Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกในครรภ์ที่มีภาวะคับขันหรือภาวะเครียด (fetal distress; non-reassuring…
ทารกในครรภ์ที่มีภาวะคับขันหรือภาวะเครียด (fetal distress; non-reassuring fetal status)
ความหมาย
ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการขาดออกชิเจน หรือ มีการขาดออกซิเจนอยู่ ในทางการแพทย์อาจเรียกทารกกลุ่มนี้ว่า มีการปรับตัวจากภาวะปกติ (reassuring) ไปเป็นภาวะที่ไม่ปกติ (non-reassuring fetal status) ซึ่งเป็นผลมาจากการไหลเวียนเลือดจากมารดาไปสู่ทารกลดลง เลือดไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกระบวนการในระยะคลอดปกติ นับเป็กระบวนการที่มีผลให้ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนได้
สาเหตุ
ภาวะที่เลือดไหลเวียนไปที่รกไม่ดี/ไม่เพียงพอ
ภาวะที่เลือดไหลเวียนไปยังรกไม่เพียงพอแบบฉับพลัน ได้แก่ มดลูกหดรัดตัวมากหรือแรงเกินไป ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวเกินขนาดทำให้เกิดภาะ tetanic contraction มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ หรือ vasa previa ผู้คลอดมีภาวะช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ตกเลือดในระยะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง เป็นต้น
ภาวะที่เลือดไหลเวียนไปยังรกไม่เพียงพอแบบเรื้อรัง ได้แก่ ผู้คลอดมีภาวะแทรกช้อนทางอายุรศาสตร์ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โลหิตจาง โรคหัวใจ class 2 3 และ 4 เป็นต้น รกเสื่อม การตั้งครรภ์เกินกำหนด เยื่อหุ้มทารกอักเสบ ทารกมีความผิดปกติ ผู้คลอดมีภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะที่สายสะดือมีความผิดปกติ ได้แก่ ภาวะสายสะดือพลัดต่ำ ภาวะที่สายสะดือถูกกด และสายสะดือผูกเป็นปม ทำให้เลือดไม่สามารถไปถึงทารกได้
แนวทางการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ได้แก่ การดิ้นของทารกในครรภ์ การแตกของถุงน้ำคร่ำ ลักษณะ สีและปริมาณของน้ำคร่ำ
การตรวจร่างกาย
โดยการตรวจครรภ์ อาจพบเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ผิดปกติ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจทารกช้าหรือเร็วกว่าปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
การเจาะเลือดทารก (scalp blood pling) เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรด การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การทำ Droppler Ultrasound
Normal FHR pattern คือ FHR 110-160 bpm
Fetal stress
หมายถึง FHR ที่บ่งชี้ว่าผิดปกติ แต่ยังไม่ถือว่ารุนแรงจนเกิด fetal distress จะพบ tachycardia (FHR > 160 bpm), moderate to severe variable deceleration หรือ late deceleration และมี minimal to moderate variability หรือมี sinusoidal FHR pattern
Fetal distress คือ มี moderate to severe variable deceleration หรือ late deceleration
Reassuring variable deceleration คือ พบ FHR deceleration แต่สามารถกลับเข้าสู่ baseline ได้อย่างรวดเร็ว และ baseline ของ FHR ไม่เพิ่มขึ้น baseline FHR variability ไม่ลดลง
Non-reassuring variable deceleration คือ มีภาวะ fetal stress ร่วมกับ fetal distress จะพบ tachycardia หรือ bradycardia, variable deceleration และ variability ลดลงหรือหายไป
อาการและอาการแสดง
อัตราการเต้นของหัวใจทารกผิดปกติ (abnormal FHR pattern)
มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ (meconium stained of amnioic fuid)
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำเล็กน้อย (thin หรือ mild meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเหลือง
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำปานกลาง (moderate meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเขียวปนเหลือง
ขี้เทาปนในน้ำคร่ำมาก (thick meconium stained) น้ำคร่ำจะมีสีเขียวคล้ำและข้น
ทารกดิ้นน้อยลง
ทารกมีภาวะเลือดเป็นกรด
ผลกระทบ
มารดา
พบว่าไม่มีผลต่อร่างกายโดยตรง แต่มีผลทางด้านจิตใจโดยทำให้สตรีมีความกลัวหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ เป็นต้น
ทารก
อาจทำให้ทารกเกิดภาวะทุพพลภาพอย่างถาวรหรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต
รักษา
การช่วยฟื้นคืนชีพทารกในครรภ์ (ntrauterine resuscitation)
จัดท่าให้นอนตะแคง โดยเฉพาะการนอนตะแคงช้าย ดูแลให้ได้รับออกชิเจนทางหน้ากาก (mask) 10 ลิตร/นาที
หากผู้คลอดได้รับการฉีดยาเข้าอีพิดูรอล (epidural nerve block) ดูแลปรับความโลหิตที่ลดต่ำลงโดยการเพิ่มสารละลายทางหลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น
หยุดการได้รับการสารละลายที่กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ได้แก่ กลุ่มออกชิโตซิน เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงรกได้ดีขึ้น
ตรวจทางช่องคลอดเพื่อตรวจการมีภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ดูแลให้ผู้คลอดได้รับ LRS 500-1000 cc ใน 20 นาที
การช่วยเหลือเพื่อให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ และนำทารกมาช่วยฟื้นคืนชีพภายนอก
นางสาววิไลพร คงราศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 3 เลขที่ 73 รหัสนักศึกษา 62115301078