรวมเข้ากับน้ำดีจากถุงน้ำดี ก่อนที่จะเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม นอกจากนี้ในระบบต่อมไร้ท่อ ตับอ่อนยังมีการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) โดยฮอร์โมนทั้งสองตัวมีผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ถุงน้ำดี (Gallbladder)
เป็นอวัยวะในช่องท้องเพื่อเก็บสะสมน้ำดี (bile) ที่ผลิตจากตับ โดยจะส่งน้ำดีผ่านท่อถุงน้ำดี เข้าท่อน้ำดีตับ ท่อน้ำดีใหญ่ ท่อตับอ่อน ก่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร
โรคระบบย่อยอาหารที่พบบ่อย
โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน โรคกรดไหลย้อน โรคท้องร่วง โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไขมันพอกตับ ตับอ่อนอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ