Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร, นางสาวนธิตรา ปิ่ณทะศิริ บริหารการศึกษา ป.โท แผน ก…
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ
ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อใช้ในการกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตร ข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์หรือการกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ วัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาสาระที่ควรจัดให้ผู้เรียน ซึ่งอยู่ในลักษณะรายวิชา หลังจากนั้นจึงนำมากำหนดกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการกำหนดวิธีการวัดและประเมินผลผู้เรียนว่าจะใช้วิธีการอย่างไร
การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของโรงเรียนในด้านต่างๆ เช่น บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ และสื่อต่างๆ อาคารสถานที่ ห้องเรียน ปัญหาที่เกิดจากการใช้หลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง
ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชน
จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพและความต้องการของชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ เช่น การศึกษา สาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพ ในปัจจุบันและแนวโน้มของอาชีพในอนาคต สุขภาพอนามัย ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม
ควรคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเป็นสำคัญ
ขั้นที่ 2 การร่างหลักสูตร
กำหนดแผนการจัดประสบการณ์ หรือการกำหนด แนวทางการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน จากข้อมูลในขั้นที่ 1 ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงข้อมูลที่ได้จากข้อที่ 1 เป็นสำคัญในการจัดทำร่างหลักสูตรต่อไป
การกำหนดเนื้อหาสาระ
การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้
การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
การกำหนดวิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร
ก่อนที่จะนำหลักสูตรไปใช้กับนักเรียน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรก่อน เพื่อหาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด สิ่งที่ต้องพิจารณาในการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรคือ ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ จุดประสงค์ เนื้อหาสาระ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ วิธีวัดและประเมินผลผู้เรียน
ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ด้านเนื้อหาสาระ ด้านสื่อการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและการสอน เป็นผู้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะของการจัดประชุม/สัมมนา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำสู่การปรับปรุงหลักสูตร
คณะทำงานร่างหลักสูตร เป็นกลุ่มบุคคลที่พัฒนาหลักสูตรขึ้นมา เช่น คณะครู ผู้บริหารผู้ปกครอง คนในชุมชน เป็นผู้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
คำนึงถึงผู้ที่จะมาตรวจสอบคุณภาพเพื่อหาข้อบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม
ขั้นที่ 4 การนำหลักสูตรไปใช้
ครูที่เป็นผู้ปฏิบัติการหลักในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้นำหลักสูตรไปใช้ ด้วยการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ครูกำหนดวิธีการจัดการเรียนการสอน กำหนดรายละเอียดกิจกรรมในแต่ละคาบ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การประสานงานกับบุคคลที่จะเข้ามาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ควรคำนึงถึงการนำไปใช้จริงของครูว่าสามารถนำไปใช้จริงแล้วได้ผลเป็นเช่นไร
ขั้นที่ 5 การประเมินผลหลักสูตร
เมื่อมีการนำหลักสูตรไปใช้แล้ว จึงมาขั้นตอนคือขั้นตอนการประเมินผลหลักสูตร ว่าหลักสูตรที่นำไปใช้นั้นมีความเหมาะสมกับผู้เรียนมากน้อยเพียงใด และควรแก้ไขปรับปรุงส่วนใด เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น
คำนึงถึงการนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเป็นสำคัญ
นางสาวนธิตรา ปิ่ณทะศิริ บริหารการศึกษา ป.โท แผน ก ห้อง 2 รหัส 64121278032