Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การใช้ยาในผู้สูงอายุ, นางสาวปาริฉัตร กลับกลาง 621201136 - Coggle…
บทที่ 8 การใช้ยาในผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดปัญหาการใช้ยา
1) ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวผู้สูงอายุ
ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชราที่ส่งผลต่อเภสัชจลศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ
การใช้ยาด้วยตนเอง (self-medication)
ความร่วมมือในการใช้ยา (medication adherence)
การเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลวิทยาในผู้สูงอายุ (Phamacologicalchang in elderly)
1) เภสัชจลศาสตร์ (Pharmacokinetic)
คือ การศึกษาถึงวิธีการที่ร่างกายจัดการกับยาที่ได้รับเข้าไป เช่น การดูดซึมยา (drug absorption), การกระจายตัวของยา (drug distribution), เมตะบอลิสมของยา (drug metabolism), การขับถ่ายยาทางไต (renal excretion),
2) เภสัชพลศาสตร์ (Phamacodynamic change)
คือ การศึกษาการออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกาย หรือการที่ยามีผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องทั้งผลทางด้านชีวเคมีและสรีรวิทยาของยา
กลุ่มยาที่ใช้บ่อยและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตราย ยาที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างยาและการพยาบาล
ยานอนหลับ (hypnotic drugs)
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (hypoglycemic agent)
ยาที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด
(cardiovascular drugs)
ยาต้านโรคจิตและโรคซึมเศร้า
(antipsychotic and antidepressantdrugs)
ยาระงับปวดและลดการอักเสบ (analgesic and
anti-inflammatorydrugs)
ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial drugs
ยาลดความดันโลหิตสูง (antihypertensive agent)
ยากันชัก (anti convulsant)
ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
1) กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชราที่ส่งผลต่อเภสัชจลศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา (adverse drug reaction : ADR) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกาย หลังจากการใช้ยาด้วยขนาดที่ใช้ในมนุษย์ เพื่อการป้องกัน การวินิจฉัยโรค และการรักษา
2) การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันหลายขนาน (polypharmacy)
เนื่องจากแพทย์หลายคน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาของยาต่อผู้ป่วย
3) ความผิดพลาดจากตัวผู้ใช้ยา (human error)
ได้แก่ การซื้อยามารับประทานเองการรับประทานยาที่หมดอายุ เนื่องจากไม่มีความรู้ในการอ่านวันหมดอายุหรือรวมยาหลายชนิดไว้ด้วยกัน ความเชื่อเรื่องการรับประทานยาสมุนไพร
แนวปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างถูกต้องในผู้สูงอายุ
1) ประเมินเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม ด้วยการซักประวัติเกี่ยวกับการใช้ยาในประเด็นต่างๆ
2) ประเมินความเข้าใจของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการใช้ยา [ความฉลาดของผู้สูงอายุในการใช้ยาความเชื่อในการใช้ยา]
3) ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบการใช้ยาหลายชนิด
ค่าใช้จ่าย การใช้ยาสมุนไพรที่ไม่หรือยาหลายชนิดที่ไม่สมเหตุสมผล อาหารเสริมต่างๆ
4) ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยสูงอายุ (aging process) ที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม(drugabsorption) การกระจายตัวของยา (drug distribution)
เมตะบอลิสมของยา (drug metabolism) การขับถ่ายยาทางไต (renalexcretion)
5) ให้ความรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์ในการให้ยาแต่ละชนิด การออกฤทธิ์ของยา อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น อาการของการทำปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยากับยา ความจำเป็นในการรับประทานยาให้ตรงตามขนาด เวลา ต่อผู้สูงอายุ ผู้ดูแล
6) อธิบายความหมายของค าที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา เช่น ก่อนอาหาร 15 นาที หลังอาหาร 30 นาที ยาอมใต้ลิ้น ยาพ่นในจมูกแนวทางในการใช้ยาที่ถูกต้อง
7) อธิบายเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพและการหมดอายุของยา เช่น กลิ่น สี รส ความชื้น รูปทรงที่เปลี่ยนแปลง ลักษณะเม็ดยา ความเหนียว ป้ายบอกวันหมดอายุซึ่งมักเขียนเป็นภาษาต่างประเทศ
8) จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เช่น ฉลากยา ฉลากแจ้งวันหมดอายุของยา ป้ายฉลากห้ามรับประทานที่เขียนด้วยหมึกแดงกล่องเก็บยา การจัดยาด้วยกล่องจัดยา นาฬิกาเตือนรับประทานยา
9) ประเมินครอบครัว ผู้ดูแลที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุเกี่ยวกับความรู้ของการใช้ยาพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุแก่ผู้ดูแล
10) แนะนำผู้สูงอายุ และญาติให้ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ไม่ใช้ยาของบุคคลอื่นแม้จะป่วยเป็นโรคคล้ายคลึงกัน เพราะอาจเกิดพิษจากยาได้
11) หากพยาบาลประเมินพบว่าผู้สูงอายุมีอาการแสดงจากผลข้างเคียงของการใช้ยา หรือการเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยา เช่น การเกิดภาวะสับสนในผู้สูงอายุ การมองเห็นผิดปกติ
13) การประเมินและทบทวนการบริหารยาของผู้สูงอายุและผู้ดูแลโดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน โดยการให้ข้อมูลความรู้ในการบริหารยาและทบทวนความถูกต้องแม่นยำหลังจากให้คำแนะนำ
12) การส่งเสริมการรักษาจากการไม่ใช้ยาผู้สูงอายุบางรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia) และปัญหาด้านพฤติกรรม
14) ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีส่วนสนับสนุนการดูดซึมยา การกระจายตัวของยา หรือป้องกันการเกิดผลข้างเคียงจากยา
15) จัดโปรแกรมการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้องสมเหตุสมผล โปรแกรมร่วมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาที่ถูกต้อง
นางสาวปาริฉัตร กลับกลาง 621201136