Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจในสตรีตั้งครรภ์ Heart Disease, หัวใจ2, หัวใจ2, รูปหัวใจ1, หัวใจ1,…
โรคหัวใจในสตรีตั้งครรภ์ Heart Disease
ชนิดของโรคหัวใจ
2.โรคหัวใจพิการ แต่กำเนิด (congenital heart disease) ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเช่นความผิดปกติของโครโมโซมหรือการติดเชื้อหัดเยอรมันในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นต้นพยาธิสภาพของโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของ septal defect และการไหลเวียนของเลือดผ่าน shunt สำหรับชนิดที่ไม่มีอาการเขียวร่วมด้วยเกิดจากภาวะ left to right shunt ได้แก่ ventricular septal defect (VSD), atrial septal defect (ASD persistant ductus arteriosus (PDA) ชนิดที่มีอาการเขียวร่วมด้วยเกิดจากภาวะ right to left shunt ได้แก่ กลุ่มอาการ tetralogy of fallot และ Eisenmenger สำหรับชนิดที่มีอาการเขียวร่วมด้วยนี้ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อมารดาและทารกสูง
1.โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart disease) มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Streptococcus ทำให้มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ลิ้นหัวใจซึ่งนำไปสู่การเกิดลิ้นหัวใจรั่ว (regurgitation lesion) หรือลิ้นหัวใจตีบ (stenotic lesion) หรือทั้งรั่วและตีบ แต่เมื่อได้รับการบำบัดรักษาโดยยาหรือรักษาโดยการผ่าตัดใส่ prosthetic valve ก็สามารถให้ตั้งครรภ์ได้ซึ่งโรคลิ้นหัวใจที่พบได้บ่อย ได้แก่ mitral stenosis (MS), mitral regurgitation (MR), aortic stenosis (AS), aortic regurgitation (AR)
ผลของโรคหัวใจต่อภาวะสุขภาพของสตรีมีครรภ์และทารกในครรภ์
ผลต่อสตรี
ภาวะ tachyarythmia ที่เกิดจากการทำงานของหัวใจที่เลวลงเมื่อหัวใจทำงานหนักเพิ่มขึ้นอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์และระยะคลอดภาวะปอดบวมน้ำและภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ในระยะหลังคลอดพบภาวะตกเลือดหลังคลอดซีดการติดเชื้อและ thromboembolism ในสตรีที่เคยได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจอาจทำให้เกิดการอุดตันที่ลิ้นหัวใจเทียม
ผลต่อทารก
แท้งคลอดก่อนกำหนดภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยและทารกตายในครรภ์เนื่องจากภาวะโรคหัวใจของมารดาทำให้การไหลเวียนไปสู่มดลูกและรกไม่ดี (uteroplacental insufficiency) และทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคหัวใจที่มีสาเหตุจากพันธุกรรมมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ แต่กำเนิดได้สูง
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงที่ตรวจพบในสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ ได้แก่ อาการหอบเหนื่อย(dyspnea) หายใจลำบากในตอนกลางคืน (paroxysmal nocturnal dyspnea) อาการนอนราบไม่ได้ (progressive orthopnea) ไอเป็นเลือด
(hemoptysis) เมื่อมีการคังของน้ำในปอดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อปอดและมีการแตกของหลอดเลือดฝอยที่ปอดทำให้ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู(pink frothy sputum) แต่ถ้ามีการแตกของหลอดเลือดจำนวนมากจะไอเป็นเลือด และมีอาการเจ็บหน้าอก (chest pain) ฟังได้ systolic murmur grade lll ขึ้นไป หรือฟังได้ diastolic murmur หัวใจโต(cardiomegaly) อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างรุนแรง (severe arhythmia) และคลำบริเวณทรวงอกพบว่ามีการสั่นสะเทือน (thrill) ซึ่งเกิดจากการตีบแคบของหลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจผิดปกติ มีอาการเขียว (cyanosis) และนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers)
การพยาบาลสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีมีครรภ์สังเกตอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ถึงภาวะหัวใจล้มเหลวที่ เช่น หายใจหอบเหนื่อย ใจสั่นมากขึ้น ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการเขียวตามปลายมือปลายเท้า
อธิบายให้เห็นความสำคัญของการมาฝากครรภ์และมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำเรื่องการนับลูกดิ้น
แนะนำให้ดูแลความสะอาดของร่างกายปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารพวกแป้งและไขมันเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไปลดอาหารรสเค็ม แต่ไม่ควรงดเกลือเพราะโซเดียมในเกลือจะช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดมีความสมดุลโดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ที่มีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นยกเว้นในรายที่อาการของโรครุนแรงจำเป็นต้อง จำกัด เกลือเพื่อลดการทำงานของหัวใจ
แนะนำเรื่องการพักผ่อนและการทำงานควรพักผ่อนอย่างเพียงพอโดยนอนตอนกลางคืนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรคภาวะแทรกซ้อน
ระยะรอคลอด
ระยะรอคลอด
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 1 ชั่วโมง
ดูแลให้นอนพักผ่อนบนเตียงในท่า Fowlers หรือท่า semirecumbent
ประเมินและติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
อยู่เป็นเพื่อนสตรีมีครรภ์ดูแลความสุขสบายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาเช่นยาปฏิชีวนะยาเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจยาขับปัสสาวะ
ประเมินและบันทึกปริมาณสารน้ำที่เข้าและออกจากร่างกายเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกิน
รายงานแพทย์เพื่อให้ยาระงับปวดในรายที่มีอาการเจ็บครรภ์มาก
เตรียมอุปกรณ์ในการทำคลอดอุปกรณ์ในการช่วยคลอดรวมทั้งอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทั้งของมารดาและทารก
ระยะเบ่งคลอด
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกทุก 5-10 นาที และประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุกครั้งหลังมดลูกคลายตัว หรือทุก 5 นาที หรือประเมินอย่างต่อเนื่อง
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างใกล้ชิด
ประเมินสัญญาณชีพทุก 5-10 นาทีถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
เตรียมผู้คลอดสำหรับการช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตร์หัตถการ โดยแนะนำให้ผู้คลอดหายใจ
ทางปาก เพื่อลดแรงเบ่ง
หลีกเลี่ยงท่า lithotomy เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่ขาถูกกดทับหัวใจจะทำงานหนักมากขึ้น
ระยะหลังคลอด
ในระยะหลังคลอดทันทีควรป้องกันการเกิดภาวะช็อกและภาวะหัวใจล้มเหลว จากการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจอย่างรวดเร็วในปริมาณมาก โดยการใช้มือค่อยๆกดบนหน้าท้องส่วนบนเหนือสะดือ เพื่อเพิ่มความดันในช่องท้อง ชะลอการไหลกลับของเลือดเข้าสู่หัวใจ
ประเมินสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 4 ครั้ง และทุก 30 นาที 2 ครั้ง หลังจากนั้นประเมินทุก
1 ชั่วโมงจนกว่าอาการจะคงที่ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นประเมินทุก 2 ชั่วโมง
ดูแลให้พักผ่อนและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ยานอนหลับและให้ออกซิเจน ควรจัดให้นอนในท่าศีรษะสูงเล็กน้อย (semi Fowler's position)
เฝ้าระวังและประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว
ประเมินแผลฝีเย็บตามหลัก REEDA เพื่อป้องกันการตกเลือดตกเลือดจากเลือดคั่งที่แผลฝีเย็บ (hematoma)
หลีกเลี่ยงการใช้ยา merthergin เพราะยามีผลให้มดลูกหดรัดตัวอย่างรุนแรง ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจในปริมาณที่มาก อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
พยาธิสรีรภาพ
ในขณะตั้งครรภ์ปริมาตรเลือด (blood volume) จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งคงที่เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สามในช่วงอายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดประมาณร้อยละ 45-50 ส่วนปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจใน 1 นาที (cardiac output) เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ cardiac output ก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดการหดรัดตัวของมดลูกส่งผลให้ cardiac output เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 12-25 ขณะเบ่งคลอดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นและในระยะหลังคลอดทางช่องคลอดทันทีพบว่า cardiac output อาจเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 60-80 ทั้งนี้เนื่องจาองจากขนาดมดลูกเล็กลงไม่เป็นแหล่งคั่งของเลือดและไม่กด inferior vena cava อีกต่อไปส่งผลให้ปริมาณเลือดทั้งหมดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ถ้าสตรีมีครรภ์มีพยาธิสภาพที่หัวใจอยู่แล้วการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้นได้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอดระหว่างคลอดและหลังคลอดทันที
การรักษา
ระยะตั้งครรภ์
การรับไว้รักษาในโรงพยาบาลสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ class ควรรับไว้ในโรงพยาบาลอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนครรภ์ครบกำหนด class II ควรรับไว้ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ส่วน class I และ class IV ควรรับไว้ในโรงพยาบาลตลอดการตั้งครรภ์สำหรับ class I, II, I ถ้าไม่มีอาการผิดปกติรุนแรงอนุญาตให้กลับบ้านได้บ้าง
2.ดูแลให้ได้รับการฝากครรภ์ในหน่วยครรภ์เสี่ยงสูงโดยใน 28 สัปดาห์แรกให้มาตรวจทุก 2 สัปดาห์หลังจากนั้นให้มาตรวจทุกสัปดาห์ตามความรุนแรงของโรคและในการฝากครรภ์ให้การรักษา
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวเช่นหายใจเหนื่อยหอบชีพจรเร็วไอเป็นเลือดบวมหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการบวมน้ำที่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้น
เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อเช่นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจ
กรณีที่เป็นโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดควรตรวจ fetal echocardiogram ในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์เพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์
เฝ้าระวังภาวะทารกโตช้าในครรภ์โดยทำ ultrasound เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของทารกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (หลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์)
ตรวจติดตามสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยการนับลูกดิ้นการทำ Non-stress test (NST) หรือการทำ Biophysical profile (BPP) เริ่มตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์โดย NST อาจทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอตามความต้องการของสตรีแต่ละรายหลีกเลี่ยงภาวะเครียดรวมทั้งลดการออกกำลังกายที่รุนแรง
ลดอาหารเค็ม แต่ไม่ต้อง จำกัด เกลือและดูแลให้ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะซีด
ควรงดการดื่มสุรางดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น
รายที่เป็นโรคหัวใจรูห์มาติคควรให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการกลับเป็นซ้ำของไข้รูห์มาติคจากเชื้อ Streptococci
รายที่ได้รับยารักษาโรคหัวใจตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ยาบางชนิดอาจทำให้ทารกในครรภ์ผิดปกติเช่นยา cournadin เป็นยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดสามารถผ่านรกทำให้เกิดอันตรายต่อทารกได้ควรเปลี่ยนเป็นยา heparin แทนและควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเช่นภาวะเลือดออกง่ายควรตรวจวัดระดับเกร็ดเลือด (pletelet) และค่าความแข็งตัวของเลือด (PT, PTT) เป็นระยะ
ควรงดยาเช่น cocaine, amphetamine เป็นต้นเพราะมีผลต่อหัวใจโดยตรง
1.สตรีมีครรภ์ควรได้รับการดูแลร่วมกันระหว่างสูติแพทย์และแพทย์ทางโรคหัวใจ
สตรีมีครรภ์มีอาการของโรคหัวใจรุนแรงขึ้นหรือมีภาวะหัวใจอักเสบจากไข้รูห์มาติคอย่างรุนแรงอาจพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์หรือพิจารณาทำแท้งเพื่อการรักษา (therapeutic abortion)
ระยะเจ็บครรภ์คลอด
การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกัน bacterial endocarditis จะพิจารณาให้ในรายที่มีความเสียงสูง
การป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว
ควรจัดให้นอนท่า Fowlers หรือท่า semirecumbent
ประเมินสัญญาณชีพทุก 10-15 นาที
ควรให้ยาระงับปวดอย่างเพียงพอโดยการทำ Continuous epidural block หรือให้ morphine เพื่อลดอาการปวดความกลัวซึ่งส่งผลให้อัตราการหายใจและการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
ให้ออกซิเจนและสารละลายทางหลอดเลือดดำหยดเข้าหลอดเลือดดำด้วยอัตรา จำกัด
ให้ยา digitalis ที่ออกฤทธิ์เร็วและให้ยาขับปัสสาวะเช่น lasix 40-80 มิลลิกรัมเป็นต้น
บันทึกปริมาณสารน้ำที่เข้า-ออกจากร่างกายเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินเพราะอาจเกิดภาวะ pulmonary edema ได้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำในรายที่มีข้อบ่งชี้
วิธีคลอดที่แนะนำคือการคลอดทางช่องคลอดเนื่องจากเสียเลือดน้อยอัตราการติดเชื่อหลังคลอดน้อยและมารดาหลังคลอดสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี
ติดตามสภาวะทารกในครรภ์ด้วย external fetal monitoring เนื่องจากเมื่อมดลูกหดรัดตัวทำให้เลือดและออกซิเจนไปสู่รกและทารกลดลงทารกอาจเกิดภาวะ acidosis หรือเสียชีวิตได้
ระยะก่อนตั้งครรภ์สตรี
ที่เป็นโรคหัวใจอยู่ต้องได้รับการให้คำปรึกษาก่อนการตั้งครรภ์ถ้าเป็นโรคหัวใจ class 1 หรือ class II และไม่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อนอาจอนุญาตให้ตั้งครรภ์ได้และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดรายที่เป็น class II, class IV หรือ class เที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อนไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ส่วนในรายกำลังรอการผ่าตัดเพื่อการรักษาควรคุมกำเนิดไว้ก่อนเมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วอาการดีขึ้นจึงควรพิจารณาว่าควรให้ตั้งครรภ์ได้หรือไม่
ระยะหลังคลอด
ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวจากการมีเลือดไหลกลับเข้าสู่ระบบหัวใจ
ให้มี early ambulation จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะ thromboembolic disorder
ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดต่อเนื่องอีก 6 สัปดาห์เพื่อเฝ้าระวังภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือด
เฝ้าระวังภาวะติดเชื้อโดยให้ยาปฏิชีวนะต่อซึ่งอาจใช้ยาในกลุ่ม penicillin หรือ broad spectrum
การคุมกำเนิดกรณีที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้วหรือสภาพของโรคไม่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์
การประเมินและการวินิจฉัย
1.การซักประวัติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยอาการและอาการแสดงของโรคหัวใจเช่นอาการใจสั่นเจ็บหน้าอกหายใจเหนื่อยหอบไอเป็นเลือดเป็นลมหมดสติเมื่อออกแรงเป็นต้น
2.การตรวจร่างกายประเมินสัญญาณชีพอาจพบชีพจรเบาเร็วไม่สม่ำเสมอมีภาวะ tachycardia (> 100 ครั้ง / นาที) หรือ bradycardia (<60 ครั้ง / นาที) และตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรคหัวใจ
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจค่า arterial blood gas เพื่อประเมินปริมาณออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดหรือภาวะกรด-ด่างในร่างกายซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้หรือตรวจค่า electrolyte ในเลือดเช่นแคลเซียมโพแทสเซียมถ้าโพแทสเซียมมีระดับต่ำจะทำให้ซีพจรเบาเร็วไม่สม่ำเสมอหรือถ้าสูงจะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้เป็นต้น
4.การตรวจพิเศษ ได้แก่ การตรวจ electrocardiography เพื่อตรวจสอบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจขนาดของหัวใจและภาวะหัวใจขาดเลือดการตรวจ echocardiography เพื่อตรวจหาตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพและหน้าที่การทำงานเช่นการสูบฉีดโลหิตการตรวจ chest X-ray เป็นต้นอาจมีประโยชน์น้อยกว่าวิธีอื่นเนื่องจากในสตรีมีครรภ์ปกติอาจพบขนาดหัวใจโตกว่าปกติเล็กน้อยอยู่แล้วและทำ cardiac catheterization ใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น
การจำแนกความรุนแรงของโรคหัวใจ นิยมจำแนกตาม New York Heart Association แบ่ง
ออกเป็น 4 กลุ่ม
Class Il: คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง จะรู้สึกสบายดีในขณะพักแต่ถ้าทำงานตามปกติจะรู้สึกเหนื่อย มีอาการหายใจลำบาก ใจสั่นหรือเจ็บหน้าอก
Class IIl คือ ขณะพักจะรู้สึกสบายดี แต่จะรู้สึกเหนื่อยมากถ้าทำงานเล็กน้อยหรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
Class I: คือ ไม่มีอาการของโรคหัวใจ สามารถทำงานได้ตามปกติโดยไม่รู้สึกเหนื่อย
Class IV: คือ ไม่สามารถทำกิจกรรมได้ มีอาการเหนื่อยหอบ แม้ในขณะพัก
ความหมาย
โรคหัวใจ (heart disease) ในสตรีมีครรภ์หมายถึงสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจร่วมด้วยซึ่งอาจเป็นมาก่อนตั้งครรภ์หรือภายหลังตั้งครรภ์ อุบัติการณ์ของโรคหัวใจในสตรีมีครรภ์พบได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของสตรีมีครรภ์ทั้งหมด โรคหัวใจที่พบมากที่สุด คือ โรคลิ้นหัวใจ (โรคหัวใจรูห์มาติก: Rheumatic heart disease) ร้อยละ 48.8 และโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร้อยละ 44.8 ปัจจุบันการดูแลรักษาไข้รูห์มาติกดีขึ้นทำให้อุบัติการณ์มีแนวโน้มลดลงและขณะเดียวกันการผ่าตัดหัวใจได้ผลดีขึ้นสตรีที่เป็นโรคหัวใจ แต่กำเนิดมีโอกาสอยู่รอดถึงวัยเจริญพันธุ์มากขึ้นทำให้พบในสตรีมีครรภ์มากขึ้น (ธีระทองสง, 2555)
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรคหัวใจ
1.การวินิจฉัยยากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในการตั้งครรภ์ปกติมีอาการและอาการแสดงหลายอย่างคล้ายกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เช่นอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น อาการอ่อนเพลียอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้เป็นต้น
2.อาการของโรคหัวใจรุนแรงขึ้นขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์หัวใจจะทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายรวมทั้งทารกในครรภ์ ทำให้การดำเนินของโรคแย่ลง อาการรุนแรงขึ้น เสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น อัตราการตายของมารดาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเสียชีวิตเกิดบ่อยที่สุดในระยะคลอดและหลังคลอดใหม่ ๆ
3.ไข้รูห์มาติคมีแนวโน้มกลับเป็นซ้ำบ่อยขึ้นในระยะตั้งครรภ์โรคลิ้นหัวใจมีโอกาสเกิด bacterial endocarditis ได้ในขณะคลอด
4.การตั้งครรภ์ทำให้เกิดภาวะ cardiomyopathy ในระยะหลังคลอดได้แม้อุบัติการณ์น้อย
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นที่ปี 3 กลุ่มที่ 3 :