Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ต่อมทอนอักเสบ, อ้างอิง, Link Title - Coggle Diagram
ต่อมทอนอักเสบ
-
การพยาบาล
-
-
-
-
หลังจากแพทย์วินิจฉัยอาการ และสั่งยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น เพนิซิลิน อีริโทรมัยซิน คลาริโทรไมซิน ให้แล้ว ข้อสำคัญ คือ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่อง 7 - 10 วันจนครบ แม้อาการจะทุเลาแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไข้รูมาติก หรือไตอักเสบแทรกซ้อน
สาเหตุ
มีหน้าที่กรองเชื้อโรคในช่วงที่ร่างกายอ่อนเเอหรือได้รับเชื้อโรคมาก ทำให้ต่อมทอนซิลมีอาการบวมเเดงและอักเสบ
แบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ
เกิดจากติดเชื้อไวรัส
ซึ่งกว่า 80% จะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งไม่เป็นอันตราย เพียงแค่ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานยาควบคู่ไปด้วย เพียงเท่านี้ลูกก็จะกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่การรักษาทำได้ไม่ยาก เพียงรับประทานยา รักษาตามอาการ พักผ่อนให้เพียงพอ เจ้าหนูน้อยก็จะฟื้นตัวหายดีภายในระยะเวลาอันสั้น
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ในขณะที่อีก 20% ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งค่อนข้างร้ายแรงและน่าเป็นห่วง ต้องให้แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อทำการรักษาให้หายขาด ไม่เช่นนั้นจะเปิดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนได้
เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ ผู้ป่วยจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากได้รับการรักษาไม่ถูกวิธี รับประทานยาไม่ครบขนาด หรือใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อชนิดนี้ได้แม้อาการจะทุเลาลงแต่ก็มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้
พยาธิสภาพ
ต่อมทอนซิล(tonsils)เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด หน้าที่หลักคือ จับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร หน้าที่รองลงมาคือ สร้างภูมิคุ้มกัน ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่ง ต่อมที่เราเห็นจะอยู่ด้านข้างของช่องปาก มีชื่อเรียกว่า พาลาทีนทอนซิล (palatine tonsil)นอกจากนั้นต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้น(lingual tonsil)และช่องหลังโพรงจมูก(adenoid tonsil)
ทอนซิลอักเสบ(tonsillitis)เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลส่วน"คออักเสบ"(pharyngitis)มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดพร้อมกันได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน10ปี เพราะหลัง10ปีไปแล้วต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 20ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบได้ ส่วนใหญ่มักจะไม่พบทอนซิลอักเสบในคนไข้วัยกลางคนไปแล้ว ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบาก โดยเฉพาะ เวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก คนไข้เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล เพราะกลืนลำบากทำให้น้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมา หรือคนไข้เจ็บคอมาก ๆ อาจมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เจ็บอยู่
-
-
-