Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติและข้อบังคับด้านอาหาร, นางสาวสุพัตรา ผดุงเวียง 62011413037 …
พระราชบัญญัติและข้อบังคับด้านอาหาร
คณะกรรมการอาหาร
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการอาหาร”
มาตรา ๘ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำ ความเห็นแก่รัฐมนตรีหรือ ผู้อนุญาต
มาตรา ๙ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี นอกจากการพ้นจาก ตำแหน่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิด
มาตรา ๑๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๙ กรรมการซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา๑๑ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา๑๒ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการ
มาตรา ๑๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจ ออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมาให้ถ้อยคำและให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
2.การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต
มาตรา ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาคารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาต
มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้าซึ่งอาหารเพื่อจำหน่าย เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต
มาตรา ๑๗ ใบอนุญาตที่ออกตามความในมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖ (๑) ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับ
อนุญาตด้วยให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตาม
มาตรา ๑๖ บทบัญญัติมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ไม่ให้ใช้บังคับแก่
(๑) การผลิตอาหาหรือนำเข้าซึ่งอาหารเฉพาะคราว ซึ่งได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราว จากผู้อนุญาต
(๒) การผลิตอาหารหรือนำเข้าหรือส่งออกซึ่งอาหาร เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการขึ้น ทะเบียนตำรับอาหารหรือเพื่อ พิจารณาในการสั่งซื้อ
มาตรา ๑๘ ใบอนุญาตที่ออกตามมาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕ ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่สามนับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ ยื่นคำขอ
เสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
มาตรา ๑๙ ในกรณีผู้อนุญาตไม่ออกใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ย้ายสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้าหรือสถานที่เก็บอาหาร ผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่อ อายุใบอนุญาต หรือผู้ขออนุญาตย้ายสถานที่ดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หน้าที่ของผู้รับอนุญาตเกี่ยวกับอาหาร
มาตรา ๒๐ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ ผลิต นำเข้าหรือ เก็บอาหารนอกสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
มาตรา ๒๑ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตย้ายสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้าหรือสถานที่เก็บ อาหารเว้นแต่ได้รับอนุญาต
มาตรา ๒๒ ถ้าใบอนุญาตหรือใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารสูญหายหรือถูก ทำลาย ให้ผู้รับอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับอาหารภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว
มาตรา ๒๓ ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตหรือใบแทนใบอนุญาต
มาตรา ๒๔เพื่อประโยชน์ในการส่งออก และเมื่อมีความจำเป็นที่จะให้ผู้รับอนุญาต ผลิตอาหารควบคุมเฉพาะเพื่อส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
การควบคุมอาหาร
มาตรา ๒๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่ายซึ่งอาหารดังต่อไปนี้
(๑) อาหารไม่บริสุทธิ์
(๒) อาหารปลอม
(3) อาหารผิดมาตรฐาน
(4) อาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๖ อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์
(๑) อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพเจือปนอยู่ด้วย
(๒) อาหารที่มีสารหรือวัตถุเคมีเจือปนอยู่ในอัตราที่อาจเป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารนั้นลดลง
(๓) อาหารที่ได้ผลิต บรรจุหรือเก็บรักษาไว้โดยไม่ถูกสุขลักษณะ
(๔) อาหารที่ผลิตจากสัตว์ที่เป็นโรคอันอาจติดต่อถึงคนได้
(๕) อาหารที่มีภาชนะบรรจุประกอบด้วยวัตถุที่น่าจะเป็นอันตรายแก่สุขภาพ
มาตรา ๒๗ อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารปลอม
(๑) อาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือบางส่วน และจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น
(๒) วัตถุหรืออาหารที่ผลิตขึ้นเทียมอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด และจำหน่ายเป็นอาหารแท้อย่างนั้น
(๓) อาหารที่ได้ผสมหรือปรุงแต่งด้วยüิธีใด ๆโดยประสงค์จะปกปิดซ่อนเร้นความบกพร่องหรือความด้อยคุณภาพของอาหารนั้น
(๔) อาหารที่มีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิด
(๕) อาหารที่ผลิตขึ้นไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๒๘ อาหารผิดมาตรฐาน ได้แก่อาหารที่ไม่ถูกต้องตามคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีประกาศ
มาตรา ๒๙ อาหารที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาหารตามมาตรา ๒๕(๔)
(๑) ไม่ปลอดภัยในการบริโภค หรือ
(๒) มีสรรพคุณไม่เป็นที่เชื่อถือ หรือ
(๓) มีคุณค่าหรือคุณประโยชน์ต่อร่างกายในระดับที่ไม่เหมาะสม
มาตรา ๓o เพื่อประโยชน์แก่การควบคุมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ปราศจากอันตรายแก่ผู้บริโภค ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจ
(๑) ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหาร ดัดแปลง แก้ไข สถานที่ผลิตหรือสถานที่เก็บอาหาร
(๒) สั่งให้งดผลิตหรืองดนำเข้าซึ่งอาหารที่ผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาต
(๓) ประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหารให้ประชาชนทราบในกรณีที่ปรากฏผลจากการตรวจพิสูจน์วาอาหารรายใดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา ๒๖ หรือเป็น
อาหารปลอมตามมาตรา ๒๗ หรือเป็นอาหารผิดมาตรฐานตามมาตรา ๒๘
5.การขึ้นทะเบียนและการโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร
มาตรา ๓๑ ผู้ใดจะผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะจะต้องนำอาหารนั้นมาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร
ต่อผู้อนุญาตเสียก่อน
มาตรา ๓๒ เมื่อได้มีประกาศตามมาตรา ๖(๑) แล้ว ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๔ ซึ่งผลิตอาหารควบคุม เฉพาะอยู่ก่อน วันที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด งดผลิตอาหารจนกว่าจะได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร
มาตรา ๓๓ เมื่อได้มีประกาศตามมาตรา ๖ (๑) แล้ว ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ ซึ่งนำหรือสั่งอาหารควบคุมเฉพาะเข้ามา
ในราชอาณาจักรอยู่ก่อนวันที่ประกาศกำหนด
มาตรา ๓๔ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะต้องผลิตหรือนำเข้าซึ่งอาหารควบคุมเฉพาะให้ตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียน
มาตรา ๓๕ การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารตามมาตรา ๓๑ ต้องแจ้งรายการหรือรายละเอียดดังต่อไปนี้
(๑) ชื่ออาหาร
(๒) ชื่อและปริมาณของüัตถุอันเป็นÿ่üนประกอบของอาหาร
(๓) ขนาดบรรจุ
(๔) ฉลาก
(๕) ชื่อผู้ผลิตและสถานที่ผลิต
(๖) ผลการตรวจวิเคราะห์อาหารจากส่วนราชการหรือสถาบันที่คณะกรรมการกำหนด
(๗) รายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร
มาตรา ๓๖ การแก้ไขรายการทะเบียนตำรับอาหารจะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตการขอแก้ไขรายการทะเบียนตำรับอาหาร
มาตรา ๓๗ ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารให้ใช้ได้ตลอดไป เว้นแต่ทะเบียนตำรับอาหารที่ถูกสั่งเพิกถอนตามมาตรา ๓๙
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่มีความจำเป็น เพื่อให้อาหารนั้นปลอดภัยในการบริโภค หรือเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้แก้ไข
ตำรับอาหารที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้วได้ตามที่เห็นสมควร
มาตรา ๓๙ อาหารใดที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอาหารไว้แล้ว หากภายหลังปรากฏว่าอาหารเป็นอาหารปลอมตามมาตรา ๒๗ ฟรือเป็นอาฟารที่ไม่ปลอดภัย
ต่อผู้บริโภคและไม่อาจแก้ไขตำรับอาหารได้ตามมาตรา ๓๘ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนทะเบียนตำรับอาหารนั้น
มาตรา ๔o ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร
มาตรา ๔๑ ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารทางภาพยนตร์หรือทางหนังสือพิมพ์หรือด้วยวิธีอื่นใด เพื่อประโยชน์
ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน แล้วจึงจะโฆษณาได้
มาตรา ๔๒ เพื่อพิทักษ์ประโยชน์และความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
(๑) ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาระงับการโฆษณาอาหารที่เห็นว่าเป็นการโฆษณา
(๒) ให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาอาหาร ระงับการผลิต อาหารที่คณะกรรมการเห็นว่าอาหารดังกล่าวไม่มีคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณตามที่โฆษณา
๖. พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ผลิตอาหาร สถานที่เก็บอาหาร หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาหาร ในระหว่างเวลา
ทำการเพื่อตรวจสอบควบคุมให้การเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ในกรณีมีเหตุอันควรส่งสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อาจเข้าไปในสถานที่
เพื่อตรวจสอบอาหาร และอาจยึดหรืออายัดอาหารและเครื่องมือ
(๓) นำอาหารในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือตรวจวิเคราะห์
(๔) ยึดหรืออายัดอาคารหรือภาชนะบรรจุที่สงสัยว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือผิดอนามัย
(๕) ยึดหรืออายัดอาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารปลอม หรืออาหารผิดมาตรฐาน หรือที่มีลักษณะไม่ถูกต้อง
มาตรา ๔๔ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจพิสูจน์เป็นที่แน่นอนว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา ๒๖
หรือเป็นภาชนะบรรจุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือผิดอนามัยของประชาชน หรือมีลักษณะไม่ถูกต้องตามคุณภาพ
มาตรา ๔๕ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อผู้รับอนุญาตหรือผู้เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบ
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗. การพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาต มาตรา ๔๖
เมื่อปรากฏต่อผู้อนุญาตü่าผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงหรือประกาศซึ่งออก
ตามพระราชบัญญัตินี้หรือในกรณีที่ปรากฏผลจากการตรวจพิสูจน์ว่าอาหารซึ่งผลิตโดยผู้รับอนุญาตผู้ใดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ตามมาตรา ๒๖ เป็นอาหารปลอมตามมาตรา ๒๗ เป็นอาหารที่ผิดมาตรฐานตามมาตรา ๒๘ เป็นอาหารหรือภาชนะบรรจุที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือ ผิดอนามัยของประชาชน
๘. บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา ๖(๔)(๕) หรือ (๙) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
มาตรา ๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา ๖(๖) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา ๖(๗) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๕๐ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา ๖(๘) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึง สองปี
และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท
มาตรา ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา ๖(๑๐) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา ๕๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา ๑๓ หรือขัดขวางแก่พนักงาน ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่ง เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามหมื่น
มาตรา ๕๕ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๕๖ ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาท ๑๓
มาตรา ๕๗ ผู้รับอนุญาตผู้ใดนำอาหารผลิตขึ้นเพื่อส่งออกไปจำหน่ายนอก ราชอาณาจักรมาจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
มาตรา ๕๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕(๑) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕(๒) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับ ตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕(๓) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
มาตรา ๖๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๕(๔) ต้องระüางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖๒ ผู้รับอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา ๓๐(๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๖๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา ๓๐(๒) ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินห้าหมื่นบาท
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๗๖ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารตามกฎหมายการควบคุมคุณภาพ อาหารก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุถ้าผู้ได้รับอนุญาตประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปและได้ยื่นคำขออนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้แล้วให้ดำเนินกิจการที่ได้รับอนุญาต ตามใบอนุญาตเดิมไปได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตใหม่ หรือถึงวันที่ผู้อนุญาตได้แจ้งให้ทราบถึงการ ไม่อนุญาต
มาตรา ๗๗ ใบรายละเอียดของอาหารที่ได้รับอนุญาตไว้และฉลากที่ได้ออกให้ตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีอายุใช้ได้สามปีนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๗๘ ให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าอาหาร วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ อนุญาตตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ ภายในเก่าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อยื่นคำขออนุญาตแล้วให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตหรือถึงวันที่ผู้อนุญาตได้แจ้งให้ทราบถึงการไม่อนุญาต
นางสาวสุพัตรา ผดุงเวียง 62011413037 กลุ่มที่ 3