Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การแตกของ Vasa previa, นางสาววิไลพร คงราศรี นักศึกษาพยาบาลศาสตรชั้นปีที่ 3…
การแตกของ Vasa previa
การพยาบาล
- อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวเข้าใจถึงพยาธิสภาพ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
- ประเมินเสียงการเต้นของหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง
- ให้ออกซิเจน 4-5 ลิตร/นาที
-
-
วินิจฉัย
-
การตรวจร่างกาย พบน้ำคร่ำมีเลือดปน เสียงหัวใจของทารกผิดปกติ ตรวจภายในอาจคลำได้ลักษณะคล้ายหลอดเลือดที่เต้นเข้าจังหวะ (synchronous) กับเสียงหัวใจของทารก เมื่อเอานิ้วกดบริเวณนี้อาจทำให้เสียงหัวใจของทารกเปลี่ยนแปลง ตรวจรกและถุงน้ำคร่ำภายหลังคลอดจะพบรอยฉีกขาดของเส้นเลือดที่ทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารก เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจแยกเม็ดเลือดแดงของทารกกับของมารดาโดยตรวจจาก
น้ำคว่ำ ด้วยวิธี wright stain ซึ่งเม็ดเลือดแดงของทารกจะมีนิวเคลียส (nucleated red cell) แต่ของมารดาเม็ดเลือดแดงจะไม่มีนิวเคลียส ถ้าตรวจพบลักษณะเม็ดเลือดแดงของทารกแสดงว่ามีภาวะ vasa previa
ผลกระทบ
มารดา
ระยะตั้งครรภ์
เนื่องจากมีภาวะเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเป็นลักษณะเป็นๆ หายๆ หรือต่อเนื่องยาวนาน โดยเลือด ที่ออกอาจหายไปได้เองจากระบวนการแข็งตัวของเลือด และออกได้อีก หากได้รับการกระตุ้น หรือการกระทบ กระเทือน เช่น จากการหดรัดตัวของมดลูกการตรวจภายใน การมีเพศสัมพันธ์หรืออุบัติเหตุซึ่งการมีเลือดออกมากหรือ เรื้อรังอาจทำให้สตรีตั้งครรภ์มีภาวะซีด อ่อนเพลีย ความ เข้มข้นของเลือดต่ำ
ระยะคลอด
กรณีคลอดทางช่องคลอด สตรีตั้งครรภ์มีโอกาสเสียเลือดมาก เนื่องจาก ปากมดลูกจะฉีกขาดง่ายและมีเลือดออกมาก อีกทั้งระยะก่อนรกคลอด รกอาจลอกตัวได้ไม่สมบูรณ์ หรือล่าช้า เนื่องจากมดลูกส่วนล่างหดรัดตัวไม่ดีส่งเสริมให้เกิดการ ตกเลือดขณะคลอดและหลังคลอดได้ถ้าเสียเลือดปริมาณ มากอาจเกิดภาวะช็อคจากการเสียเลือด
ทารก
เนื่องจากสตรีตั้งครรภ์มีการสูญเสียเลือดปริมาณมาก หรือ เรื้อรังส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารและออกซิเจน ปริมาณน้อย อาจมีภาวะซีด ภาวะพร่องออกซิเจน การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด มีคะแนน แอฟการ์เมื่อแรกคลอดน้อย (APGAR score) ได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกวิกฤต หรือเสียชีวิตในครรภ์ หรือ เสียชีวิตแรกเกิดได้
การรักษา
- กรณีที่วินิจฉัยได้ก่อนคลอดหรือก่อนถุงน้ำคร่ำแตก จะรักษาโดยการผ่าตัดคลอด
- กรณีที่วินิจฉัยได้ภายหลังถุงน้ำคร่ำแตก ต้องทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยเร็ว โดยการช่วยคลอดด้วยคีม การผ่าตัดคลอด หรือหากทารกตายในครรภ์แล้วอาจให้คลอดเองทางช่องคลอด และเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดทุกครั้งที่ถุงน้ำคร่ำแตกหรือเจาะถุงน้ำคร่ำต้องคำนึงภาวะ vasa previa ด้วยเสมอ โดยเฉพาะในรายที่รกเกาะต่ำและตั้งครรภ์แฝด
อาการและอาการแสดง
ระยะก่อนถุงน้ำคร่ำแตก
-
-
-
ตรวจพบเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงจากการที่หลอดเลือดถูกกด
โดยส่วนนำหรือ FHR มีภาวะ variable decelaration
-
ความหมาย
ภาวะที่หลอดเลือดของสายสะดือหรือของรกทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกและทอดผ่านบริเวณปากมดลูก และอยู่ต่ำกว่าส่วนนำทารก เมื่อมีการฉีกขาดของเยื่อหุ้มทารกและเส้นเลือดในบริเวณดังกล่าวจะเรียกว่า ruptured vasa previa
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่เกิดร่วมกับการที่สายสะดือเกาะบนเยื่อหุ้มทารก (velamentous insertion) ซึ่งมักเกิดร่วมกับภาวะรกเกาะต่ำ ภาวะที่มีรกน้อยแบบ placenta succenturiata หรือเกิดร่วมกับครรภ์แฝด ซึ่งครรภ์แฝดมีโอกาสเกิดภาวะรกเกาะต่ำได้มากและสายสะดือของครรภ์แฝดมีโอกาสเกาะบนเยื่อหุ้มทารกได้มากกว่าครรภ์เดี่ยว
-