Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา (Counseling Techniques) - Coggle Diagram
เทคนิคและกลวิธีในการให้คำปรึกษา
(Counseling Techniques)
เทคนิคการให้คำปรึกษา
(Counseling Technique)
1.1 เทคนิคการนําเข้าสู่การสนทนา
(Opening the Interview)
ที่ปรึกษาควรสร้างบรรยากาศของการ
เริ่มต้นการให้คําปรึกษาให้อบอุ่นและเป็นกันเอง
1.2 เทคนิคการตั้งคําถาม (Questioning)
ควรเป็นคําถามที่ดีจะเป็นคําถามปลายเปิดที่เป็นกลาง
1.3 เทคนิคการการซักถาม (Probing)
เป็นการป้อนคําถามตรง ๆ หลาย ๆ เพื่อดึงเอาคําตอบออกมา ไม่ควรใช้บ่อยนัก เพราะเป็นการรีบเร่งกระบวนการในการให้คําปรึกษา
1.4 เทคนิคการใช้ความเงียบ (Silence)
ใช้ภายหลังจากที่ที่ปรึกษาป้อนคําถามและ
ผู้ประกอบการกําลังคิดว่าจะตอบปัญหานั้นหรือไม่
หรือจะตอบปัญหานั้นอย่างไร
1.6 เทคนิคการสร้างความกระจ่าง (Clarification)
สะท้อนความคิดของผู้ประกอบการ โดยการใช้คําพูดของที่ปรึกษาเองทวนข้อความ เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่ที่ปรึกษาเข้าใจถูกต้องตรงกัน
1.5 เทคนิคการทบทวนประโยค (Paraphrasing)
ทบทวนประโยคก็เพื่อจะบอกให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงประเด็นสําคัญในเรื่องที่ตนกําลังพูดอยู่ และทราบว่าที่ปรึกษาเข้าใจเรื่องราวที่กำลังการพูด
1.7 เทคนิคการสะท้อนความรู้สึก
(Reflection of Feeling)
นําเอาข้อความและคําพูดมาตีความหมายและพูดออกมาในเชิงของ ความรู้สึกที่แฝงอยู่ในเนื้อหานั้น
1.8 เทคนิคการสรุป (Summarizing)
การพยายามรวบรวมสิ่งที่พูดกันไปแล้ว ให้เป็นประโยคเดียว โดยครอบคลุมเนื้อเรื่องต่าง ๆ
1.11 การแสดงความเห็นชอบ (Approval)
เป็นกลวิธีหนึ่งที่จะให้กําลังใจแก่ผู้ประกอบการที่จะดําเนินวิธีการแก้ไขปัญหาต่อไป
1.10 การชี้แนะ (Suggesting)
เป็นเทคนิคในการเสนอความคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอ้อม ๆ เพื่อจูงใจ
1.9 เทคนิคการตีความ (Interpreting)
การตีความเพื่อให้ผู้ประกอบการเห็นความเกี่ยวข้องของปัญหาและยอมรับในปัญหานั้น
1.12 การให้ความมั่นใจ ( Assurance)
ที่ปรึกษาจะแสดงออกเพื่อเป็นการให้ความมั่นใจ
แก่ผู้ประกอบการ
1.14 เทคนิคการท้าทาย (Challenge)
เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะกระตุ้นความตั้งใจมากขึ้นในการแก่ปัญหาแต่ในเวลาเดียวกันกลวิธีดังกล่าวก็อาจสร้างความกังวลใจเพิ่มขึ้นได้
1.13 เทคนิคการเผชิญหน้า (Confrontation)
ช่วยผู้ประกอบการให้เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนพฤติกรรมของตนเองให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น
1.15 การแสดงการไม่ยอมรับ (Rejection)
ผู้ประกอบการแสดงความคิดเห็นที่ผิดไปจากความเป็นจริงหรือแสดงออกถึงความคิดที่เพ้อฝันมากเกินไป
1.16 เทคนิคการฟัง (Listening)
ที่ปรึกษามิใช้จะรับฟังแต่เพียงเรื่องราวที่ผู้ประกอบการเล่าออกมาเท่านั้น แต่จะต้องทําความเข้าใจถึงความรู้สึกของผู้ประกอบการ
เทคนิคการสัมภาษณ์เพื่อการให้คําปรึกษา (Interviewing Technique)
การค้นหาปัญหาที่แท้จริง
เข้าใจถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งทรัพยากรและข้อจํากัดที่มีอยู่ และสามารถหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้นๆ และจะช่วยให้บรรยากาศของการให้คําปรึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น และช่วยให้ได้ข้อมูลของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการให้คำปรึกษา
เทคนิคการใชโทรศัพท์เพื่อการให้คําปรึกษา (Telephone Technique)
การใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่สะดวกสบายและได้รับความนิยมอย่างสูง การให้คําปรึกษาทางโทรศัพท์ก็ยังเป็นประโยชน์ ในกรณีฉุกเฉิน
ขั้นตอนการสื่อสารทางโทรศัพท์
1.1 การเตรียมการ
1.2 การสนทนา
1.3 การสร้างสัมพนธภาพ
มารยาทและเทคนิคการใชโทรศัพท์ 2.1Do and Don't ในการใช้โทรศัพท์ 2.2เทคนิคการใช้โทรศัพท์
ทักษะการสื่อสารทางโทรศัพท์
3.1การใช้เสียงและน้ําเสียง (Voice & Tone)
3.2การใช้ภาษาและถ้อยคํา (Words)
3.3รับรู้คู่สนทนาอย่างเข้าอกเขาใจ (Empathy and client's perception)
ขั้นตอนการให้คําปรึกษาทางโทรศัพท์
4.1 เตรียมตาราง ข้อมูล อุปกรณ์การเขียน อยู่ใกล้มือ
4.2 เตรียมตนเองที่จะสนทนาอย่างสร้างสัมพันธภาพ
4.3 นัดหมายกับคู่สนทนาในเวลาที่ เหมาะสม
4.4 อธิบายถึงความจําเป็นที่จะต้องให้คําปรึกษาทางโทรศัพท์
4.5 สอบถามทีละประเด็น ทีละคําถาม หลีกเลี่ยงการพูดประโยคยาวๆ
4.6 บันทึกข้อความ สรุปสาระของการสนทนาเป็นระยะ
4.7 สรุปประเด็นการสนทนาเป็นระยะก่อนสนทนาเรื่องใหม่ต่อไป
4.8 หากคู่สนทนาพูดยาว จะต้องมีคําตอบรับเป็นระยะๆ (อืม! ครับ / ค่ะ)
4.9 ก่อนจบการสนทนา ทบทวนประเดน็ สรุปทั้งหมดอีกครั้ง
4.10จบการสนทนาอย่างประทับใจ
เทคนิคการเขียนรายงานเพื่อการให้คําปรึกษา (Written Communication Technique)
ก่อนที่จะเร่มต้นเขียนรายงาน ที่ปรึกษาจะต้องกําหนดจุดมุ่งหมายของงานเขียนอันนั้น รวบรวมและจัดลําดับความคิด และวางแผนการเขียนเป็นเค้าโครงคร่าวๆไว้ก่อน งานเขียนของที่ปรึกษาอาจเป็นการเขียนจดหมาย หรือบันทึกทางธุรกิจ จดหมายอีเลคโทรนิค (e-mail) การ
นําเสนอ หรือนําสรุปให้แก่ผู้รับคําปรึกษาผลการประชุม และข้อตกลงในการให้คําปรึกษาบันทึกสรุปข้อตกลงต่างๆ