Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยามารดาหลังคลอด (Anatomy and physiology), S_…
การเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยามารดาหลังคลอด
(Anatomy and physiology)
การเปลี่ยนแปลงในทางสร้างเสริม
การกลับมามีประจําเดือน(Return of Menstrual flow) :star:
การดูดนมโดยทารกจะเป็นการกระตุ้นไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ผ่านทางเส้นประสาทและสมองไปกดไม่ให้มีการหลัง ฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone) และลูทีนไนซิง (Luteinizing)จึงทําให้ไ้ม่มีการ ตกไข่และไม่มีมีประจําเดือน
การตกไข่และการกลับมีประจําเดือน ของมารดาหลังคลอด
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 10–11หลัง
คลอดและเริ่มมีประจําเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 7–9 หลังคลอด มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือนจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อ สัปดาห์ที่ 17 หลังคลอดถ้าเลี้ยงด้วยนมตนเองนาน 6 เดือนจะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอดและจะเริ่มมีประจําเดือน
เมื่อสัปดาห์ที่ 30–36 หลังคลอด
การหลั่งน้ำนม(Lactation) :star:
การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์เพื่อเตรียมต่อมน้ำนมให้พร้อมในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกหลังคลอด เป็นผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนโดยที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนฮอร์โมนหัวนม (nipple) ลานนม (areolar) ขยายใหญ่และมีสีเข้มขึ้น ต่อมไขมันบริเวณ
ลานนม (tubercle of montgomery) หลอดน้ำเหลืองและหลอดเลือด ขยายใหญ่ขึ้นและ
ท่อน้ำนม (milkduct) ก็จะเจริญเต็มที่ ส่วนฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน ฮอร์โมนถุงผลิตน้ำนม (alveoli ) และเซลล์ผลิตน้ำนม ( secreting cell หรือ acini) ที่ภายในถุงผลิตน้ำนมเจริญ เต็มที่เพื่อเตรียมสร้างน้ำนมต่อจากถุงผลิตน้ำนมจะมีท่อน้ำนมเล็กๆ (lactiferous duct) ไปรวมกันเป็นท่อน้ำนมใหญ่ (lactiferous sinus) ซึ่งจะเปิดออกที่หัวนมมีประมาณ 15 – 20 ท่อส่วนของท่อน้ำนมจะขยายโตเป็นกระเปราะ (ampulla) เพื่อเป็นที่เก็บน้ำนมไว้ชั่วคราวซึ่งจะอยู่ตรงกับบริเวณลานนม
การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
หัวนมสีเข้มของหัวนมและลานนมส่งสัญญาณให้ทารกมาดูดนมแม่ขนาด: ปกติยาว 1 ซม. กว้าง 1.3-1.5 ซม. และจะยาวขึ้นประมาณ 2 เท่าในขณะทารกดูดนมมีลักษณะยืดหยุ่นส่วนปลายมีรูเปิดของท่อน้ำนมอยู่ใกล้ฐานของหัวนมประมาณ 5-18 ท่อ
ลานนมผิวหนังเข็มรัศมี 2.2.3.3 ซม. Montgomery's tubercle สร้างไขมันเคลือบหัวนมและลานนมมีท่อน้ำนมขนาดใหญ่ขยายตัวได้เมื่อน้ำนมไหลผ่านและแตกแขนง-หัวนม & ลานนมมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้นประสานเป็นตาข่ายสามารถหดตัวเปลี่ยนรูปร่างได้ทำให้หัวนมยื่นออกได้ระหว่างชั้นกล้ามเนื้อมีปลายประสาทสัมผัสและเส้นเลือดจำนวนมากทำให้ไวต่อการกระตุ้น
myoepithelial cells ให้หดตัวบีบนมออกทางรูเปิดการเจริญของต่อมน้ำนมและแขนงท่อน้ำนมเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์โดยการกระตุ้นฮอร์โมน
estrogen ช่วยในการแตกแขนงของท่อน้ำนม
-progesterone ช่วยกระตุ้นการสร้างต่อมสร้างน้ำนม
ทั้ง estrogen และ progesterone มีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างน้ำนม
-prolactin ช่วยในการแตกแขนงของท่อน้ำนมและกระตุ้นเซลล์สร้างน้ำนมให้เริ่มผลิตน้ำนม
-placental lactogen กระตุ้นการเจริญของเซลล์สร้างน้ำนม Othyroid hormone, Growth hormone, Cortisol, insulin & thyrotopin-releasing hormone ช่วยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเต้านม
ระยะหลังคลอด (Postpartum period,
Post-delivery period)
การแบ่งระยะหลังคลอด :pen:
หลังคลอดระยะต้น(Puerperiumearly)คือระยะ2-7 วันหลังคลอด
หลังคลอดระยะปลาย (Puerperiumlate) คือ ระยะที่นับจากสัปดาห์ที่ 2-6 หลังคลอด
ระยะทันทีหลังคลอด (Puerperium immediate) คือระยะ 24 ชั่วโมงหลัง คลอด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ (Mental change)
ที่ผิดปกติหลังคลอด :pen:
1.อารมณ์เศร้าภายหลังคลอด (Post-partum blues)
อาการที่แสดงออก: วิตกกังวลเครียดหดหูไม่สดชื่นอารมณ์แปรปรวนง่ายสับสนหลงลืมปวดมึนศรีษะนอนไม่หลับและมีความรู้สึกด้านลบต่อการเลี้ยงดูบุตร-มักเกิดขึ้นในสัปดาห์ 1-2 สัปดาห์แรกหลังคลอด-มีอาการประมาณ 2-3 วันและหายเองภายใน 10 วัน
2.ประสาทหลอน (Post-partum depression) มารดามีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า ร้องไห้ง่าย กังวลในสุขภาพของบุตรมาก ควบคุมอารมณ์ ไม่ได้เมื่อบุตรร้องไห้ไม่หยุด
-มักพบในกลุ่มที่มีอารมณ์เศร้าหลังคลอดมาก่อน
-อาการเหมือนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึมเศร้าไม่สนใจตนเองรู้สึกผิดสิ้นหวังรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้รักษาโดยให้ยากลุ่ม Anti depressant ซึ่งขับออกทางนมน้อยมากจึงสามารถให้นมบุตรได้ในระหว่างรับประทานยานี้การส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับมารดาและช่วยให้การรักษาได้ผลดีม
3.โรคจิต (Post-partum psychosis) มีอาการสับสน สูญเสียความจําและสมาธิ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย มีประสาทหลอน หลงผิด คิดฆ่าบุตร
-อาการแสดง: เห็นภาพหลอนสำคัญตนผิด transient disorientation ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริงอารมณ์ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์อาจตรวจพบลักษณะของโรค schizophrenia หรือ manic depressive reaction-การรักษาโดยใช้ยาในกลุ่มจิตเวชหรือการช็อคไฟฟ้า
การเปลี่ยนแปลงในทางลดลง
การกลับคืนสู่สภาพเดิมของอวัยวะต่างๆ
มดลูก (Uterus) :<3:
เมื่อครรภ์ครบกําหนดมดลูกจะมีการยืดขยายประมาณ 11 เท่าของก่อน
ตั้งครรภ์หลังคลอดจึงลดขนาดให้เหมือนเดิม เรียกว่า “มดลูกเข้าอู่” (Involution of uterus) ปกติจะใช้เวลา6 สัปดาห์
อาการปวดมดลูก (Afterpains)
มารดาครรภ์ที่ 2 ขึ้นไป
มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองจะมีการหลั่ง H.Oxytocin
เกิดความไม่สุขสบายช่วง 2-3 วันแรก
น้ำคาวปลา (Lochia) :<3:
Decidual spongiosa (เยื่อบุมดลูกชั้นนอก) มีการเปื่อยและย่อยสลายเกิดน้ำคาวปลาประมาณ 240–480 ซีซีและจะค่อยๆจางลงจนหมดไปภายใน7–21 วันหลังคลอด
แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
Lochia serosa มีประมาณวันที่ 4–9
ลักษณะน้ำคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูสีน้ำตาลหรือค่อนข้างเหลืองมีมูก ปนลักษณะเป็นเลือดจางๆยืดได้
เนื่องจากบริเวณแผลมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นมีเม็ดเลือดขาว น้ำเหลือง (Exudate) ที่ออกมาจากแผล
Lochia alba มีประมาณวันที่ 10 หลังคลอด
น้ำคาวปลาจะค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาวประกอบด้วยเม็ดเลือดขาวเยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวแล้วมูกจากปากมดลูกหรือน้ำเมือกและ จุลินทรีย์เล็กๆ
Lochia rubra น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2–3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากระยะนี้แผลภายในโพรงมดลูกยังใหม่อยู่การซ่อมแซมยังเกิดขขึ้นน้อย สิ่งทีขับออกมามีลักษณะสีแดงคล้ำและข้นประกอบด้วยเลือดเป็นส่วนใหญ่ น้ำคล่ำเศษเยื่อหุ้มเด็กเยื่อบุมดลูก ไขและขนของเด็กขี้เทาลักษณะเลือดไม่เป็นก้อน
ปากมดลูก (Cervix) :<3:
Internal os และ External os บอบช้ำอ่อนนุ่มฉีกขาด ปากมดลูกหดตัวเหลือขนาด 1-2cm
External os มีรอยเหมือนตะเข็บหรือรอยแยกไม่กลมเหมือนก่อนคลอด
ฝีเย็บ (Perineum) :<3:
อาการปวดบริเวณฝีเย็บจะมีลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนัง จากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด
-ฝีเย็บปกติแผลฝีเย็บจะหายปวดประมาณ 3 วันหลังคลอด
-ถ้าแผลฝีเยีบบวมปวดมากในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบ หลัง 24 ชั่วโมงทํา hot sitz bath
-ริดสีดวงทวารที่ยืนโผล่ออกมาหลังคลอดทําให้ปวดแผลฝีเย็บมากการปวดแผลฝีเย็บอาจส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะได้
เยื่อบุช่องท้องและหน้าท้อง (Abdominal wall) :<3:
จะยังคงหย่อนและนุ่ม เพราะเนื้อเยื่อยืดหยุ่นของผิวหนังเกิดการแตกตัว การคืนสู่สภาพเดิมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ขึ้นไป กับลักษณะของรูปร่างของแต่ละคนจํานวนครั้ของการตั้ครรภ์และการบริหารร่างกาย
สำหรับริ้วรอยบนผนังหน้าท้อง (Striae gravidarum) ในระยะหลังคลอดจะไม่หายไปแต่สีจะจางลงเป็นสีเงิน
เยื่อบุช่องท้องและผนังหน้าท้องลักษณะแบบนุ่มและหย่อนเนื่องจาก elastic fiber ของผิวหนังถูกดึงยึดมากและคงที่เป็นเวลานาน
-อาจพบกล้ามเนื้อหนังหน้าท้องแยกตัว (diastasis recti) ทำให้ส่วนกลางไม่มีกล้ามเนื้อ
-อาจพบรอยแตกของผนังหน้าท้องซึ่งยังคงอยู่ตลอดไป
-เยื่อบุช่องท้องที่คลุมมดลูกมีลักษณะฝนเป็นแนวคลุม broad และ round ligaments อย่างหลวม ๆ การกลับคืนสู่สภาพเดิมใช้เวลาหลายสัปดาห์
ช่องคลอด :<3:
-ภายใน 4-6 สัปดาห์หลังคลอดเยื่อบุผนังช่องคลอดเริ่มหนาตัวมักเกิดพร้อมกับการสร้างเอสโตรเจนของรังไข่
-hymen จะฉีกขาดและหดตัวกลายเป็นติ่งเนื้อเยื่อที่เรียกว่า mystiform caruncles
-รอยย่นของผนังช่องคลอด (rugae) จะเริ่มปรากฏในสัปดาห์ที่ 3
-อาจมีเลือดออกเกิดภาวะก้อนเลือด (hematoma) ทำให้ปวดปากช่องคลอดมาก
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ (Systemic changes)
ระบบไหลเวียนโลหิต :smiley:
ปริมาณเลือดหลังคลอดจะเพิ่มมากขึ้นใน 3 วันแรกค่า Hct อาจลดลงขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่สูญเสียไป มารดาคลอด ปกติจะเสียเลือดประมาณ 300-500 ml. (เสียเลือด 250 ทําให้ Hct ลดลง 4%)
ระบบทางเดินอาหาร :smiley:
ทันทีที่คลอดเสร็จมารดาจะหิวและกระหายน้ํา เพราะในระยะคลอดมีการสูญเสียพลังงานมาก ประกอบกับบางรายมีการงดอาหารและน้ําหลายชั่วโมง จึงต้อง รีบให้อาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำและ
อาการท้องผูกในระยะหลังคลอด
สัญญาณชีพ :smiley:
อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียสหลังคลอด และจะปกติภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดชีพจรลดลง อยู่ที่ประมาณ 60-70 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
ระบบทางเดินปัสสาวะ :smiley:
หลังคลอดใหม่รอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะมักมี อาการบวมช้า กระเพาะปัสสาวะมีความตึงตัวลดลง ด้วยเหตุนี้มารดาหลังคลอดจึงมักถ่ายปัสสาวะลําบาก
ไตจะทําหน้าที่กําจัดน้ําและโซเดียมมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะจึงเต็มบ่อย ปกติมารดาหลังคลอดต้อง ปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมง และมีปัสสาวะค้างไม่เกิน 100 ml. หากมีค้างมากกว่านี้อาจทําให้ตกเลือดหรือติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
ภาวะปัสสาวะเล็ด (urinary incontinence) อาจเกิดจาก-คลอดเนิ่นนานในระยะที่ 2 ของการคลอดมีการฉีกขาดของช่องคลอดมากทำให้การทํางานของกล้ามเนื้อรอบท่อปัสสาวะผิดปกติอาการจะดีขึ้น 3 เดือนหลังคลอดใน 24 ชม. แรกหลังคลอดต้องส่งเสริมให้มารดาหลังคลอดได้ปัสสวะด้วยตนเองถ้าภายใน 4 -6 ชม. หลังคลอดกรณีปัสสาวะเองไม่ได้อาจต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาการสวนคาปัสสาวะอย่างน้อย 24 ชม. หากมีปัสสาวะค้างมากกว่า 200 มล. อาจต้องพิจารณาใส่สายสวนปัสสาวะใหม่
กระเพาะปัสสาวะหลอดไตและกรวยไตภายใน 2-5 วันแรกหลังคลอดสารส่วนเกินใน extracellular fluid จะไหลกลับคืนระบบไหลเวียน-กระเพาะปัสสาวะเพิ่มความจุเพื่อรองรับน้ำปัสสาวะส่งผลให้มารดาหลังคลอดขับปัสสาวะออกเพิ่มมากขึ้น (puerperal diuresis)
ระบบผิวหนัง :smiley:
เส้นผมร่วงเป็นหย่อมๆในช่วง 4-20สัปดาห์
ระบบประสาท :smiley:
อาการบวม เจ็บปวดตามข้อนิ้วมือ
ระบบต่อมไร้ท่อ :smiley:
1.ฮอร์โมนจากรก ได้แก่ HPL, HCG และ HCS ลดลงอย่างเร็วจนตรวจไม่พบส่วน Estrogen จะต่ำลงร้อยละ10 ใน 3 ชั่วโมงหลังคลอดและจะต่ำสุดวันที่ 7 หลังคลอด ส่วนProgesterone จะลดต่ำในวันที่ 3 หลังคลอดและประมาณ 1 สัปดาห์จะตรวจไม่พบในซีรั่ม
2.ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองคือ FSH & LH ต่ำลงในวันที่ 10-12 หลัง คลอดส่วน Prolactin ในกระแสเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งระดับ Prolactin จะสูงเพียงใดขึ้นอยู่กับจํานวนครั้งที่ให้บุตรดูดนม ในมารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองระดับ Prolactin จะค่อยๆ ลดลง จนเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ ภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบโครงกระดูก :smiley:
H.Relaxin ลดลง มารดาหลังคลอดยังเจ็บบริเวณสะโพก ข้อต่อกระดูก
สันหลังและกระดูกหัวเหน่า
นางสาวสิริวิภา สุวะไกร รหัสนักศึกษา 61123301168 ชั้นปีที่ 4 ห้อง A เลขที่ 82