Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาทีออกฤทธิ์ต่อระบบต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
ยาทีออกฤทธิ์ต่อระบบต่อมไร้ท่อ
เบาหวาน (Diabetes mellitus, DM)
ความผิดปกติทางเมตะบอลิซึมซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง (hyperglycemia) เป็นผลมาจากความบกพร่องของการหลังอินซูลิน หรือ เซลล์ของร่างกายไม่สามารถนําอินซูลินไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (insulin resistance) หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) คือ ภาวะทีเซลล์มีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง
การแบ่งประเภทของเบาหวาน
ประเภทที 1 (type I DM) :ไม่มี อินซูลิน หลังออกมาจากตับอ่อน ต้องการอินซูลินจากภายนอกร่างกาย
ประเภทที 3 : โรคเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ
ประเภทที 4 (gestational diabetes) :โรคเบาหวานทีเกิดขณะตั้งครรภ์
ประเภทที 2 (type II DM) :มีอินซูลินหลังออกมาจากตับอ่อนน้อย และ/หรือเกิดการดื้อต่ออินซูลิน
การรักษา : ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลัง
2. การรักษาโดยการใช้ยา
ยาฉีดอินซูลิน (insulin)
ลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานทุกประเภท
กลไกการออกฤทธิ์ของ insulin :นํากลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์ เปลี่ยนกลูโคสเป็น glycogen นำโปรแทสเซียมเข้าสู่เซลล์
ผลข้างเคียงอาการไม่พึงประสงค์ : ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) มีตุ่มนูนแข็งจากไขมันใต้ชั้นผิวหนังตรงตำแหน่งที่ฉีด(lipohypertrophy) จากการฉีดอินซูลินซ้ำที่ตำแหน่งเดิม
ชนิดของอินซูลิน สามารถแบ่งอินชูลินตามระยะเวลาในการออกฤทธิ์ได้เป็น 5 ประเภท
Rapid acting insulin เป็นอนุพันธ์ของอินชูลิน (insulin analogue)
Short acting Insulin
Intermediate-acting insulin
Long acting insulin
Premixed insulin
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (hypoglycemic drugs)
ข้อบ่งใช้ : ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2
กระตุ้นการหลังอินซูลินจากเบต้าเซลล์
กลุ่ม Sulfonylureas
กลุ่ม Meglitinides
ตัวอย่างยา : Gliclazide MR ,Glibenclamide ,Glipizide ,Gliclazide ,Glimepiride ,Chlorpropamide
กลไกการออกฤทธิ์ : กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน
ผลข้างเคียง : น้ำหนักตัวเพิ่ม ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ปวดศีรษะ เหงื่อแตก กระวนกระวาย อ่อนเพลีย สับสน ตาพร่า ปากหรือลิ้นชา มีอาการจะเป็นลมคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม sulfonamide
2. กลุ่ม Biguanides
ตัวอย่างยา: Metformin
กลไกการออกทธิ์ : เพิ่มความไวของเนื้อเยื่อต่ออินซูลิน และลดการสร้างกลูโคสจากตับ เพิ่มการนำกลูโคสเข้าเซลล์กล้ามเนื้อและเพิ่มการใช้
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะไตทำงานบกพร่อง หัวใจวายระบบไหลเวียนล้มเหลว เพราะอาจทำให้เกิดภาวะกรดแลกติคคั่งในเลือด (lactic acidosis)
ผลข้างเคียง : เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย แสบยอดอก น้ำหนักลด(มักจะให้ผู้ป่วยเบานานที่มีอ้วน)ลดการดูดซึมวิตามิน B12 และ folic acid ขาดวิตามิน B12 และ folic acid การคั่งของกรดแลคติก (lactic acidosis): หายใจหอบ เบื่ออาหาร เซื่องซึม ความดันโลหิตต่ำ
3. กลุ่ม Thiazolidinediones
ตัวอย่างยา:Pioglitazone
ยาเพิ่มความไวของเนื้อเยื่อต่ออินซูลิน (ลดการดื้อต่ออินซูลิน) เพิ่มการนำกลูโคสเข้าเซลล์ และลดการสังเคราะห์กลูโคส
ผลข้างเคียง :บวมน้ำ (fluid retention) เฝ้าระวังผู้ป่วยอาการบวม น้ำหนักที่เพิ่มจากการคั่งของน้ำและอาการที่บ่งชี้ต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เพิ่ม LDL cholesterol พิษต่อตับ อาการที่บ่งบอก เช่น ตัวเหลือง ปัสสาวะสีดำ ต้องตรวจการทำงานของตับก่อนได้รับยาและทุก 2 เดือนในปีแรกของการกินยา
กลุ่ม Alpha - glucosidase inhibitors
ตัวอย่างยา: Acarbose, Voglibose, Miglitol ข้อแนะนำควรรับประทานยาพร้อมอาหาร
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งเอนไซม์ alpha-glucosidase และเอนไซม์ amylase เอนไซม์นี้มีหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ลดการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกาย
ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร การทำงานของตับ/ ไต บกพร่อง
ผลข้างเคียง :ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด ผายลมบ่อย ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้โลหิตจาง พิษต่อตับ เมื่อใช้ระยะยาวผู้ป่วยต้องตรวจการทำงานของตับเป็นระยะ
กลุ่ม Incretin-based drugs (oral/ injection)
กระตุ้นตัวรับ GLP-1 ชื่อยา: Exenatide, Liraglutide, Albiglutide,Dulaglutide
กลไกการออกฤทธิ์: กระตุ้นตัวรับ GLP-1 ส่งผลให้มีการ กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ยับยั้งการหลั่งกลูคากอน
ผลข้างเคียง :เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ท้องเสีย ตับอ่อนอักเสบ
ข้อห้ามใช้ : ผู้ป่วยโรคไตวาย, ulcerative colitis, crohn's disease
ยับยั้งเอนไซม์ DPP-4 (DPP-4 inhibitors) ชื่อยา: Sitagliptin, Vildagliptin, Saxagliptin
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งเอนไซม์ DPP-4 ซึ่งเป็นเอนไซม์ทำลาย GLP-1 และGIP ทำให้ลดการทำลายฮอร์โมน GLP-1 และ GIP
ผลข้างเคียง: การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน เยื่อจมูกอักเสบ
กลุ่ม SGLT-2 inhibitors ชื่อยา: Canagliflozin, Empagliflozin,Dapagliflozin
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งการดูดกลับของกลูโคสที่หน่วยไต ทำให้มีกลูโคส ออกมากับปัสสาวะเพิ่มขึ้น ลดปริมาณกลูโคสในเลือด
ผลข้างเคียง ; การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ น้ำหนักลด ของเหลวในกระแสเลือดลดลง (hypovolemia) ไม่เกิดภาวะทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
Amylin analog: Pramlintide
Pramlintide (Symlin) เป็นยารักษาเบาหวานชนิดใหม่ที่สามารถควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptives)
ชนิดของยาคุมกำเนิด
-ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive - COC) จะประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตเจนรวมกันในเม็ดเดียว โดยยาคุมชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงมาก หากรับประทานอย่างสม่ำเสมอ และยังมีผลดีทำให้ประจำเดือนมาตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ อาจปวดประจำเดือนน้อยลงได้ :
-ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestrogen-only pills - POP) จะมีฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว ยาคุมชนิดนี้ในหนึ่งแผงจะมีทั้งหมด 28 เม็ด รับประทานได้ทุกวันโดยไม่ต้องหยุด เมื่อรับประทานหมดแล้วก็สามารถรับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย เป็นชนิดที่ผลิตออกมาเพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
-ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน (Emergency contraception pill) มักใช้เฉพาะในยามฉุกเฉิน เช่น ถุงยางแตก หรือรั่ว เป็นต้น
กลไกการออกฤทธิ์
-Estrogen ยับยั้งการหลั่ง Follicle stimulating hormone ( FSH ) ทำให้กดการเจริญของ follicle
-Progesterone ยับยั้งการหลั่ง Luteinizing ( LH ) ทำให้ไม่มี LH surge และไม่เกิดการตกไข่ และ Progesterone ยังทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวและทำให้ sperm ผ่านได้ยาก
-ทั้ง Estrogen และ Progesterone มีฤทธิ์ทำให้ Endometrium ไม่เหมาะสมแก่การฝังตัวของตัวอ่อน
-นอกจากนี้ฮอร์โมนยังอาจมีผลรบกวนต่อการ Contraction ของ cervix, uterus, และ fallopian tubes ด้วย
อาการไม่พึงประสงค์
-ผลจาก Estrogen สูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน, วิงเวียน, ปวดศีรษะไมเกรน, ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปวดประจำเดือนมาก, เต้านมโตเจ็บคัดเต้านม, มดลูกโตและเส้นเลือดอุดตัน
-ผลจาก Estrogen ต่ำ ได้แก่ ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ, เต้านมเล็ก, มดลูกเล็ก, Early/mid cycle breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน ซึ่งมาผิดปกติ ในช่วงระหว่างต้นเดือนถึงกลางเดือน
-ผลจาก Progesterone สูง ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม, เป็นสิว, หน้ามัน, ขนดก, เต้านมเล็ก, ประจำเดือนมาน้อย, ตกขาวจากเชื้อ Candida spp.
-ผลจาก Progesterone ต่ำ ได้แก่ breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน โดยมาผิดปกติ ในช่วงหลังรอบเดือน
วิธีกินยาเม็ดคุมกำเนิด
-เริ่มกินเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือระหว่างวันที่ 1-5 ของ menstrual cycle กินยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยควรกินก่อนนอน
-แบบ 21 เม็ด กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกันทุกวัน โดยกินยาตามลูกศรไปจนครบ 21 เม็ด ให้กิน 21 วันแล้วหยุดยาเป็นเวลา 7วัน ในวันที่ 8 กินยาในแผงต่อไปเช่นเดิม (ในช่วง 7 วันที่หยุดยา จะมีประจำเดือนมา แต่จะมากี่วันไม่ต้องไปสนใจ และถึงแม้ประจำเดือนยังคงมาอยู่หรือหมดไปแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้วให้เริ่มทานยาเม็ดแรกของแผงใหม่ได้เลย )
-แบบ 28 เม็ดให้กินทุกวันเช่นกัน ทานให้ตรงเวลากันทุกวันโดยไล่เม็ดไปตามลูกศรและเริ่มแผงใหม่ได้เลยเมื่อหมดแผงเก่า เพื่อให้สตรีกินยาติดต่อกันทุกวันโดยไม่ต้องเว้นช่วงจะได้ไม่ต้องกังวลกับการนับวัน การกินยาเม็ดคุมกำเนิด triphasic combined pill ชนิด 28 เม็ด ให้เริ่มยาเม็ดแรกในช่วงสีแดงก่อน กินเม็ดยาที่ด้านหลังระบุให้ตรงกับวันแรกที่มีประจำเดือนมา กินตามลูกศร วันละ 1 เม็ดเวลาเดียวกันทุกวัน ห้ามลืมกิน กินยาจนหมดแผงแล้วเริ่มแผงใหม่ทันที ไม่ต้องหยุดยาให้เริ่มยาเม็ดแรกให้เหมือนกินแผงแรก
-กรณีที่ลืมกินยา หากลืมกินยา 1 เม็ดให้กินยาทันทีที่นึกได้และกินเม็ดต่อไปเช่นเดิม(ในวันนั้นจึงได้กินยาทั้งหมด 2 เม็ด)หากลืมกิน 2 เม็ดในสัปดาห์ที่ 1-2 ให้กินยา 2 เม็ดทันทีที่นึกได้ และกินอีก 2 เม็ดในวันถัดไป จากนั้นกินยาตามปกติ และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย หากลืมกินยา 2 เม็ดใน สัปดาห์ที่ 3 ให้ทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย หากลืมกินยา 3 เม็ด ให้หยุดกินทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มกินยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมกินยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย และหากประจำเดือนขาดหายติดต่อกัน 2 เดือนอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ กรณีที่ลืมกินยาเม็ดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน ในcombined pills แบบ 28 เม็ด ให้ข้ามวันที่ลืมกินไปได้ และกินเม็ดต่อไปตามปกติ
ข้อห้ามใช้
-ห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ป่วย Thrombophlebitis, Thromboembolic phenomena, Cerebrovascular disease และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน
-ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งหรือคาดว่าจะเป็นมะเร็งที่เต้านม หรือ Estrogen dependent tumor อื่นๆ
-ห้ามใช้ในวัยรุ่นที่ Epiphyisal closure ยังไม่สมบูรณ์
-ไม่ควรใช้ในผู้ที่มี vaginal bleeding โดยไม่ทราบสาเหตุ
-ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
-หลีกเลี่ยงการใช้ หรือระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ, asthma, eczema, migraine, diabetes, hypertension และ convulsive disorder
ความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ (Thyroid disorders)
ความผิดปกติของระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือด
1.ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูง (hyperthyroidism)
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยทำให้เกิดการสร้างและหลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดน้อยลง
อาการแสดง ได้แก่ อาการบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้น เชื่องช้า ท้องผูก ผิวแห้ง ขี้หนาวอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสียงแหบ การวินิจฉัย การตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ คือค่า FT4 T4 และ T3 จะลดลง โดยจะพบค่า FT4 และ T4 จะต่ำก่อน T3 และตรวจระดับ TSH
ยารักษา
1.กลุ่ม thioamides ได้แก่ Propylthiouracil (PTU),Methimazole (MMI)
ยา: Propylthiouracil (PTU), Methimazole (MMI)
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้สังเคราะห์ฮอร์โมนธัยรอยด์
ผลข้างเคียง : กดไขกระดูกโดยเฉพาะการลดลงของเม็ดเลือดขาว(agranulocytosis) สังเกตอาการเบื้องต้น เช่น เจ็บคอ ไข้ hypothyroidism จากการได้รับยามากเกินไป ตับอักเสบ สังเกตอาการตัวเหลือง ปัสสาวะสีดำ อุจจาระมีสีอ่อนตรวจค่าการทำงานของตับ ผื่นคัน
lodides นิยมใช้ลดขนาดต่อมและปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงต่อม ก่อนทำการผ่าตัด
กลไกการออกฤทธิ์ ; ยับยั้งการสังเคราะห์ฮอร์โมนธัยรอยด์
ผลข้างเคียง : พิษไอโอดีน (iodism) เช่น ต่อมน้ำลายอักเสบ น้ำลายออกมามาก มีไข้ ปวดแสบร้อนในปาก รสชาดโลหะ (เฝือน) ในปาก ผืน
3.Radioactive iodine การกินแร่
lodine-131 (I-131) เป็นไอโซโทป ถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วและไปเก็บสะสคามเข้มข้นสูงที่ต่อมธัยรอยด์
กลไกการออกฤทธิ์: ปล่อยรังสีเบต้าทำลายต่อมธัยรอยด์
อาการไม่พึงประสงค์ : ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (อาจเกิดภายใน 1 หรือ 2 ปี)กดไขกระดูก ระวังภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ (leukopenia), เกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) ห้ามใช่ในหญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านธัยรอยด์ (PTU, MMI) ให้งดยา 3-7 วัน
2.ระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ (hypothyroidism)
มีทั้งรูปแบบยากินและรูปแบบยาฉีด รูปแบบยาฉีด (IV) ใช้รักษาภาวะธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำระดับรุนแรง (myxedema coma)
Thyroxine (T4)
Liothyronine (T3)
ฮอร์โมนเพศหญิง
โปรเจสเตอโรน
เป็นสารสเตอรอยด์ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายชนิดหนึ่ง จัดเป็นฮอร์โมนเพศในกลุ่มโพรเจสโทเจน มีบทบาทในการควบคุมรอบประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการสร้างตัวอ่อนใช้เพื่อทำให้เกิดการมีประจำเดือน ในผู้หญิงที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน (menopause) แต่ไม่มีประจำเดือน เนื่องจากขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนภายในร่างกาย ยานี้ยังใช้เพื่อป้องกันเนื้องอกในเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับผู้หญิงที่รับการรักษาทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen hormone replacement therapy)
แอนโดรเจน
แอนโดรเจน หรือ ฮอร์โมนเพศชาย เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เพศชายในวัยรุ่นมีสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันและทำให้เกิดความมันส่วนเกินมากขึ้นส่งผลให้เกิดสิวฮอร์โมน ทำให้ช่วงวัยรุ่นมักมีสิวฮอร์โมนขึ้นมากเป็นพิเศษ
เอสโตรเจน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตขึ้นจากรังไข่ของเพศหญิง กลไกการออกฤทธิ์ซึมผ่านพลาสมาเมมเบรนจับกับตัวรับซึ่งจะจำเพาะต่อฮอร์โมนนั้น ๆ ในไซโตพลาสมsteroid-receptor complex มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและซึมเข้าสู่นิวเคลียสจับกับตำแหน่งจำเพาะบนโครมาติน กระตุ้นให้มีการสังเคราะห์ RNA และโปรตีนมีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง