Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่อง พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อสมุทร - Coggle Diagram
เรื่อง
พระอภัยมณี
ตอน
หนีนางผีเสื้อสมุทร
ประวัติผู้แต่ง
พระสุนทรโวหาร (ภู่) หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนามว่า สุนทรภู่ เป็นกวีคนสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙
ลักษณะการประพันธ์
ด้วยกลอนสุภาพในลักษณะนิทาน
คำศัพท์
อสรีนิมิต
เนื้อไข
โลดลำพอง
สีทันดร
เพทไสย
จุดประสงค์ในการแต่ง
เพื่อเป็นนิทานอ่านความเพลิดเพลินและแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
โครงเรื่อง
เริ่มเรื่องที่พระอภัยมณีอยู่กินกับสินสมุทรจนมีบุตรหนึ่งคน ชื่อสินสมุทร เมื่อสินสมุทรอายุ 8 ปี ได้วิ่งเล่นไปเจอแผ่นหินที่ปิดปากถ้ำไว้จึงเปิดออก และไปจับเงือกชรามาอวดพ่อ พระอภัยมณีจึงเล่าความจริงแต่หนหลังให้ฟังว่าแม่เป็นนางงยักษ์แปลง เงือกชราอาสาจะช่วยเหลือให้สองพ่อลูกหนีจากผีเสื้อสมุทร พระอภัยมณีทำอุบายลวงให้ผีเสื้อสมุทรไปจำศีลในที่ไกล ๆ เป็นเวลา 3 วัน เงือกชราสองสามีภรรยาและลูกสาวจึงช่วยเหลือด้วยการให้พระอภัยมณีและสินสมุทรขี่หลังว่ายไปยังเกาะแก้วพิสดาร เมื่อครบ 3 วัน นางยักษ์กลับมาที่ถ้ำไม่เห็นสองพ่อลูกก็ออกตามหา และได้ฆ่าเงือกชราทั้งสอง แต่พระอภัยมณี สินสมุทร และนางเงือกรอดพ้นเงื้อมมือผีเสื้อสมุทรเพราะว่ายไปถึงเกาะแก้วพิสดารได้ทัน และได้โยคีซึ่งมีฤทธิ์ออกมาช่วยเหลือ เรื่องในตอนนี้จบลงที่ผีเสื้อสมุทรทำอะไรไม่ได้ก็กลับไป
ตัวละคร
พระอภัยมณี
นางผีเสื้อสมุทร
สินสมุทร
พระโยคี (พระฤาษี)
แก่นเรื่อง
แก่นเรื่องหลักของพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร คือ ชายหญิงที่จะเป็นสามีภรรยากัน หากไม่เหมาะสมกัน ไม่มีความรักซึ่งกันและกันย่อมไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ ดังจะเห็นได้จากชีวิตคู่ของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทรซึ่งมีเผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกัน คือเป็นมนุษย์กับยักษ์ อีกทั้งนางผีเสื้อสมุทรรักพระอภัยมณีเพียงฝ่ายเดียว โดยที่พระอภัยมณีไม่ได้รักตอบ
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
รสวรรณคดี
เสาวรจนี (บทพรรณนาความงามสถานที่ ธรรมชาติ ตัวละคร)
นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวพาราสี แสดงความรัก)
พิโรธวาทัง (บทโกรธ บทตัดพ้อต่อว่า)
สัลลาปังคพิสัย (บทแสดงความโศกเศร้าเสียใจ คร่ำครวญ)
ศิลปะการประพันธ์
การเล่นเสียงสัมผัสในทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ
การใช้คำที่ทำให้เกิดจินตนาการ
การใช้ภาพพจน์ประเภทอุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง