Coggle requires JavaScript to display documents.
ขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ คลำส่วนของทารกได้ชัดเจน
สตรีมีครรภ์อาจรู้สึกว่าทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติเนื่องจากถูกมดลูกบีบรัด
การแท้งโดยเฉพาะถ้ามีน้ำคร่ำน้อยตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งจะสัมพันธ์กับทารกมีความพิการ
ทารกเกิดภาวะ amniotic band syndrome จากการที่มีเยือนมืดรัดติดส่วนของร่างกายทารกกับผนัง amnion ทำให้เกิดภาวะพิการเช่น แขนขาเกิด amputation หรือคอดกิ่ว นอกจากนี้ การที่ทารกถูกมดลูกบีบรัดอาจทำให้เกิดการผิดรูปร่างของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเช่นเท้าแป (clubfoot) หรือแขนขาโก่ง
ทารกในครรภ์ถูกกดเบียดจากการที่มีน้ำคร่ำน้อยมากเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อทารกที่เรียกว่า Potter sequences คือทารกเกิดภาวะปอดแฟบ (pulmonary hypoplasia) หน้าตาผิดปกติ (จมูกแบนคางเล็ก) แขนขาหดเกร็งข้อสะโพกเคลื่อน clubfoot และภาวะปอดแฟบมักจะทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอด
เพิ่มความเสี่ยงในระยะคลอดเช่นสายสะดือถูกกด (Cord compression) ทำให้เกิดภาวะ fetal distress มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำอัตราการเต้นของหัวใจทารกลดลงในรูปแบบของ variable deceleration และส่งผลทำให้มีอัตราของการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้องเพิ่มขึ้น
การซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยเช่นประวัติถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานานประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดเป็นต้น
การตรวจร่างกายโดยการตรวจครรภ์พบขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์คลส่วนของทารกได้ชัดเจนฟังเสียงหัวใจทารกได้ชัดเจน
การตรวจพิเศษโดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงวัดค่า AF1 ได้น้อยกว่า 5
อธิบายให้ทราบเกี่ยวกับภาวะน้ำคร่ำน้อยแผนการรักษา
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
แนะนำการรับประทานอาหารที่
แนะนำให้การสังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
แนะนำการนอนพักบนเตียงในท่านอนตะแคงซ้าย
ติดตามประเมินความก้าวหน้าของการคลอดอย่างใกล้ชิด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจทารกทุก 5-1 ชั่วโมง
กรณีที่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำให้สังเกตการมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
หากพบว่ามี meconium ในน้ำคร่ำหรือเสียงหัวใจทารกผิดปกติ ควรแก้ไขโดยให้ผู้คนคลอดนอนตะแคงซ้าย ดูแลให้ได้รับ O2 ปรับเพิ่มอัตราการหยดของสารละลายเข้าทางหลอดเลือดดำและรายงานแพทย์
หลีกเลี่ยงการให้ยาบรรเทาปวด
หากมีความจำเป็นต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการในการช่วยคลอดหรือผ่าตัดคลอดควรเตรียม ผู้คลอดให้พร้อมทั้งด้านร่างกายจิตใจและกฎหมาย
รายงานกุมารแพทย์และเตรียมอุปกรณ์ในการฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดไว้ให้พร้อม เพื่อให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดได้ทันที
ให้การช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย ควบคุมอุณหภูมิ
ตรวจร่างกายทารกอย่างละเอียดเพื่อประเมินความพิการหรือความผิดปกติ
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงแผนการรักษาแก่ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
เน้นให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ให้การดูแลมารดาหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
catheter ติดตามประเมินการเจริญเติบโตและสภาวะของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
การเติมสารละลายเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ (amnioinfusion) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้น้ำเกลือ (normal saline) หรือ physiological saline ใส่เข้าไปแทนที่น้ำคร่ำ (amniotic fluid) โดยผ่านทางสาย intrauterine เพื่อป้องกันไม่ให้สายสะดือถูกกด
หากทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตรายพิจารณาให้คลอดโดยวิธีที่เหมาะสม