Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Tumor, Cancer and Neoplasm - Coggle Diagram
Tumor, Cancer and Neoplasm
Tumor ตามรากศัพท์ภาษาลาติน มีความหมายว่า เป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการบวมของเนื้อเยื่อ(Tissue Swelling) แต่โดยทั่วไปแล้วถูกนำมาใช้ในความหมายว่า เป็นก้อนเนื้องอก
-
Neoplasm หรือ Neoplasia (neo = new, plasia = tissue or cells) (Technical term)หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดจากความผิดปกติของการเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์
Cancer หมายถึง เนื้องอกร้ายหรือมะเร็ง“มะเร็ง” ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 โดยมีความหมายดังนี้ “น. เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัวเพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้รักษาไม่ค่อยหาย”
“cancer” หรือ “malignancy” ซึ่งศัพท์ภาษาอังกฤษ
คำว่า “cancer” นี้มีต้นกำเนิดในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 โดยมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า“cancer” หรือก่อนหน้านี้เขียนว่า “canker”แปลว่า ปู (crab) ที่ใช้คำนี้ อาจเป็นเพราะลักษณะการโตของก้อน6มะเร็ง จะมีส่วนยื่นเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติโดยรอบเหมือนขาปู (ฉะนั้น สัญลักษณ์ของมะเร็งหรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง จึงมักใช้รูปปูเป็นเครื่องหมาย)
-
-
-
-
-
Mixed tumor หรือ Pleomorphic adenomaเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมน้ำลาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้องอก 2 กลุ่มคือ ส่วนที่เป็นMyxoid stroma และ ส่วนที่เป็น Epithelial sheets หรือ glands โดยมีเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิดเพียงชนิดเดียวคือMyoepithelial cells
-
Mixed tumor หรือ Pleomorphic adenomaเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมน้ าลาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้องอก 2 กลุ่มคือ ส่วนที่เป็นMyxoid stroma และ ส่วนที่เป็น Epithelial sheets หรือ glands โดยมีเซลล์ที่เป็นต้นกำเนิดเพียงชนิดเดียวคือMyoepithelial cells
กลไกการเกิดมะเร็ง (Carcinogenesis, oncogenesis)
คือ ขั้นตอนกระบวนการที่ท ำห้เซลล์ปกติ เปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็ง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทั้งระดับพันธุศาสตร์(genetic), พันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม(epigenetic)และการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติในสภาวะปกติเซลล์จะมีกระบวนการการควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อควบคุมให้ปริมาณเซลล์มีสัดส่วนที่ปกติ โดยควบคุมผ่านกระบวนการเจริญเติบโต (proliferation) การพัฒนาให้มีความจ าเพาะของเซลล์ (differentiation) และการเข้าสู่วัยชราหรือการเข้าสู่ความตายของเซลล์(senescence and apoptosis) ซึ่งทั้งสามกระบวนการจะมีการควบคุมให้มีสัดส่วนของเซลล์ในแต่ละกระบวนการให้เหมาะสม แต่หากมีปัจจัยใดก็ตามท าให้กระบวนการทั้งสามมีความผิดปกติไปจะทำให้เซลล์นั้นกลายเป็นมะเร็ง
-
-
-
สาเหตุของมะเร็ง
ความผิดปกติของเซลล์จนเกิดเป็นมะเร็งนั้นประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนต่อเนื่องกันซึ่งโดยมากจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงก็คือ การผ่าเหล่าของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจ านวนของเซลล์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในขั้นต้น สาเหตุหรือปัจจัยที่ท าให้เกิดการผ่าเหล่าของยีนมีทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น reactiveen species, reactive nitrogen species, reactive carbonyl species, lipid peroxidationproducts ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์ (metabolism) และจากปัจจัยภายนอกรอบๆตัวมนุษย์ที่สามารถท าให้เกิดการบาดเจ็บหรือท าให้เกิดการผ่าเหล่าของยีน จนเกิดเป็นมะเร็งได้ ซึ่งปัจจัยภายนอกจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
-
-
– กลุ่มเชื้อโรคที่สามารถก่อมะเร็ง หรือที่เรียกว่า Oncogenic microbes ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อไวรัสก่อมะเร็ง หรือ Viral carcinogenesis
-
มะเร็งตับ
โรคมะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ
การรักษาโรคมะเร็งตับ
หลักการรักษามะเร็งตับ คือ ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ แต่ถ้าอยู่ในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลายๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางเส้นเลือดหรือการรับประทานเคมีบำบัด หรือการรักษาตามอาการในผู้ป่วยระยะท้ายๆ แต่ปัญหาที่มักเจอได้บ่อยๆ คือ คนทั่วไปมักจะไม่ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรอง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตมาก มีน้ำในช่องท้อง ซึ่งอาการดังกล่าวจะอยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคระบบทางเดินอาหารและตับเป็นสิ่งที่จำเป็น หากพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย เช่น เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย จุกชายโครงขวา ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคัดกรอง
สาเหตุ
มะเร็งตับส่วนใหญ่เกิดจาก โรคตับแข็ง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุได้หลากหลาย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ตับอักเสบจากไขมันพอกตับ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี การได้รับสารบางชนิด เช่น อะฟลาท็อกซิน ซึ่งมาจากเชื้อรา ที่ปนเปื้อนในอาหารแห้ง ธัญพืช ถั่วเหลือง ถั่วลิสงนอกจากนี้มะเร็งตับยังอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง หรือ ตับอักเสบจากไขมันเกาะตับเป็นเวลานาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีภาวะตับแข็งก็ได้
อาการ
ปวดท้องโดยเฉพาะใต้ชายโครงขวา หรือบริเวณลิ้นปี่ ท้องบวมโต มีน้ำในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง อาเจียนเป็นเลือด ตรวจพบการทำงานของตับผิดปกติ
-
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ความเสี่ยงอันดับ 1 สำหรับมะเร็งในผู้หญิง ช่วงระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ ก่อนที่จะปรากฏก้อนเนื้อหรือลักษณะผิดปกติของเต้านมหากปล่อยทิ้งไว้อันตรายสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้ สามารถตรวจพบเชื้อมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะแรกแม้ไม่มีอาการผ่านเครื่อง Digital Mammogram & Ultrasound หากพบเจอเชื้อมะเร็งจะสามารถทำการรักษาต่อไปได้ตามความเหมาะสม
อาการ
ในระยะแรกของโรคนี้จะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมาทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองมีโรคร้ายนอกจากจะได้รับการตรวจด้วยเครื่อง Mammogram ส่วนอาการที่มักปรากฏเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติที่เต้านมมีดังนี้
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจส่งเสริมให้เกิดโรคได้ซึ่งมีทั้งความเสี่ยงที่ควบคุมได้ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
การวินิจฉัย
การตรวจหาเชื้อมะเร็งเต้านมโดยปกติแล้วจะค่อนข้างมีความเจ็บปวดเมื่อเข้ารับการตรวจจากการถูกเครื่อง Mammogram บีบหน้าอก แต่สำหรับการตรวจที่โรงพยาบาลเพชรเวชด้วยเครื่อง Digital Mammogram & Ultrasound ที่มีแผ่นรองรับตามลักษณะของเต้านมทำให้เจ็บน้อยลงพร้อมด้วยประสิทธิภาพของการหาเชื้อมะเร็งเต้านมชั้นนำระดับประเทศ
การรักษา
)หากได้รับการวินิจฉัยและทราบระยะของเชื้อมะเร็งแล้วจะสามารถทำการรักษาต่อไปซึ่งมีอยู่หลายวิธีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาต้านฮอร์โมน การฉายรังสี และการใช้เคมีบำบัดโดยการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจจากแพทย์ และปัจจัยด้านอื่น ๆ ของผู้ป่วยด้วย
-
มะเร็งลำไส้และทวารหนัก
มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมักเกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ที่เรียกว่า โพลิป (Polyp) เป็นเซลล์เนื้อผิดปกติ ที่งอกจากผนังลำไส้ มีขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย เนื่องจากขนาดที่เล็กของติ่งเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งหากสามารถตรวจคัดกรองได้ตั้งแต่เริ่มแรกและทำการตัดรักษาได้จนหมดจะเป็นการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาการที่พบมักขึ้นกับ ตำแหน่งของมะเร็งเช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา จะมีอาการอ่อนเพลีย ซีดจากการเสียเลือด เรื้อรัง น้ำหนักลด ปวดท้อง หรือคลำได้ก้อน ถ้ามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านซ้าย มาด้วยอาการ ปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด ท้องผูกสลับท้องเสีย และถ้ามะเร็งอยู่ที่ทวารหนัก (rectum) อาจมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด ซีดลง ถ่ายไม่สุด ถ่ายลำเล็กลง ถ่ายเป็นเม็ดกระสุน จนถึงอุดตันจนถ่ายไม่ออก
สาเหตุน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยที่คล้ายชาวตะวันตกมากขึ้น สิ่งแวดล้อมและการปนเปื้อนสารพิษในอาหารและอากาศ ความเครียดและขาดการออกกำลังกายทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
-
-