Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis), นางสาวอนิสร ฦาแรง 62170076 คณะพยาบาลศาสตร์ -…
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
ความหมาย
การอักเสบของไส้ติ่งที่อยู่ระหว่างลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ส่วนต้น นับเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและอันตราย เพราะถ้าหากไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ไส้ติ่งที่อักเสบจะแตก ทำให้เชื้อโรคที่อยู่ในไส้ติ่งแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย อาจเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้
พยาธิ
เมื่อมีสิ่งอุดตันในรูไส้ติ่ง ผนังชั้นใน (mucosa) ยังคงผลิตเมือกตามปกติ ซึ่งจะทำให้ความดันภายในรูไส้ติ่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดลดลง ผนังชั้นในจะเริ่มบวมและเกิดอักเสบ (acute appendicitis) ต่อมาเมื่อความดันภายในไส้ติ่งยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจะเกิดขาดเลือดและตายเฉพาะส่วนของผนังชั้นนอกของไส้ติ่งทำให้เกิดรูทะลุ แบคทีเรียที่อยู่ในไส้ติ่งแพร่ผ่านผนังที่ตายนี้ออกมา (ruptured appendicitis) ทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากช่วยเหลือไม่ทัน
สาเหตุ
เกิดจากภาวะการอักเสบในไส้ติ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการอุดตันภายในไส้ติ่ง สิ่งที่ไปอุดตันอาจเป็นได้ทั้งเศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น
บางครั้งก็อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดการปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้นจนไปปิดกั้นไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งที่อาจมีเชื้อโรคอาศัยอยู่เกิดอาการอักเสบในที่สุด
การประเมินทางการพยาบาล
การตรวจร่างกาย
เมื่อกดหน้าท้องและปล่อยเร็วๆ ผู้ป่วยจะเจ็บมากหรือกดบริเวณิ McBurney's point
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อาจพบค่าเม็ดเลือดขาว (WBC) มากกว่า 10,000/mm3 ถ้ามากกว่า 20,000/mm3 แสดงว่ามีภาวะไส้ติ่งแตก การตรวจปัสสาวะอาจพบมีเม็ดเลือดขาวปน
การตรวจรังสีและตวจพิเศษ
ตรวจอัลตราซาวด์หรือตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยเครื่อง CT SCAN
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
แนะนำเทคนิคการผ่อนคลายเช่นสมาธิ เพื่อบรรเทาอาการปวด
เบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดการจดจ่อที่แผลผ่าตัด
จัดท่าให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย (15-20 องศา) เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
ประเมินอาการปวด บริเวณที่ปวด ระดับความปวด เพื่อติดตามปัญหาและเฝ้าระวัง
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อ 1 ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล
ให้ยาขับลมและยาแก้ท้องอืดตามแผนการรักษา
ให้อาหารตามขั้นบันได (step diet) อย่างเคร่งขัดได้แก่อาหารเหลว-อาหารอ่อน-อาหารปกติ
กระตุ้นให้เคลื่อนไหวและลุกจากเดิน (early ambulation) เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหว
ฟังการเคลื่อนไหวของลำไส้ (bowel sound)เพื่อติดตามปัญหาและเฝ้าระวัง
ประเมินอาการท้องอืดมีลมในท้องและการผายลมเพื่อติดตามปัญหาและเฝ้าระวัง
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อ 2 ไม่สุขบายเนื่องจากท้องอืดมีลมในท้อง
การรักษา
ผ่าตัดไส้ติ่งออกโดยเปิดหน้าท้อง (Appendectomy)
ผ่าตัดไส้ติ่งผ่านกล้อง (Laparoscopic appendectomy)
อาการและการแสดง
ปวดบริเวณรอบสะดือก่อนที่จะย้ายไปปวดบริเวณหน้าท้องด้านล่างขวา
ปวดบริเวณ McBurney'spoint หน้าท้องด้านขวาล่าง ตำแหน่ง 1/3 ของเส้นที่ลากจาก anterior superior iliac spine ไปที่สะดือ
เบื่ออาหาร คลื่นส้ อาเจียน มีไข้
การพยาบาล
ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด:เตรียมความสะอาดร่างกาย สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย ให้คำแนะนำหลังการผ่าตัด
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด:กระตุ้นให้ลุกจากเตียงภายหลังการผ่าตัด 24 ชม.แรก,ดูแลแผลผ่าตัดระวังมิให้ผ้าปิดแผลเปียกน้ำ และสอนผู้หายใจเข้า-ออก ลึกๆไอถูกวิธี
เกณฑ์การประเมินผล
การประเมินคะแนน Alvarado score
นางสาวอนิสร ฦาแรง 62170076 คณะพยาบาลศาสตร์