Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด, ที่มา : เพ็ชรัตน์…
การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบเลือด
สารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด (clotting Factor) สูงอยู่ และลดลงปกติใน 2-3 สัปดาห์ หลังคลอด
WBC สูงขึ้นถึง 20,000-25,000 c/ml
3 วันหลังคลอด Hct สูงเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับของปริมาณน้ำเหลือง มากกว่าจำนวนของเม็ดเลือด และจะกลับสู่ปกติใน 4-5 สัปดาห์
ปริมาณเลือดลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอด จากระดับ 5-6 ลิตร ในระยะก่อนคลอด จนถึงระดับ 4 ลิตร เท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนเลือด 2-3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้น 15-30% จากการไหลกลับของเลือด
ความดันเลือดและชีพจร
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดทำให้ชีพจรต่ำกว่าปกติเฉลี่ยประมาณ 50-70 /min
ชีพจรลดลงเป็นผลมาจาก เลือดที่เคยไปเลี้ยงรกไหลกลับสู่หัวใจ และถ่ายปัสสาวะมากขึ้น ทำให้เลือดและความดันต่ำลง ทำให้ชีพจรค่อยๆเพิ่มขึ้นจนปกติใน 7-10 วัน
ในระยะคลอดความดันต่ำลงจากการเสียเลือด ทำให้มีเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
จากการลดลงของความดันในช่องท้อง
จากการขยายตัวของหลอดเลือด
จากฮอร์โมนเอสโตรเจน
จากการเสียเลือด ต้องใช้เวลา 2-3 hr ปรับให้สมดุล
ระบบหายใจ
ขนาดช่องท้องและทรวงอกเปลี่ยนรวดเร็วในระยะหลัง คลอด ความจุภายในช่องท้องและกะบังลมลดลง ปอดขยายตัวดีขึ้น การหายใจจึงสะดวกมากขึ้น
ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
ช่วง 1-2 วันแรก จะเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ แขน ขา คอ และไหล่
จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำลง ทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดล
จากการออกแรงเบ่งขณะคลอดและหลังคลอดรก
กล้ามเนื้อหน้าท้องจะนุ่มไม่แข็งแรงและจะหนาบริเวณกลางท้อง
โครงกระดูก
ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมน relaxin ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายมีการยืดขยาย มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไป และมีการเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจากมดลูกที่โตขึ้น เป็นผลให้กระดูกสันหลังแอ่นและกระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักมากขึ้น
หลังคลอด 2-3 วันแรก ระดับฮอร์โมน relaxin ค่อยๆ ลดลง แต่หญิงระยะหลังคลอดยังคงเจ็บปวดบริเวณสะโพกและข้อต่อ ซึ่งจะขัดขวางการเริ่มเคลื่อนไหวและการบริหารร่างกาย
บริเวณข้อต่อจะแข็งแรงมั่นคงจนเข้าสู่สภาพปกติ ประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
ปากมดลูก
บวมหลายวัน มีรอยช้ำ และมีรอยฉีกขาด เสี่ยงติดเชื้อง่าย
18 hr หลังคลอด จะสั้นลง แข็งขึ้น และกลับสู่สภาพเดิม
2-3 วันหลังคลอด ยืดขยายง่ายอาจสอดนิ้วเข้าได้ 2 นิ้ว
1 สัปดาห์หลังคลอด จะกลับสู่สภาพเดิมเกือบสมบูรณ์ แต่ไม่เหมือนก่อนตั้งครรภ์
เยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดจะเกิดรอยแผลบริเวณรกลอกตัว การหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูกเจริญขึ้นมาแทนที่ Decidua basalis ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูกหลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2-3 วันหลังคลอด
Decidua ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นผิวใน (Superficial layer) จะหลุดออกมาเป็นส่วนของน้ำคาวปลา ส่วนชั้นใน (Functional layer) ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูก มีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก Connective tissue จำนวนเล็กน้อยจะงอกขึ้นมาใหม่
ผนังหน้าท้อง
มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อมากเกินไปจากเด็กตัวโต หลังจากเด็กคลอดแล้ว กล้ามเนื้อจะหดรัดตัวแต่ยังแยกจากกัน จึงพยายามจะกลับสู่สภาพเดิมโดยการบริหารร่างกาย
ใช้เวลากลับสู่สภาพเดิม 2-3 เดือน ขึ้นกับลักษณะรูปร่างของแต่ละคน จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ สำหรับริ้วรอยบนผนังหน้าท้อง (Striae gravidarum) หลังคลอดไม่หาย แต่สีจะจางลงเป็นสีเงิน
จะอ่อนนุ่มและปวกเปียกในวันแรกๆ จะไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในได้เต็มที่
มดลูก
จำนวนเซลล์กล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขนาดเซลล์จะลดลง 90% จะกลับสู่สภาพเดิม 2-3 สัปดาห์หลังคลอด
มีการลดขนาดลงทันทีที่เด็กและรกคลอด
ระดับมดลูกจะอยู่ต่ำกว่าสะดือหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ภายหลัง 24 ชั่วโมง จะลอยสูงขึ้นเหนือสะดือเล็กน้อย
อาการปวดมดลูก
สาเหตุเกิดจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ปวดไม่เกิน 72 hr หลังคลอด
อาจรุนแรงเมื่อให้บุตรดูดนม
ฝีเย็บ
มีอาการปวด บวม อาจมีเลือดออกใต้ผิวหนัง Labia Minora และ Labia Majera เหี่ยวและอ่อนนุ่ม
มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บ แต่ช่องทางคลอดแคบ อาจเกิดภาวะ Rectocele หรือ Cystocele ขึ้น ส่วนมารดาที่ได้รับการตัดและได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติใน 5-7 วัน
เต้านม
หัวน้ำนม
เริ่มผลิต 2-3 วันหลังคลอด สีเหลืองข้น จะมีโปรตีน วิตามินที่ละลายในไขมัน เกลือแร่ สังกะสี Na K Cl
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน
เริ่มวันที่ 7-10 หลังคลอด ไปถึง 2 สัปดาห์
ปริมาณอิมมูโนโกลบูลิน โปรตีน วิตามินที่ละลายในไขมันลดต่ำลง
ปริมาณน้ำตาลแลคโตส ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำ พลังงานเพิ่มขึ้น
น้ำนมแม่
เริ่มหลัง 2 สัปดาห์ไปแล้ว ประกอบด้วยน้ำ 87% โดยร่างกายจะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญต่างๆ ของเสียมาจากนมแม่จะต้องขับถ่ายทางไต
น้ำคาวปลา
Lochia rubra
2-3 วันแรก สีแดงคล้ำและข้น
Lochia serosa
วันที่ 4-9 สีจะจางลงเป็นสีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลือง มีมูกปน ออกมาเห็นเป็นสีจางๆ ยืดได้
Lochia alba
วันที่ 10 ค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆหรือสีขาว
การมีประจำเดือน
ถ้าไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองไข่ตกครั้งแรกเมื่อ สัปดาห์ที่ 10-11 และเริ่มมีเมื่อ สัปดาห์ที่ 7-9
ถ้าเลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือน ไข่ตกครั้งแรก สัปดาห์ที่ 17 ถ้าเลี้ยงด้วยนมตนเองนาน 6 เดือน ไข่ตกครั้งแรก สัปดาห์ที่ 28 และเริ่มมีประจำเดือนเมื่อ สัปดาห์ที่ 30-36
ระบบภูมิคุ้มกัน
พบว่า 20% มารดามีหมู่เลือด O ทารกมีหมู่เลือด A,B,AB 5% มีภาวะเลือดเข้ากันไม่ได้ ทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองใน 24 hr ต้องส่องไฟรักษา
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด ช่วงเจ็บครรภ์และคลอด เป็นช่วงที่เลือดส่งจากมารดาไปสู่ทารกมารดา Rh- เพราะจะได้รับ Rh+ จากทารก ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจน ที่เป็นสิ่งแปลกปลอม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
ระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต
ต่ำตั้งแต่ตั้งครรภ์ตอนท้ายไปถึง 1 สัปดาห์หลังคลอด ประกอบกับการลดลงอย่างเร็วของ HPL เอสโตรเจน คอร์ติซอล เอนไซม์จากรก และน้ำย่อย insulinase
ฮอร์โมนของรก
ภายใน 3 hr หลังคลอดเอสโตรเจนลดลง 10% ของค่าในระยะตั้งครรภ์
ประมาณ 3 วันหลังคลอด จะไม่สามารถตรวจพบ
โปรเจสเตอโรนในซีรัมได้ เริ่มผลิตอีกเมื่อไข่ตกครั้งแรกหลังคลอด
ประมาณวันที่ 4 เอสโตรเจนลดลงและตรวจไม่พบในปัสสาวะ
ประมาณ 19-20 วัน มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนม เอสโตรเจนจะกลับสู่ปกติค่อนข้างช้า
ฮอร์โมนในรกลดลงเร็วใน 24 hr ตรวจหา HCG ไม่ได้
ปลายสัปดาห์หลังคลอด ระดับ HCG ลดลง ทดสอบจากปัสสาวะได้ผลลบ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ระดับ FSH และ LH จะต่ำมาก ในวันที่ 10-12
ถ้าไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง โพรแลคตินจะลดลง จนเท่าก่อนตั้งครรภ์ ภายใน 2 สัปดาห์
บุตรดูดนมจะทำให้โพรแลคตินเพิ่มขึ้น จะสูงมากหรือน้อยขึ้นกับจำนวนครั้งที่ให้ดูดนมในแต่ละวัน
โพรแลคตินจะปกติภายใน 6 เดือน ถ้าดูดเพียง 1-3 ครั้งต่อวัน และสูงกว่า 1 ปี ถ้าดูดสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน
ระบบทางเดินอาหาร
2-3 วันแรก มักอยากอาหารและดื่มน้ำมากเพราะเสียน้ำระหว่างคลอดและหลังคลอดระยะแรก
มีแนวโน้มท้องผูก
การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
เสียแรงดันในช่องท้องทันที
กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
ระบบผิวหนังและอุณหภูมิ
ผิวหนัง
ฝ้าที่ใบหน้าจะหายไป แต่สีลานนมเข้ม เส้นกลางหน้าท้องและรอยแตกผนังหน้าท้องไม่หายแต่สีจางลง
หลังคลอดร่างกายขับน้ำ ทำให้มารดามีเหงื่อออก
อุณหภูมิ
Milk fever
จากการคัดนม วันที่ 3-4 T สูงกว่า 38 C จะหายใน 24 hr
Febile fever
จากการติดเชื้อระบบใดระบบหนึ่ง T สูงกว่า 38 C ติดกัน 2 วันหรือมากกว่า
Reactionary fever
จากการขาดน้ำ เสียพลังงาน ชอกช้ำ T ประมาณ 37.8 C ไม่เกิน 38 C จะปกติใน 24 hr
ระบบปัสสาวะ
ท่อและกระเพาะปัสสาวะ
ความตึงตัวลดลง ทำให้มีความจุมากขึ้น แต่ความไวต่อแรงกดจะลดลง
กระเพาะปัสสาวะบวม บวมและช้ำรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ
การทำงานของไต
ภายใน 12 hr จะถ่ายปัสสาวะมากและเหงื่อออกมาก ทำให้มารดาน้ำหนักลดลง ประมาณ 2-2.5 kg และลดลงต่อเนื่อง
Glucosuria ที่เกิดขึ้นจะหายไป
Creatinine clearance จะปกติปลายสัปดาห์แรก
Blood urea nitrogen เพิ่มขึ้น
ที่มา : เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2558). การพยาบาลมารดาระยะหลังคลอด. (ออนไลน์). สืบค้นจาก
https://elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/58/block_html/content/PP(27122556).pdf
นางสาวสุภัทรา บดีรัฐ ห้อง A เลขที่ 86 รหัสนักศึกษา 61123301180