Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์เกินกำหนด imposter pregnancy, prolonged pregnancy),…
การตั้งครรภ์เกินกำหนด imposter pregnancy, prolonged pregnancy)
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็ม (294 วัน) หรือมากกว่าโดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาตามปกติ (LMP)
สาเหตุ
-
แต่อาจเกิดจากความผิดปกติหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบในทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดรวมถึงปากมดลูกไม่พร้อมที่จะนำไปสู่กระบวนการคลอด โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์เกินกำหนด
- คุณแม่จำประวัติประจำเดือนได้ไม่แม่นยำ จึงทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด
- คุณแม่เคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนดมาก่อน หรือคนในครอบครัวของฝ่ายหญิงเคยมีประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนด
- คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรก (Nulliparity) ซึ่งจะพบได้มากกว่าครรภ์หลัง
- คุณแม่ที่ดัชนีมวลกาย (BMI) ก่อนการตั้งครรภ์ ≥ 25
- ทารกในครรภ์มีความพิการ มีภาวะที่ไม่มีสมองและกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ทารกที่มีภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ ทารกที่ไม่มีต่อมใต้สมอง
- การขาดฮอร์โมน Placental sulfates deficiency
-
-
การรักษา
ระยะก่อนคลอด
-
ดูแลแบบเฝ้าติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ต้องตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ครบ 40 สัปดาห์เป็นต้นไปอย่างใกล้ชิด
ตรวจภายในประเมินปากมดลูกถ้าตรวจพบว่าปากมดลูกเหมาะสมต่อการก่อให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด (favorable Cervix) ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อชักนำการคลอด
-
ระยะคลอด
ปัญหาที่พบ
ภาวะทารกในครรภ์อยู่ในภาวะคับขันการตั้งครรภ์เกินกำหนดรถจะทำงานเสื่อมลงและปริมาณน้ำคร่ำลดลงมากทำให้โอกาสที่สายสะดือถูกกดมีมากจำเป็นต้องเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจทารกจะได้วินิจฉัยได้รวดเร็วและรีบให้การช่วยเหลือและรีบผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ภาวะทารกคลอดติดไหล่เนื่องจากทารกอาจมีขนาดใหญ่จึงอาจเกิดภาวะคลอดติดไหลได้ดังนั้นถ้าคะเนน้ำหนักทารกขนาดตั้งแต่ 4,500 กรัมขึ้นไปก็ควรผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง แต่ถ้าจะพยายามช่วยคลอดทางช่องคลอดผู้คลอดต้องมีอุ้งเชิงกรานที่กว้างเพียงพอและผู้ทำคลอดต้องมีทักษะในการช่วยคลอดภาวะคลอดติดไหล่เป็นอย่างดี
ภาวะทารกสำลักขี้เทาเมื่อพบว่ามีขี้เทาปนน้ำคร่ำเหนียวข้นควรพิจารณาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเมื่อทารกคลอดต้องตามกุมารแพทย์ช่วยรับทารกเพื่อใช้ท่อช่วยหายใจดูดน้ำคร่ำปนขี้เทาในปากและหลอดลมของทารก
ระยะหลังคลอด
ต้องติดตามดูทารกหลังคลอดเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภาวะสำลักขี้เทาภาวะการเจริญเติบโตหยุดชะงักและดูอายุครรภ์จากการให้คะแนนประเมินระบบประสาทเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นการตั้งครรภ์เกินกำหนดแท้จริงส่วนมารดาต้องระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
มารดา
เกิดความวิตกกังวลเครียดเพราะกลัวทารกในครรภ์จะได้รับอันตรายหรือเสียชีวิตทำให้มีการหลั่งสารแคที่โคลามีนส์มากมีผลทำให้การคลอดยาวนาน
ได้รับอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดหรือการทำสูติศาสตร์หัตถการเช่น การฉีกขาดของช่องทางคลอด การหย่อนยานของอุ้งเชิงกราน การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การติดเชื้อหรือการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากรกอยู่ในสภาพปกติจึงทำให้ทารกเจริญเติบโตต่อไปได้การที่ทารกตัวโตมากจะมีผลทำให้ศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานการคลอดติดไหล่หรือในรายที่มีรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะเริ่มติดกันแข็งจะทำให้ไม่มีการเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะ (molding) ในระยะคลอดการเคลื่อนต่ำของทารกจึงล่าช้าไม่เกิดกลไกการหมุนภายในอุ้งเชิงกราน internal rotation) และการเงยหน้า (extension) ทำให้ระยะที่1และ 2 ของการคลอดยาวนาน
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์การกระตุ้นเร่งคลอดการทำสูติศาสตร์หัตถการและการดูแลทารกหลังคลอด
ทารก
ทารกมีขนาดใหญ่ (macrosomia)
น้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios) และทารกอยู่ในภาวะคับขันทำให้สายสะดือถูกกดทับ (cord compression)
เกิดภาวะสำลักขี้เทา (meconium aspiration)
-
-
การวินิจฉัย
ประวัติประจำเดือนครั้งสุดท้ายและครั้งก่อนสุดท้ายรวมทั้งการซักประวัติการคุมกำเนิดและความสม่ำเสมอของรอบประจำเดือน
การทดสอบการตั้งครรภ์ได้ผลบวกเมื่อ 6 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย
การตรวจภายในเพื่อประมาณขนาดมดลูกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
การรู้สึกเด็กดิ้นในครรภ์ครั้งแรกโดยที่ครรภ์แรกประมาณ 18-20 สัปดาห์ ครรภ์หลังประมาณ 16-18 สัปดาห์
การได้ยินเสียงหัวใจทารกด้วยหูฟังธรรมดาเป็นครั้งแรกประมาณ 18-20 สัปดาห์
การตรวจระดับยอดมดลูกอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ความสูงของยอดมดลูกควรอยู่ระดับประมาณ 20 เซนติเมตรเหนือรอยต่อของกระดูกหัวหน่าวหรือระดับสะดือ
-
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อวินิจฉัยการตั้งครรภ์และประเมินอายุครรภ์
-