Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด, นางสาวสุภัทรา บดีรัฐ ห้อง A…
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด
ระบบหายใจ
ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาได้รับออกซิเจนทางรก ทันทีที่ทารกคลอดจะเริ่มหายใจเอง โดยปอดจะทําหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ทารกปกติจะหายใจภายใน 1 นาทีหลังคลอด
กลไกการหายใจครั้งแรกเกิดขึ้นเนื่องจาก 4 ปัจจัย
ปัจจัยด้านการรับสัมผัส (Sensory stimuli) ทารกเปลี่ยนสภาวะจากในครรภ์ที่เงียบสงบ มีแสงน้อย อุณหภูมิอบอุ่น ออกมาอยู่ในห้องซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งกระตุ้น ได้แก่ อุณหภูมิที่เย็นกว่า แสง เสียง การสัมผัส การจับต้องขณะทําคลอด สิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นเซลล์ประสาทบริเวณผิวหนัง และส่งต่อไปศูนย์หายใจที่สมองส่วน Medulla ทําให้เกิดการหายใจ
ปัจจัยด้านเคมี (Chemical stimulus) การผูกรัดสายสะดือทําให้การไหลเวียนของเลือดผ่านรกหยุดลง มีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง และมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นที่ Carotid and Aortic Chemo receptors ส่งกระแสประสาทไปศูนย์หายใจที่สมอง ส่วน Medulla ทําให้เกิดการหายใจ
ปัจจัยด้านอุณหภูมิ (Thermal stimulus) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากในครรภ์มารดา 37 องศาเซลเซียส มาสู่อุณหภูมิห้อง คือ 20-23 องศาเซลเซียส ทําให้ทารกต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายของตนเอง ซึ่งจําเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน มีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง และเกิดกลไกการหายใจ
ปัจจัยด้านกลศาสตร์หรือกายภาพ (Mechanic stimulus หรือ Physical stimulus) เนื่องจากขณะที่ทารกคลอดทางช่องคลอด ทรวงอกจะถูกบีบรัดด้วยช่องคลอด ทําให้น้ำคร่ำที่อยูในปอด ถูกบีบออกเมื่อคลอดออกมาแล้วปอดจะขยายตัวเพื่อกลับคืนสู่สภาพเดิม อากาศจึงแทนที่เข้าไป จึงถือว่าเป็นการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด
ทารกใช้กล้ามเนื้อท้องหายใจ โดยขณะหายใจเข้า กระบังลมจะถูกดึงลงข้างล่าง เป็นการเพิ่มเนื้อที่ให้ปอดด้านล่างขยายได้มากขึ้น ส่วนกล้ามเนื้อทรวงอกจะทําให้ซี่โครงอยู่ในแนวราบเป็นการเพิ่มเนื้อที่ให้ปอดขยายได้มากขึ้น
การหายใจของทารกแรกคลอด จะไม่สม่ำเสมอ ปกติอยู่ระหว่าง 40-60 ครั้ง/นาที อาจมากถึง 80 ครั้ง/นาที และอาจมีการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ แต่ไม่ควรนานเกิน 5 - 10 วินาที
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
การไหลเวียนโลหิต
ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์ปอดยังไม่ทํางาน การไหลเวียนของโลหิตจะต้องอาศัยรก
เมื่อทารกเกิดแล้วมีการหายใจด้วยปอด เลือดจะผ่านปอดจะเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 15 เท่า ดังนั้นเลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ห้องบนซ้ายเพิ่มขึ้น ทําให้ความดันในหัวใจห้องบนซ้ายมากกว่าความดันในหัวใจห้องบนขวา
ปริมาตรของเลือด
Total blood volume ทั้งหมดของทารกแรกเกิดครบกำหนด จะมีประมาณ 80-85 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ภายหลังเกิดจะมีปริมาตรของเลือดโดยเฉลี่ยเท่ากับ 300 มล. แต่ขึ้นอยู่กับปริมาตรของเลือดที่ได้รับจากรกก่อนตัดสายสะดือ และการบีบตัวของมดลูกหลังจากที่ทารกคลอดมาแล้ว ทําให้เลือดไหลจากรกไปยังทารกเพิ่มอีกประมาณ 50-125 มล.
ถ้าตัดสายสะดือเร็วเกินไปจะทําให้ทารกไม่ได้รับเลือดจํานวนนี้ (ปกติทารกจะถูกตัดสายสะดือประมาณ 30 วินาทีหลังคลอด) จํานวนเลือดที่ได้รับเพิ่มนี้จะช่วยให้ทารกสะสมฮีโมโกลบินไว้ใช้ภายหลัง
ความดันโลหิต
ทารกแรกเกิดจะมีความดันโลหิตประมาณ 60/40 มม.ปรอท
ในวันที่ 10 ความดันโลหิตจะเพิ่มขี้นเป็น 100/50 มม.ปรอท
การวัดความดันโลหิตใช้ Cuff ที่มีความกว้างประมาณ 2/3 ของความยาวต้นแขนทารก ค่าของความดันโลหิตที่ได้จึงจะถูกต้อง การวัดค่าความดันโลหิตที่ได้ผลดีในทารก คือ การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
ระบบการเปลี่ยนแปลงของสารน้ำ และอิเล็กโทรไลต์
ทารกอายุ 10 สัปดาห์ในครรภ์มีส่วนประกอบเป็นน้ำถึง 94% ต่อมาจะค่อยๆ ลดลงเหลือ 70-80% เมื่อครรภ์ครบกำหนด
ส่วนของน้ำที่มีมากได้แก่ น้ำนอกเซลล์ ทําให้ร่างกายของทารกมีระดับของโซเดียม และคลอไรด์สูง ส่วนระดับของโปตัสเซียม แมกนีเซียม และฟอสเฟตจะต่ำ
ทารกแรกเกิดจะเกิดความไม่สมดุลของสารน้ำและ
อิเล็กโทรไลต์ได้ง่าย เนื่องจากพื้นผิวของร่างกายมีมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ทําให้สูญเสียน้ำจากร่างกายได้ง่าย
อัตราการเผาผลาญต่อน้ำหนักตัวในทารกแรกเกิดมีมากกว่าของผู้ใหญ่ 2 เท่า ผลของการเผาผลาญจึงทําให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดภาวะเป็นกรดได้ง่าย
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ไตของทารกแรกเกิดมีจํานวน Glomerulus เท่ากับผู้ใหญ่ แต่ Basement membrane ของหลอดเลือดฝอยที่ไต บางกว่าผู้ใหญ่และจะหนาขึ้นเท่าๆกับผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 3 ปี
อัตราการกรองผ่าน Glomerulus ประมาณ 25-30 ซีซี. ต่อนาที ต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร
การทํางาน ของ Tubules มีขีดจํากัด คือ ประมาณ 1/3 ของผู้ใหญ่ การขับถ่ายอีเล็คโทรไลต์ และสารละลายต่างๆจึงช้า และความสามารถทําให้ปัสสาวะเข้มข้นมีน้อย
ฮอร์โมน ADH ที่สร้างจาก Pituitary gland มี
จํานวนจํากัด ทําให้เสียน้ำออกจากร่างกายได้ง่าย เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย
ทารกแรกเกิดสามารถเก็บปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะได้ประมาณ 16-44 ซีซี
ในวันแรกปริมาณของปัสสาวะที่ไตสร้างขึ้นประมาณ 20 ซีซีและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงวันละประมาณ 200-300 ซีซี เมื่อถึงปลายสัปดาห์แรก จึงทําให้ขับถ่ายปัสสาวะมากอาจถึง 20 ครั้งในหนึ่งวัน
การกรองผ่าน Glomerulus มีขีดจํากัด ทําให้พบ Albumin และ Urates ในปัสสาวะได้ ระหว่างสัปดาห์แรก Urates ที่ออกมากับปัสสาวะ จะทําให้เห็นจุดสีแดงอิฐบนผ้าอ้อมของทารก ถ้าพบ Urates ในปัสสาวะ จะต้องให้ทารกได้รับน้ำเพึ่มขึ้นเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของท่อไต
ระบบทางเดินอาหาร
การเปลี่ยนแปลงขนาดของอวัยวะระบบทางเดินอาหาร
พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของลําไส้และความจุของกระเพาะอาหาร โดยลําไส้ของทารกแรกเกิดจะยาวกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเทียบเป็นอัตราส่วนกับขนาดของร่างกาย
ต่อมผลิตน้ำย่อยและพื้นที่ของลําไส้ที่ช่วยในการดูดซึมมีมากพอทําให้การทํางานของกระเพาะอาหารและลําไส้ในทารกแรกเกิดเป็นปกติทั้งในด้านการย่อยและการดูดซึม แต่การดูดซึมไขมันยังมีขีดจํากัด โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น นมวัว
ความจุของกระเพาะในทารกแรกเกิดมีประมาณ 10-20 ซีซี แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทารกอายุ 1 เดือนความจุจะเพิ่มขึ้นเป็น 150 ซีซี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 360 ซีซี เมื่ออายุ 1 ขวบ
ในระยะแรกเกิดอาหารจะถูกย่อยและผ่านกระเพาะอาหารได้หมดใน 2+2-3 ชั่วโมง และขบวนการบีบรัดตัวของลําไส้จะเกิดขึ้นเร็ว ทําให้อาหารผ่านลงสู่กระเพาะและลําไส้ใหญ่เร็ว อาหารที่ให้จึงควรให้ปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งทุก 2-3 ชั่วโมง
หูรูดของกระเพาะอาหารส่วนบนยังไม่ปิดสนิท ขณะดูดนมมีลมปะปนเข้าไปในกระเพาะอาหารมาก ทําให้ทารกสํารอกนมได้ง่าย จึงต้องทําให้ทารกเรอ หลังให้นมทุกครั้ง อาการสํารอกจะดีขึ้น
ตับอ่อน
ตับอ่อนยังสร้างอะไมเลส มาใช้ในการย่อยได้ไม่ดี ต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จึงจะมีมากพอ และต่อมน้ำลายยังไม่ทํางานจนกว่าอายุ 2-3 เดือน ดังนั้นการให้อาหารแป้งจึงควรเป็น พวกน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และน้ำตาลโมเลกุลคู่
ตับ
เป็นอวัยวะที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ดังนั้นจึงทําหน้าที่หลายอย่างได้ไม่ดี เช่น เปลี่ยน Unconjugated bilirubin เป็น Conjugate bilirubin ได้น้อย ทําให้ทารกแรกเกิดมีตัวเหลืองได้ง่าย
ตับยังสร้าง Prothrombin และ Factor VI ได้ไม่เพียงพอ ทําให้มีเวลาการแข็งตัวของเลือดนานใน 2-3 วันแรกหลังคลอด ดังนั้นการให้วิตามินเค จะช่วยป้องกันภาวะเลือดออกง่ายได้
ระบบการขับถ่ายอุจจาระ
ทารกแรกเกิดปกติจะถ่ายขี้เทา (Meconium) ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายอาจเกิดจากการที่รูก้นตัน ประมาณวันที่ 3 หลังเกิดจะมีการถ่ายเป็นสีเหลืองปนเทา (Transitional stool) ประมาณวันที่ 4 หลังเกิดจึงจะมีลักษณะของสีอุจจาระปกติ (True stool) ตามลักษณะของนมที่ทารกได้รับ
ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ร่างกายของทารกจะมีแหล่งผลิตความร้อนที่สําคัญคือ หัวใจ ตับ สมอง และไขมันสีน้ำตาล (Brown fat) ซึ่งเป็นไขมันที่อยู่บริเวณกระดูกสะบัก กระดูกลิ้นปี่ รอบคอ และอยู่รอบๆไต และต่อมหมวกไต
ทารกแรกเกิดมีความลําบากในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะมีพื้นที่ผิวกายกว้างกว่าผู้ใหญ่เมื่อเทียบตามน้ำหนักตัว มีไขมันใต้ผิวหนังน้อยทําให้ความร้อนภายในร่างกายถ่ายเทให้สิ่งแวดล้อมได้ง่าย
ศูนย์ควบคุมความร้อนซึ่งอยู่ที่ Hypothalamus ยังทําหน้าที่ไม่สมบูรณ์ และกลไกการสั่นของเซลล์กล้ามเนี้อซึ่งช่วยเพิ่มความร้อนให้แก่ร่างกายมีน้อย ทําให้อุณหภูมิร่างกายลดลงเกิดภาวะ Hypothermia ได้ง่าย
ทารกแรกเกิดจะมีการสูญเสียความร้อน 4 ทาง
การระเหย (Evaporation) คือ สูญเสียความร้อนจากการระเหยของน้ำทางผิวหนัง
การนํา (Conduction) คือ สูญเสียความร้อนให้แก่สิ่งที่มาสัมผัสกับตัวทารก
การพา (Convection) คือ สูญเสียความร้อนให้แก่อากาศที่พัดผ่านตัวทารก
การแผ่รังสี (Radiation) คือ สูญเสียความร้อนให้แก่วัตถุหรือสิ่งที่อยู่รอบๆตัวทารกที่อุณหภูมิเย็นกว่า
ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อของทารกเจริญดีแล้ว แต่การทํางานยังไม่สมบูรณ์ ทําให้ร่างกายของทารกควบคุมหน้าที่บางอย่างได้ไม่สมดุล โดยเฉพาะการควบคุมสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ ความเข้มข้นของกลูโคสในกระแสเลือด และการเผาผลาญกรดอะมิโน
ทารกแรกเกิดครบกำหนดจะมีเต้านมแข็งและใหญ่ และอาจมีน้ำนมออกมาด้วย เรียกว่า Witches milk ซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นของ Prolactin
ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้รับจากแม่ขณะอยู่ในครรภ์ลดลง ทําให้มีเลือดออกบริเวณอวัยวะเพศ ในทารกเพศหญิงเรียกว่า ประจําเดือนเทียม ( menstruation)
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
สามารถสร้าง Gamma globulin ได้เอง เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2 ส่วนภูมิคุ้มกันที่มีอยู่นั้นได้รับจากมารดาขณะอยู่ในครรภ์ เป็นชนิด IgG ซึ่งได้แก่ ภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หัด คางทูม และฝีดาษ ถ้ามารดามีภูมิคุ้มกันพวกนี้อยู่แล้วก็ จะถ่ายทอดไปยังทารก เป็น Passive immunity แต่ IgG นี้จะอยู่ในร่างกายของทารกได้นานประมาณ 6 เดือน
ส่วนภูมิคุ้มกันโรคชนิด IgM เช่น โรคไอกรน ถ้าทารกได้รับจากมารดาไม่เพียงพออาจจะเป็นโรคไอกรนได้ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 1 เดือน จึงควรให้วัคซีนป้องกันโรคนี้แก่ทารกก่อนอายุ 6 เดือน
ทารกที่ดูดนมมารดาอาจได้รับภูมิคุ้มกันชนิด IgA จาก Colostrum ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบ คางทูม ไข้หวัดใหญ่ และอีสุกอีใสได้
ระบบประสาท
ทารกในครรภ์ที่มีอายุ 36 สัปดาห์ จะมีเซลล์ประสาทครบ
ทารกแรกเกิดมีสมองขนาดเท่ากับ 25% ของสมองเมื่อเจริญเต็มที่แล้ว โดยทั่วไปการทํางานของระบบประสาทในทารกแรกเกิดจะเป็นรีเฟล็กซ์แรกเริ่ม (Primitive basic reflex)
ระบบประสาทอัตโนมัติจะมีความสําคัญมากในระยะแรกเพราะจะทําหน้าที่กระตุ้นการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด ช่วยควบคุมความเป็นกรดด่าง และอุณหภูมิของร่างกาย
พัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสของทารกแรกเกิด ดังนี้
การได้ยิน
ทารกจะได้ยินทันทีหลังเกิด หรือทันทีที่น้ำคร่ำที่ค้างอยู่ในหูส่วนกลาง ไหลลงไปตามหลอดลมของทารกแล้ว
ในระยะแรกๆ ยังแบ่งทิศทางของเสียงไม่ได้ ทารกจะสะดุ้งผวาและร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงดัง หรือถ้าได้ยินเสียงดังขณะร้องไห้ ทารกอาจจะหยุดร้องและสนใจต่อเสียงนั้นๆ
เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ไปแล้ว จะมีปฏิกิริยาต่อเสียงของมารดาหรือผู้คนที่พบบ่อยๆ
การมองเห็น
ทารกจะมองเห็นตั้งแต่แรกเกิด แต่การมองเห็นของทารกแรกเกิดมีขอบเขตจํากัด คือจะมองเห็นวัตถุเฉพาะที่อยู่ตรงกลางหน้า ในระยะภายใน 8 นิ้ว
เมื่ออายุ 3 เดือนทารกจะกรอกตามองตามวัตถุที่อยู่ในทิศทางต่างๆ ได้ จะกะพริบตาเมื่อมีแสงจ้า (Blining reflex) ส่วนรูม่านตาจะหดตัวเมื่อถูกแสง (Pupillary reflex) ต่อมน้ำตาจะเริ่มงานเมื่ออายุ 2-4 สัปดาห์
การสัมผัส
ทารกจะมีความรู้สึกต่อการสัมผัสของร่างกายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะที่ปาก มือและส้นเท้าจะมีความรู้สึกไวกว่าส่วนอื่น
ทารกจะเงียบและมีความสุขขณะถูกอุ้ม และถ้ากระตุ้นที่ปากหรือลิ้นก็ดูดทันที ความรู้สึกต่อการเจ็บปวดก็มีตั้งแต่เกิดเช่นกัน จะแสดงออกโดยการร้องไห้และโกรธ
การรับรส
จะรู้รสเป็นอย่างดีและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประสาทรับรสอยู่ที่ปลายลิ้น
จะยอมรับอาหารเหลวรสหวานโดยจะดูดได้ดี ใบหน้าแสดงความพอใจ และจะไม่ยอมรับอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือขม จะแสดงออกโดยขมวดคิ้วหรือใบหน้าแสดงถึงความโกรธ
การได้กลิ่น
จะได้กลิ่นทันทีที่ดูดเมือกหรือน้ำคร่ำของมารดาออกจากจมูก สังเกตได้ว่าเมื่อทารกได้กลิ่นนมมารดาจะหันเข้าหาหัวนม
ความรู้สึกต่อการกระตุ้นทางร่างกาย
จะมีความรู้สึกนี้ตั้งแต่เกิด มีความรู้สึกเจ็บปวดของร่างกาย ทารกจะตอบสนองสิ่งกระตุ้นโดยการร้องไห้
นางสาวสุภัทรา บดีรัฐ ห้อง A เลขที่ 86 รหัสนักศึกษา 61123301180
ที่มา : ศรัณญา แสนบรรดิษฐ์. (2561). การประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันปัญหาสุขภาพของทารกแรกเกิด. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564 จาก
https://apps.hpc.go.th/dmkm/web/uploads/2020/034292-20200326172012/7721073429cacbf308989bfb39377926.pdf