Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงสรีสวิทยามารดาหลังคลอด, นางสาวสุวนันท์ จารุวนาลี เลขที่87A…
การเปลี่ยนแปลงสรีสวิทยามารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
ระดับของมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่ภายหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว ระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือเล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา เนื่องจากกล้ามเนื้อต่างๆเริ่มมีความตึงตัวขึ้น มดลูกจะลดขนาดลงสู่อุ้งเชิงกรานเร็วมากประมาณวันละ 1/2 -1 นิ้ว โดยมดลูกจะลดทั้งน้ำหนักและขนาดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ
มดลูกที่มีการยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์และจะลดขนาดลงในทันทีที่เด็กและรกคลอด มดลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัมกว้าง 12 เซนติเมตรยาว 5 เซนติเมตรหนา 8 – 10 เซนติเมตร
การลดระดับของมดลูก จํานวนของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ขนาดของเซลล์จะลดลงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของการคืนสู่สภาพปกติของมดลูกกล้ามเนื้อ มดลูกจะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 2–3 สัปดาห์หลังคลอด
ฝีเย็บ (Perineum)
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บ ฝีเย็บจะมีลักษณะบวมและอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด Labia minora และ labia majera เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้น หากมารดาหลังคลอดได้รับการทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บและอบแผลด้วยแสง Infrared นาน 15-20 นาทีโดยตั้งไฟห่าง 1– 2 ฟุต ก็จะกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นลดอาการปวดลงได้
มารดาหลังคลอดที่มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บ แต่ช่องทางคลอดแคบเกินไปอาจทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพของกล้ามเนื้อบริเวณนี้เกิดภาวะ Rectocele หรือ Cystocele ขึ้นส่วนมารดาที่ได้รับการตัดฝีเย็บและได้รับการเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
ผนังหน้าท้อง (Abdominal wall)
ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำถ้ามี การยืดขยายของกล้ามเนื้อหน้าท้องมากเกินไปจากเด็กตัวโตทําให้มีการแยกขยายของกล้ามเนื้อส่วนนี้จะถูกยืดขยายมากหลังจากเด็กเกิดแล้ว กล้ามเนื้อจะหดรัดตัว แต่ยังแยกออกจากกันจึงต้องให้กลับสู่สภาพเดิมโดยการบริหารร่างกาย
การกลับคืนสู่สภาพเดิมของกล้ามเนื้อหน้าท้องต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน ขึ้นกับลักษณะรูปร่างของแต่ละคน จํานวนครั้งของการตั้งครรภ์และการบริหารร่างกายสําหรับริ้วรอยบนผนังหน้าท้อง ในระยะหลังคลอดจะไม่หายไป แต่สีจะจางลงเป็นสีเงิน
ผนังหน้าท้องจะอ่อนนุ่มและปวกเปียกในวันแรก ๆ หลังคลอดกล้ามเนื้อหน้าท้องจะยังไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในช่องท้องได้เต็มทีเนี่องจากผนังหน้าท้องถูกยืดขยายเป็นเวลานานในระยะตั้งครรภ์
การมีประจำเดือน
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมตนเอง จะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 10 – 11 หลังคลอดและเริ่มมีประจําเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 7 – 9 หลังคลอด
มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือนจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ 17 หลังคลอด ถ้าเลี้ยงด้วยนมตนเองนาน 6 เดือนจะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอดและจะเริ่มมีประจําเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 30-36 หลังคลอด
นํ้าคาวปลา (Lochia)
Lochia rubra
นํ้าคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากในระยะนี้แผลภายในโพรงมดลูกยังใหม่อยู่ การซ่อมแซมยังเกิดขึ้นน้อยสิ่งที่ขับออกมามีลักษณะสีแดงคล้ำและข้น
Lochia serosa
มีประมาณวันที่ 4-9 ลักษณะน้ำคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลืองมีมูกปนทําให้ลักษณะที่ออกมาเป็นเลือดจางๆ ยึดได้
Lochia alba
ประมาณวันที่ 10 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะค่อยๆน้อยลงเป็นสีเหลืองจาง ๆ หรือสีขาว
เต้านม
หัวนํ้านม (colostrum)
จะเริ่มผลิตใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด มีสีเหลืองข้นซึ่งเกิดจากสารเบตาแคโรทีนที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นวิตามินเอได้ หัวน้ำนมจะมีโปรตีนวิตามินที่ละลายในไขมัน เกลือแร่ ซึ่งรวมถึงสังกะสี โซเดียม โพแทสเซียมและคลอไรด์ มากกว่านมแม่ในระยะหลัง
นํ้านมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk)
เป็นน้ำนมที่ออกมาในช่วงระหว่างหัวน้ำนมจนเป็นน้ำนมแม่ซึ่งระยะปรับเปลี่ยนจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 – 10 หลังคลอดไปจนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอดปริมาณของอิมมูโนโกลบูลินโปรตีนและวิตามินที่ละลายในไขมันจะลดต่ำลงส่วนปริมาณของน้ำตาลแลคโทส ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำและพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
นํ้านมแม่ (true milk หรือ mature milk)
จะเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว มีส่วนประกอบของน้ำมากถึงร้อยละ 87 โดยร่างกายจะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญต่างๆ ซึ่งหลังจากผ่านการย่อยแล้วของเสียที่มาจากนมแม่จะต้องขับถ่ายทางไต
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
ระยะหลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่าง ยังคงบวมเป็นเวลาหลายวัน ส่วนของปากมดลูกที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมีรอยช้ำและมีรอยฉีกขาดเล็กๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอดปากมดลูกจะสั้นลงแข็งขึ้นและกลับคืนสู่รูปเดิม
ประมาณ 2–3 วันหลังคลอดปากมดลูกยังคงยืดขยายได้ง่ายอาจสอดนิ้วเข้าไปได้ 2 นิ้ว
ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 1 จะกลับคืนเหมือนสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามปากมดลูกจะไม่คืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูกและบริเวณรกเกาะ
Decidua ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูก จะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้น คือชั่นผิวใน จะหลุดออกมาเป็นส่วนของนํ้าคาวปลา ส่วนชั้นใน ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูกมีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูกงอกขึ้นมาใหม่
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้ว จะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัว การหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก เจริญขึ้นมาแทนที่ Decidua basalis ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูกหลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2 – 3 วันหลังคลอด
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
ระยะเวลาที่มีอาการปวดมดลูก ปกติจะปวดไม่เกิน 72 ชั่วโมง ถ้ามีอาการปวดมดลูกนานเกิน 72 ชั่วโมง หรืออาการเจ็บปวดรุนแรง อาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมีก้อนเลือดค้างอยู่
อาการปวดมดลูกอาจรุนแรงเมื่อมารดาให้นมบุตร เพราะการดูดนมจะกระตุ้น Posterior pituitary gland หลั่งฮอร์โมน Oxytocin ไปกระตุ้นมดลูกให้หดรัดตัว
อาการปวดมดลูก สาเหตุมาจากการหดรัดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ประมาณ 70% เกิดในหญิงหลังคลอด ส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูก เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลุกยังมีความตึงตัวสูง ยกเว้นว่าจะมีการยืดขยายของมดลูกมาก เช่น ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดนํ้า เด็กตัวโต
การเปลี่ยนแปลงของระบบท่งเดินอาหาร
หลังคลอดมารดามีแนวโน้มที่จะท้องผูก
จากการที่สูญเสียแรงดันในช่องท้องทันที
กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
ในระยะ 2-3 วันแรก มารดามักมีความอยากอาหารและดื่มนํ้ามาก เพราะสูญเสียนํ้าระหว่างคลอดและหลังคลอดระยะแรก
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน
พบว่าร้อยละ 20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดหมู่ O จะมีทารกที่มีเลือดหมู่ A หมู่ B หรือหมู่ AB ซึ่งร้อยละ 5 ของทารกเหล่านี้จะมีภาวะเลือดไม่เข้ากันจนทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดและต้องได้รับการส่องไฟรักษา (Phototherapy)
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด ในช่วงที่เจ็บครรภ์และคลอด เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดาซึ่งจะมีความสําคัญมากในมารดาที่มี Rh- เพราะจะได้รับเซลล์จากทารกในครรภ์ที่มี Rh+ ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจน ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายโดยอาจทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
การเปลี่ยนแปลงของระบบผิวหนังและอุณหภูมิ
ผิวหนัง
ฝ้าที่ใบหน้าจะหายไป สีลานนมมีสีเข้ม เส้นกลางหน้าท้องและรอยแตกผนังหน้าท้อง จะไม่หายแต่สีจะจางลง
หลังคลอด ร่างกายขับนํ้าทำให้มารดามีเหงื่อออก
อุณหภูมิ
Febile fever
เกิดจากการติดเชื่อในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดา เช่นการอักเสบที่เยื่อบุโพรงมดลูก เต้านมอักเสบ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะหรือในระบบอื่นๆ อุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่า (ไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด)
Reactionary fever
เกิดจากการขาดน้ำ เสียพลังงานในการคลอดหรือได้รับการชอกช้ำ (Trauma) ในขณะคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยโดยประมาณ 37.8 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียสแล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Milk Fever
เกิดจากนมคัด จะพบในวันที่ 3 – 4 หลังคลอด อุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส และจะหายใน 24 ชั่วโมงหรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจ
ขนาดของช่องท้องและช่องทรวงอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอดทำให้ความจุภายในช่องท้องและกะบังลมลดลงปอดขยายได้ดีขึ้นการหายใจสะดวกขึ้น
การเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะบวม และมักมีอาการบวมและซํ้ารอบๆรูเปิดของท่อปัสสาวะ
ความตืงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง ทำให้มีความจุมากขึ้น แต่ความไวต่อแรงกดจะลดลง
การทำงานของไต (Renal function)
อาจพบ Lactosuria ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง
Blood urea nitrogen จะเพิ่มขึ้นในระยะหลังคลอดเนื่องจากมีการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
Creatinine clearance จะเป็นปกติในปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
Glucosuria ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์จะหายไป
การเปลี่ยนแปลงระบบระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความดันเลือดและชีพจร
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดมีผลให้ชีพจรในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50 – 70 ครั้งต่อนาที
การที่อัตราการเต้นของชีพจรลดลง เป็นผลจากเลือดที่เคยไปเลี้ยงรกจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ และถ่ายปัสสาวะมากขึ้น ทำให้ปริมาณเลือดและความดันโลหิตตํ่าลงเป็นผลให้อัตราการเต้นของชีพจรค่อยๆเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 – 10 วันหลังคลอด
ในระยะคลอดอาจมีค่าความดันโลหิตํ่าได้จากการเสียเลือดมากกว่าปกติจนทําให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
จากการมีการขยายตัวของหลอดเลือด
จากฮอร์โมนเอสโตรเจน
มีการลดลงของความดันในช่องท้อง
ระบบเลือด
การไหลเวียนเลือดใน 2–3 วันแรกหลังคลอดจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-30% จากการไหลกลับของเลือด
ปริมาณเลือดจะลดลงจากระดับ 5 – 6 ลิตรในระยะก่อนคลอดจนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
เม็ดเลือดขาวอาจสูงขึ้นถึง 20,000 – 25,000 เซลล์ต่อมิลลิตร
ใน 3 วันแรกหลังคลอด ค่า Hematocrit อาจสูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการลดระดับของปริมาณน้ำเหลือง (Plasma) มากกว่าจำนวนของเม็ดเลือดและจะลดลงสู่สภาพปกติภายใน 4 – 5 สัปดาห์หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
ช่วง 1-2 วันแรก หญิงระยะหลังคลอด มีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา ไหล่ และคอ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดตํ่าลง ทำให้ความตืงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง
ต้องออกแรงเบ่งขณะคลอดและหลังคลอดรก
กล้ามเนื้อหน้าท้องจะนุ่ม ไม่แข็งแรงและจะหนาขึ้นบริเวณกลางท้อง
โครงกระดูก
ช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนรีแลกซิน (relaxin) ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายมีการยืดขยาย
หลังคลอด 2 – 3 วันแรก ระดับฮอร์โมน relaxin ค่อยๆลดลง แต่หญิงระยะหลังคลอดยังคงเจ็บปวดบริเวณสะโพกและข้อต่อซึ่งจะขัดขวางการเริ่มเคลื่อนไหวและการบริหารร่างกาย
บริเวณข้อต่อจะแข็งแรงเข้าสู่สภาพปกติต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth hormone)
อยู่ในระดับตํ่าตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตอนท้ายๆ ประกอบกับการลดลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังคลอด Human Placental Lactogen (HPL) ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนคอร์ติชอล เอนไซม์จากรกและน้ำย่อย Insulinase
ฮอร์โมนของรก (Placental hormone)
ประมาณวันที่ 3 หลังคลอด หลังจากสัปดาห์แรกของการคลอดจะไม่สามารถตรวจพบโปรเจสเตอโรนในซีรัมได้และจะเริ่มมีการผลิตโปรเจสเตอโรนอีกครั้งเมื่อมีการตกไข่ครั้งแรกหลังคลอด
ภายใน 3 ชั่วโมงหลังคลอด ระดับเอสโตรเจนในพลาสมาจะลดลงประมาณร้อยละ 10 ของค่าในระยะตั้งครรภ์
ประมาณ 19 – 20 วันหลังคลอดในมารดาเลี้ยงบุตรด้วยนํ้านมตนเอง ระดับเอสโตรเจนอาจกลับเข้าสู่ปกติค่อนข้างช้า
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกในพลาสมาจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง จะตรวจหาระดับฮอร์โมน Human Chorionic Somatomammotropin (HCS) ไม่ได้
ประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด ระดับของฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) จะลดลงถ้าทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะได้ผลลบ
ประมาณวันที่ 4 ระดับเอสโตรเจนจะลดลงและตรวจไม่พบในปัสสาวะ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary hormone)
ระยะหลังคลอด มารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง ระดับโพรแลคทินจะลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2 สัปดาห์
การให้บุตรดูดนมจะทําให้ความเข้มข้นของโพรแลคทินเพิ่มขึ้น ระดับของโพรแลคทินในซีรัมจะสูงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับจํานวนครั้งที่ให้บุตรดูดนมในแต่ละวัน
ค่าของโพรแลคทินจะอยู่ในระดับปกติประมาณเดือนที่ 6 ถ้าให้บุตรดูดนมเพียง 1 – 3 ครั้งต่อวัน และระดับโพรแลคทินจะยังคงสูงกว่า 1 ปีถ้าให้นมบุตรดูดนมสม่าเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน
ระดับของ Follicular Stimulating Hormon (FSH) และ Luteinizing Hormone (LH) จะต่ำมากในวันที่ 10 – 12 หลังคลอด
นางสาวสุวนันท์ จารุวนาลี เลขที่87A รหัสนักศึกษา61123301183