Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (teenage or adolescent pregnancy), นางสาววิไลพร…
การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น (teenage or adolescent pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ในสตรีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้น อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ14 ปี วัยรุ่นตอนกลาง อายุ 15-17 ปี และวัยรุ่นตอนปลาย อายุ 18-19 ปี ซึ่งการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นตอนต้น และตอนกลาง จะส่งผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์และทารกมากกว่าช่วงวัยรุ่นตอนปลาย
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
สภาพครอบครัว
สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี พ่อแม่ทะเลาะกันเป็นประจำทำให้บรรยากาศในบ้านไม่น่าอยู่ทำให้วัยรุ่นรู้สึกไม่ดี ไม่อยากอยู่บ้าน ส่งผลทำให้วัยรุ่นออกจากบ้านมาหาเพื่อนหรือแฟน
ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่แยกทางกัน ลูกต้องอยู่กับพ่อหรือแม่ หรือบุคคลอื่นที่ไม่ไม่ใช่พ่อแม่ส่งผลทำให้วัยรุ่นสึกว้าเหว่ ขาดความรักและความอบอุ่นทำให้แสวงหาความรักในทางที่ไม่เหมาะสม
ภาระหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำงานจนไม่มีเวลาพูดคุยกับลูก ก่อให้เกิดความห่างเงินระหว่างวัยรุ่นกับพ่อแม่มากขึ้น
อัตราวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วในปัจจุบันมีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆ ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ในอัตราที่มากขึ้น
ระดับการศึกษาหรือสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจต่ำ ทำให้ขาดความรู้เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวและการป้องกันการตั้งครรภ์ ตลอดจนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการต่างๆ
การดื่มสุราหรือการใช้สารเสพติดต่างๆ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจและเกิดการตั้งครรภ์ตามมา
การขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์หรือความส้มเหลวในการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ
การถูกข่มขืนโดยบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่น
การที่สตรีมีประจำเดือนครั้งแรกเร็วทำให้มีการตกไช่เร็วจึงสามารถตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุน้อย
ผลกระทบ
ทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนดหรือเกินกำหนด ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อัตราการตายปริกำเนิดสูงทาก ดีรับการดูแลไม่เหมาะสม
มารดา
อาจทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายชะงักหรือเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปกติ
ประจำเดือนยังไม่มาสม่ำเสมอ หรือไม่กล้าไปฝากครรภ์ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
อาจทำแท้งและเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
ไม่ได้รับการยอมรับของจากสังคมและครอบครัว
การรปรับตัวในบทบาทการเป็นแม่ล่าช้า
การรักษา
ซักประวัติและตรวจร่างกายทุกระบบ เฝ้าระวังและค้นหาภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินด้านจิตสังคม ให้คำแนะนำและส่งต่ออย่างเหมาะสม
3.ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงทางด้นร่างกายและจิตใจในระยะตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัวในระหว่างการตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการมาฝากครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าไม่มีความผิดปกติหรือไม่พบภาวะแทรกซ้อนให้การดูแลในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดเหมือนกับสตรีมีครรภ์ปกติ
6.ถ้าพบความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนให้การดูแลตามภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ในระยะหลังคลอดเน้นคำแนะนำเรื่องการวางแผนการเลี้ยงดูบุตร การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม อันตรายจากการทำแท้งที่ไม่เหมาะสม และความสำคัญของการมาฝากครรภ์โดยเร็วเมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
การพยาบาล
ตั้งครรภ์
ให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีมีครรภ์ปกติ โดยให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอธิบายให้เห็นความสำคัญของการมาฝากครรภ์ก็ตามนัด การรับประทานยาที่มีขาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรับประทานอาหารที่ครบถ้วน ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
หลังคลอด
ให้การดูแลเช่นเดียวกับสตรีที่คลอดปกติ แต่เน้นการดูแลเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด ป้องกันระยะการคลอดยาวนาน และเฝ้าระวังภาวะศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเริงกราน
ระยะคลอด
ให้การดูแลเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดปกติ แต่เน้นการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี หรือจากการตัดฝีเย็บกว้างและลึกกว่าปกติในกรณีที่ช่องทางคลอดแคบหรือทารกในครรภ์ตัวโต คำแนะนำก่อนกลับบ้านเน้นเรื่องการวางแผนการเลี้ยงดูบุตร การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดที่เหมาะสม อันตรายจากการทำแท้งที่ไม่เหมาะสม และความสำคัญของการมาฝากครรภ์โดยเร็วเมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
นางสาววิไลพร คงราศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 3 เลขที่ 73 รหัสนักศึกษา 62115301078