Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
preterm (การคลอดก่อนกำหนด), นางสาวสุมัยนี ตาเยะ เลขที่53…
preterm (การคลอดก่อนกำหนด)
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์(premature rupture of membranes)
ความหมาย
การแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่จำกัดเวลาหรืออายุครรภ์ ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกก่อนอายุครรภ์อายุครรภ์ครบกำหนด(preterm) เรียกว่า preterm PROM(PPROM)
สาเหตุ
การมีเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุเพราะใน semen มี prostaglandins อยู่
ปากมดลูกปิดไม่สนิท (incompetence cervix) มีการฉีกขาดหรือบาดเจ็บที่ปากมดลูก
มีการขาด tensile strength ของถุงน้ำคร่ำอันเนื่องมาจากพันธุกรรม
มดลูกมีความตึงตัวมาก เช่น การตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
ขาดวิตามินซีอาจเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ถุงน้ำคร่ำไม่แข็งแรง
การมีเลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่ การแท้งคุมคาม รกลอกตัวก่อนกำหนดและรกเกาะต่ำ
มีการอักเสบติดเชื้อที่ปากมดลูกหรือช่องคลอด เช่น group B streptococcus
เศรษฐานะต่ำ
1.การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำที่มีอยู่ก่อนแล้วอาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสซึ่งรวมทั้งการติดเชื้อซ่อนเร้น (Occult) ในน้ำคร่ำด้วย
การสูบบุหรี่
การวินิจฉัย
อาศัยจากประวัติว่ามีน้ำเดินไหลออกจากช่องคลอดและไหลออกมาเรื่อยๆ น้ำมีลักษณะใสแต่อาจมีเลือดปนได้ จากประวัติต้องวินิจฉัยแยกออกจาก น้ำปัสสาวะ เมือกจากช่องคลอด ช่องคลอดอักเสบการเพิ่มน้ำคัดหลั่งในช่องคลอดขณะตั้งครรภ์และการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
เมื่อจะทำการตรวจภายในจะพบว่าบริเวณฝีเย็บเปียกชื้นมีน้ำขังอยู่ในช่องคลอดเมื่อให้ผู้ป่วยไอหรือเบ่ง หรือกดยอดมดลูกอาจพบว่ามีน้ำคร่ำไหลออกจากปากมดลูก ถ้าปากมดลูกเปิดแล้วก็อาจเห็นว่าส่วนนำของเด็กไม่มีถุงน้ำหุ้มแล้ว ในกรณีที่น้ำคร่ำในช่องคลอดน้อยเกินก็อาจมองไม่เห็นได้ต้องใช้การตรวจอย่างอื่น ๆ ช่วยในการวินิจฉัย
ภาวะแทรกซ้อน
ด้านมารดา
การติดเชื้อ เช่น ถุงน้ำคร่ำอักเสบ(chorioamnionitis) มดลูกอักเสบ(metritis) ความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้จะเพิ่มขึ้นตามระยะของการมีถุงน้ำคร่ำแตก
ด้านทารก
การติดเชื้อของทารกในครรภ์ ทารกแรกคลอดและมารดา ในรายถุงน้ำคร่ำแตกนานมากกว่า 24
ชั่วโมง พบภาวะ sepsis
perinatal asphyxia premature rupture of membranes มีกลไกที่ทำให้เกิด perinatal asphyxia ได้หลายทาง เช่น จากภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดการกดสายสะดือ
การตายปริกำเนิด ขึ้นกับอายุครรภ์เมื่อมีการแตกของถุงน้ำคร่ำเป็นสำคัญ พบว่าทารกครบกำหนดที่
ต้องคลอดเพราะปัญหา PROM มีอัตราการตายต่ำกว่าทารกคลอดก่อนกำหนด
การเจริญเติบโตของทารก ใน PROM มีรายงานว่าอัตราการเจริญของเส้นรอบศีรษะเป็นปกติ
ความผิดปกติโดยกำเนิด พบได้หลายชนิดซึ่งสัมพันธ์กับการมีน้ำคร่ำน้อยเป็นเวลานาน
การรักษา
รับไว้ในโรงพยาบาล
ตรวจท่าและฟังเสียงหัวใจเด็ก
หลีกเลี่ยง PV PR เพราะทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าโพรงมดลูกง่ายขึ้น ยกเว้นเริ่มมีการเจ็บครรภ์
นอนพักบนเตียงใส่ผ้าอนามัยเพื่อสังเกตลักษณะ จำนวนของน้ำคร่ำ
วัดสัญญาณชีพ ฟังเสียงหัวใจเด็กทุก 4 ชั่วโมง เพื่อดูการติดเชื้อการให้ยายับยั้งการเจ็บครรภ์คลอด ทำเพื่อชะลอเวลาเพื่อให้สเตียรอยด์เร่งปอดทารก แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้ออยู่
การพยาบาล
ช่วยดูแลในการให้ oxytocin เพื่อเร่งคลอดในรายที่จำเป็นตามแผนการรักษา
อำนวยความสุขสบายและรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล โดยการเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชม. หรือเมื่อ
จำเป็น
หลีกเลี่ยงหรืองดการตรวจทางช่องคลอดถ้าจำเป็นต้องตรวจทางช่องคลอดให้ตรวจด้วยด้วยเทคนิคสะอาดปราศจากเชื้อโรคมากที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ช่วยในการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ
ในรายที่ระบุว่าให้การรักษาแบบประคับประคองให้การดูแล
สังเกตอาการและอาการแสดงของ chorioamnionitis
1.แนะนำหญิงตั้งครรภ์ทุกคนทราบถึงอาการและอาการแสดงของภาวะถุงน้ำคร่ำแตกและให้แจ้ง
พยาบาลเมื่อเกิดถุงน้ำคร่ำแตกขึ้น
การคลอดก่อนกำหนด (preterm )
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกในทารกแรกเกิด ได้แก่
2.3 จอตาเสียจากการได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูง(retinopathy of prematurity)
2.4 ลำไส้เกิดเนื้อตาย(necrotizing enterocolitis)
2.2 เลือดออกในสมอง(respiratory distress syndrome)
2.5 การติดเชื้อ(infection)
2.1 กลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome)
2.6 ทางไหลเวียนเลือดผ่าน ductus artriosus คงอยู่เหมือนทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารกหลังคลอด ได้แก่ ภาวะตัวเหลือง ภาวะโลหิตจาง โรคหัวใจ ความผิดปกติของระบบประสาท สติปัญญาไม่ดี พัฒนาการช้า
ทารกคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุการตายที่พบมากที่สุดของทารกแรกเกิด
ผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจต่อครอบครัว
สาเหตุ
ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่เป็นข้อบ่งชี้ให้ต้องชักนำการคลอด เช่น ความดันโลหิตสูงรุนแรง
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด (premature rupture of membranes)
มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด การแท้งในระยะหลังของการตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ปอดบวม ไส้ติ่งอักเสบ
การติดเชื้อ ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคปริทันต์ มาเลเรีย ติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำ
มดลูกขยายตัวมากเกินไป เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ เนื้องอกที่ตัวมดลูก
ปัญหาที่ปากมดลูก เช่น ปากมดลูกหลวม ประวัติเคยทำแท้ง
พยาธิสภาพของรก เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ตกเลือด
9.มารดาวัยรุ่น หรือ มารดาอายุมากกว่า 35 ปี
ปัจจัยอื่นๆ เช่น มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ดี ภาวะทุพโภชนาการ การติดสารเสพติด สูบบุหรี่ ห่วงอนามัยค้างอยู่ในโพรงมดลูก
ความหมาย
ทารกที่คลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (259 วัน) นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด (preterm labor) หมายถึง การเจ็บครรภ์ก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 37สัปดาห์ ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
การรักษาพยาบาล
การให้ยากระตุ้นการสร้างสารเคลือบถุงลม(lung surfactant)
การให้ยาปฏิชีวนะ ให้ในรายที่อาจมีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน
การให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก (tocolytic agents)
การป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
การให้ยาโปรเจสเตอเจนในรายมีความเสี่ยงสูง
การหยุดสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอร์และยาเสพติด
ลดอัตราการตั้งครรภ์แฝด หรือการลดจำนวนทารกในกรณีตั้งครรภ์ที่มีทารกหลายคน
การให้ยาปฎิชีวนะรักษาภาวะ asymptomatic bacteriuria
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
การเย็บปากมดลูกในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
การนอนพัก งดมีเพศสัมพันธ์ในรายที่มีความเสี่ยงสูง
การวินิจฉัย
ปากมดลูกเปิดอย่างน้อย 1 เซนติเมตร
ปากมดลูกบางตัวตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
มีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 4 ครั้งใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
นางสาวสุมัยนี ตาเยะ เลขที่53 รหัสนักศึกษา611001402847