Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพของเนื้องอก - Coggle Diagram
พยาธิสรีรภาพของเนื้องอก
เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้รักษาไม่ค่อยหาย
-
Differentiation ลักษณะของเซลล์เนื้องอก เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ปกติที่เป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อต้นกำเนิดทั้งในด้าน ลักษณะรูปร่างหน้าตาและการทำงาน (Function)
Well differentiation เซลล์เนื้องอกนั้น มีลักษณะรูปร่างและการทำงานใกล้เคียงกับเซลล์หรือเนื้อเยื่อต้นกำเนิดมาก แสดงถึงว่าเนื้องอกชนิดดังกล่าวมีการเจริญที่ดี
Moderately differentiation – เซลล์เนื้องอกนั้น มีการเจริญที่ก้ำกึ่งระหว่าง Well differentiationและ Poorly differentiation
Poorly differentiation – เซลล์เนื้องอกนั้น มีลักษณะรูปร่างและการทำงานแตกต่างจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อปกติมากจนแทบจะบอกเซลล์หรือเนื้อเยื่อต้นกำเนิดไม่ได้
เนื้องอกที่ Lack of differentiation, Undifferentiated หรือ Anaplasia หมายถึง เนื้องอกที่มีลักษณะรูปร่างและการทำงานของเซลล์หรือเนื้อเยื่อแตกต่างจากเซลล์ต้นกำเนิด และไม่สามารถบอกเซลล์ต้นกำเนิดได้เลย
-
กลไกการเกิดมะเร็ง (Carcinogenesis, oncogenesis)
มะเร็งเป็นโรคทางพันธุศาสตร์อย่างหนึ่ง เนื่องจาก เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีน( genes) ซึ่งเป็นหน่วยทางพันธุกรรมในโครโมโซม ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์โดยเฉพาะการเติบโตและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ ที่สำคัญคือ proto-oncogenes, tumor suppressor genes และ DNA repair genes
Proto-oncogene ยีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนซึ่งออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่ออวัยวะเป้าหมาย บางชนิดมีหน้าที่ในการควบคุมการสร้างตัวรับสัญญาณ (Signalreceptor) และการถ่ายทอดสัญญาณลงไปในนิวเคลียส (Signal transduction)
Tumor suppressor gene มีหน้าที่ควบคุมการสร้างสัญญาณและฮอร์โมนในการหยุดการแบ่งเซลล์
เพื่อให้เกิดการซ่อมแซมสารพันธุกรรมก่อนจะส่งผ่านไปยังเซลล์รุ่นต่อไปหากเกิดการกลายพันธุ์ของTumor
suppressor gene จะส่งผลให้การแสดงออกของยีนลดลงหรือขาดหายไป
DNA repair genes ควบคุมการสร้างโปรตีนซึ่งทำหน้าที่ในการแก้ไขซ่อมแซมสาย DNA ที่เกิดความเสียหายในขั้นตอนการสร้างสาย DNA ในระหว่างขบวนการแบ่งเซลล์การกลายพันธุ์ของยีนกลุ่มนี้นำไปสู่ความไม่เสถียรทางพันธุกรรม (genetic instability)
-
-
-
โรคมะเร็งที่พบบ่อย
มะเร็งตับ คือ มะเร็งที่มีกำเนิดจากเซลล์ที่อยู่ภายในตับ มี 2 ชนิดที่พบบ่อย คือ - Hepatocellular carcinoma
- Intrahepatic cholangiocarcinoma
การวินิจฉัย อาศัยการตรวจเลือด ภาพถ่ายทางรังสี และการตรวจชิ้นเนื้อ (liver biopsy) เพื่อยืนยันคำวินิจฉัย และประเมินระยะของโรค เพื่อวางแผนการรักษา
มะเร็งเต้านม ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ มะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ของท่อน้ำนม (milk-producing
ducts) ที่เรียกว่า invasive ductal carcinoma
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามคำแนะนำของ American Cancer Society 2015 แนะนะให้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในประชากรทั่วไป เพศหญิง อายุ 45 ปีขึ้นไปโดย
- หญิงอายุ 45 -54 ปี แนะนำให้ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammography) ปีละ 1 ครั้ง
- หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ยังแข็งแรง แนะนำให้ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammography) 1-2 ปี/ ครั้ง
การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม อาศัยการตรวจร่างกาย ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammography) การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถ่ายภาพเต้านม (magnetic resonance imaging: MRI) การตรวจชิ้นเนื้อเพื่อยืนยันคำวินิจฉัยและการตรวจทางรังสีอื่นๆ เพื่อดูการแพร่กระจายและบอกระยะของโรค
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ
ผิดปกติ มักแสดงอาการเมื่อมีการลุกลามของโรคมากขึ้น
การวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ต้องอาศัยการส่องกล้องลำไส้ และ การตัดชิ้นเนื้อ จาก
ตำแหน่งที่สงสัย เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา การตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อดูการกระจาย และบอกระยะของโรค