Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้ยาในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
แนวปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการใช้ยาอย่างถูกต้องในผู้สูงอายุ
ส่งเสริมการรับประทานอาหารที่มีส่วนสนับสนุนการดูดซึมยา การกระจายตัวของยา
จัดโปรแกรมการสอนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกต้องสมเหตุสมผล
การประเมินและทบทวนการบริหารยาของผู้สูงอายุและผู้ดูแล
ส่งเสริมการรักษาจากการไม่ใช้ยาผู้สูงอายุบางรายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
หากพบว่าผู้สูงอายุมีอาการแสดงจากผลข้างเคียงของการใช้ยาควรส่งต่อข้อมูลให้แก่แพทย์และเภสัชกร
แนะนำผู้สูงอายูและผู้ดูแลให้ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรทุกครั้ง
ประเมินครอบครัวและผู้ดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับความรู้ของการใช้ยา
จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ยาได้ถูกต้อง
อธิบายเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพและการหมดอายุของยา
อธิบายความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับการให้ยา เช่นก่อน-หลังอาหาร อมใต้ลิ้น พ่นในจมูก
ให้ความรู้เกี่ยวกับจุดประสงค์ในการให้ยาแต่ละชนิด
ให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบการใช้ยาหลายชนิด
ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยสูงอายุ
ประเมินความเข้าใจของผู้สูงอายุเกี่ยวกับการใช้ยา
ประเมินเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาของผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม
กลุ่มยาที่ใช้บ่อยและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรืออันตราย ยาที่เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างยา และการพยาบาล
ยาระงับปวดและลดอาการอักเสบ analgesic and antiinflamma tory
ผลข้างเคียงกดศูนย์การหายใจแผลในระบบทางเดินอาหาร พิษต่อไตและตับ สับสน
การพยาบาล ติดตามการวัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะการหายใจ สังเกตแผลในทางเดินอาหารได้แก่ ปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือด
ยาต้านจุลชีพ aminoglycoside group
ผลข้างเคียง ครึ่งชีวิตนาน2เท่า มีพิษต่อไตมาก
การพยาบาล ควรให้ยาอย่างช้าๆเฝ้าระวังอาการแสดงของไตวาย
ยาต้านโรคจิตและโรคซึมเศร้า
lithium ผลข้างเคียงพิษต่อระบบประสาท เช่น สับสน เพ้อคลั่ง ชัก การพยาบาล ห้ามใช้ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายจากหลอดเลือดอุดตัน
amitriptylline ผลข้างเคียง postural hypotension ความจำเสื่อมเฉียบพลัน การพยาบาล ควรระวังอาการpostural hypotension หลงลืม
ยาลดความดันโลหิตสูง ACE-inhibitors ผลข้างเคียงความดันโลหิตต่ำลงขณะเปลี่ยนท่า การพยาบาล ติดตามระดับระดับความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด chlorpropamide ผลข้างเคียง ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะโซเดียมต่ำ ขาดสารอาหารและแร่ธาตุ
การพยาบาล พยาบาลควรสังเกตอาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่นเหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว ช็อกหมดสติ ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้แก่ อ่อนเพลีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึมสับสน หมดสติ
ยากันชัก phenobarbital ผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะพร่องวิตามินดี เกิดกระดูกเปราะ
กลุ่มยานอนหลับ ได้แก่ benzodiazepines, barbiturates
ผลข้างเคียง ง่วง งุนงง สับสน กดประสาทส่วนกลาง กดศูนย์หายใจ
การพยาบาล ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่มควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้ เพราะอาจทำให้สับสนมากยิ่งขึ้น
ยาที่มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด
thaiazides ผลข้างเคียง โปแตสเซียมต่ำ น้ำตาลในเลือดและกรดยูริคสูง หน้ามือเป็นลมเมื่อเปลี่ยนอิริยาบท
การพยาบาล ควรสังเกตภาวะโปแตสเซียมต่ำได้แก่ท้องผูกอ่อนเพลี กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลำไส้อืด หัวใจหยุดเต้น ภาวะน้ำตาลในเลือด ได้แก่ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ เหนื่อย และกระยูริคสูงได้แก่ปวดบวมข้อต่างๆ
digoxin ผลข้างเคียงหัวใจเต้นผิดจังหวะทำให้เสียชีวิต
การพยาบาล ควรตรวจวัดชีพจรของผู้ป่วย
calcium chanel blocker ไม่มีผลข้างเคียงจึงแนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้
การพยาบาลควรแนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำมากๆป้องกันท้องผูก
beta blocker ผลข้างเคียง เลือดไปเลี้ยงแขนขาลดลง การพยาบาล แนะนำหรือกระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลังกาย
ปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ
2.่การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันหลายขนาน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาของยาต่อผู้ป่วยและการเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาต่อยา
3.ความผิดพลาดจากตัวผู้ใช้ยาได้แก่ การซื้อยามารับประทานเอง การรับประทานยาที่หมดอายุ เนื่องจากขาดความรู้ในการอ่านฉลากยา
1.กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชรา ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยา หลังจากการใช้ยา
ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดปัญหาการใช้ยา
1.ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวผู้สูงอายุ ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากกระบวนการชราที่ส่งผลต่อเภสัชจลศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์
2.ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ
การใช้ยาด้วยตนเอง เช่น การซื้อยาตามร้านยา การใช้อาหารเสริมบำรุงสุขภาพ
ความร่วมมือในการใช้ยา เช่น การบริหารยาไม่ตรงตามคำสั่งแพทย์ การไม่รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การเปลี่ยนแปลงทาง
เภสัชจลวิทยาในผู้สูงอายุ
เภสัชจลศาสตร์
2.การกระจายตัวของยา ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในร่างกายมีผลต่อการกระจายตัวของยาดังนี้ ปริมาณน้ำในร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ โปรตีนอัลบูมินลดลงส่วนปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น
3.เมตาบอลิสึมของยา ขนาด ปริมาณเลือดไหลผ่านตับ การทำงานของเอนไซม์ตับลดลง ส่งผลให้ตับกำจัดยาได้ลดลง
1.การดูดซึมยา ระบบทางเดินอาหารผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างคือ ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารลดลง (pH เพิ่มขึ้น) การบีบตัวของทางเดินอาหารลดลง การไหลเวียนเลือดผ่านหระเพาะอาหารลดลง
4.การขับถ่ายทางไต ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านไตลดลง ส่งผลให้ยาที่ถูกขับออกทางไตมีโอกาสสะสมและเกิดผลข้างเคียงได้บ่อย
เภสัชพลศาสตร์ คือการศึกษาการออกฤทธิ์ของยาต่อร่างกาย หรือการที่ยามีผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องทั้งผลทางด้านชีวเคมีและสรีรวิทยาของยา กลไกที่ทำให้เกิดผลทั้งด้านพึงประสงค์หรือฤทธิ์ในการรักษาและผลที่ไม่พึงประสงค์คืออาการข้างเคียงและพิษของยา