Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ในยุคดิจิทัล - Coggle Diagram
แนวทางการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
ในยุคดิจิทัล
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในแนวทางการตลาดด้วยผู้ทรงอิทธิพล
Influencer คือใคร?
ผู้มีชื่อเสียง (Celebrity): ดารา นักร้อง นักกีฬา ที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
บล็อกเกอร์/รีวิวเวอร์/ยูทูบเบอร์ (Blogger/Reviewer/YouTuber): บุคคลธรรมดาที่โด่งดังจากการเขียน/การทำคลิปในโลกโซเชียล หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ต่าง ๆ
เน็ตไอดอล (Net Idol): บุคคลธรรมดาที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากกระแสในโลกออนไลน์
ผู้นำทางความคิด (Opinion Leader): เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างและมีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระสงฆ์ นักการเมือง นักข่าว นักธุรกิจ
ผู้นำทางความคิด (Opinion Leader): เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างและมีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระสงฆ์ นักการเมือง นักข่าว นักธุรกิจ
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในแนวทางการตลาดด้วยเนื้อหา
Content is King
การตลาดด้วยเนื้อหา (Content Marketing) เป็นแนวทางการตลาดเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการสร้างและเผยแพร่เนื้อหาที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและต่อเนื่องสอดคล้องกัน เพื่อดึงดูดและรักษากลุ่มเป้าหมายและนำไปสู่พฤติกรรมของลูกค้าที่ก่อให้เกิดรายได้
รูปแบบของ Content Marketing
ข้อความ
ภาพ
Infograhic
Video Clips
E-books/Slides
ลักษณะเนื้อหาของ Content Marketing
ให้ความบันเทิง สนุกสนาน
มีประโยชน์ ใช้งานได้จริง
ให้ความรู้ กระตุ้นให้คิด
ซาบซึ้ง เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก
ภาพสวยงามจนต้องหยุดชม
มีรายละเอียดเชิงลึก
มีการนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายด้วยภาพ
การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในแนวทางการตลาดเชิงประสบการณ์
เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ทางบวก เกิดความรู้สึกดี เกิดความประทับใจและทัศนคติที่ดีต่อตราสินค้า
ประสบการณ์ของลูกค้าเกิดจากองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
องค์ประกอบด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Elements) เช่น ภาพลักษณ์ตราสินค้า สินค้า ราคา เป็นต้น
องค์ประกอบจากความรู้สึกของลูกค้า (Emotional Elements) เป็นการประเมินความคาดหวังของลูกค้าจากการใช้ตราสินค้า หากเป็นประสบการณ์ที่เหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าจะเป็นประสบการณ์ทางบวก
จุดสัมผัสเพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้ามี 2 ลักษณะ ได้แก่
จุดดสัมผัสประสบการณ์ทางตรง ได้แก่ บรรยากาศภายในร้านหรือสถานที่ให้บริการ การบริการโดยพนักงาน การจัดกิจกรรมพิเศษ
จุดสัมผัสประสบการณ์ทางอ้อม ได้แก่ คำรับรองจากกลุ่มอ้างอิง สื่อมวลชน เว็บไซต์ต่าง ๆ
การตลาดเชิงประสบการณ์เพื่อเพิ่มประสบการณ์ทางบวกต่อตราสินค้าประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
เลือกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและวิเคราะห์จุดสัมผัสในการสร้างประสบการณ์
ออกแบบประสบการณ์ของลูกค้า
เสริมสร้างประสบการณ์ที่แสดงถึงคุณค่าที่ตราสินค้าสัญญาว่าจะให้กับลูกค้า